การพัฒนาเครื่องบีบแยกพลาสมาอย่างง่ายภายในองค์กรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ใน ชั้นเรียนของนิสิตเทคนิคการแพทย์

ผู้แต่ง

  • พิมพร ไชยวรรณ์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

เครื่องบีบแยกพลาสมา, ส่วนประกอบของเลือด, เทคนิคการแพทย์, การเรียนรู้, ชั้นเรียน, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องบีบแยกพลาสมาอย่างง่ายให้แก่นิสิตเทคนิคการแพทย์ภายในสาขาวิชา และเพื่อประเมินผลการพัฒนาเครื่องบีบแยกพลาสมาในการส่งเสริมการเรียนรู้และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนภาคปฏิบัติการรายวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต 1 ของนิสิตสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นิสิตเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต 1 ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 95 คน และเก็บข้อมูลการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบประเมินการพัฒนาเครื่องบีบแยกพลาสมา รวมถึงแบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมสื่อการเรียนในด้านคุณภาพของเครื่องบีบแยกพลาสมา และด้านความพึงพอใจต่อคุณภาพนวัตกรรมสื่อการเรียน โดยก่อนที่จะมีการใช้งานแบบสอบถามดังกล่าวได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงนำไปเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยรายงานผลเป็นค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงเปรียบเทียบผลการประเมินความพึงพอใจระหว่างก่อนและหลังการใช้งานของนิสิตด้วยสถิติ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้เครื่องบีบแยกพลาสมาอย่างง่ายในการเรียนปฏิบัติการ คะแนนเฉลี่ยด้านคุณภาพของเครื่องบีบแยกพลาสมาอยู่ที่ระดับมาก (4.46±0.61) และคะแนนเฉลี่ยด้านความพึงพอใจต่อคุณภาพนวัตกรรมสื่อประกอบการเรียนอยู่ที่ระดับมากที่สุด (4.64±0.54) ซึ่งพบความแตกต่างไปจากคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนทั้ง 2 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงให้เห็นว่าเครื่องบีบแยกพลาสมาที่พัฒนาขึ้นภายในองค์กรสามารถส่งเสริมความพึงพอใจและการเรียนรู้ของนิสิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กัมปนาท คำสุข. (2566). ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ สำหรับนักศึกษาคณะสหเวชศาสตร์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 376-386.

วัฒนา ศิลาไชย. (2560). การประเมินผลเครื่องเขย่าถุงเลือดในถุงบรรจุเลือดบริจาคที่ผลิตขึ้นเองเพื่อใช้ในงานรับบริจาคโลหิต. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 27(4), 389-396.

รัตนา ทรัพย์บำเรอ. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2564). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ, วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42

จินดา รุ่งโรจน์ศรี. (2548). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการของห้องปฏิบัติการเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต. รายงานวิจัยสถาบัน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต, 62.

จิตราภรณ์ ชั่งกริส และนพดล พรามณี. (2559). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่อง การตรวจร่างกายรายวิชาประเมินสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอัสเทิร์นเอเชีย, 7(3), 83-93.

ปริวรรต สมนึก. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”. วารสารท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 11(1), 11-15.

ปาริดา จันทร์สว่าง. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท, 10(3), 74-82.

พิไลพร จงรวมกลาง และสิทธิพร สุวรรณมิตร. (2564). คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต แขนงวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิกและวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 10-20.

พินทุสร ปัสนะจะโน, ตะวัน ขุนอาสา, ธนา จันทร์อบ และราเมศวร์ พร้อมชินสมบัติ. (2560). การใช้รหัสคิวอาร์โค้ดบนระบบปฏิบัติการบนมือถือเพื่อการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 88-97.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 28(1), 169-192.

ศุภกฤต พริ้วไธสง. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการประยุกต์ใช้ ไมโครโปรเซสเซอร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 79-84.

สิริมา วงษ์พล และ พัชรียา อัมพุธ. (2565). การพัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการด้วยระบบสแกนคิวอาร์โค้ด ของนิสิตแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยพะเยา. Mahidol R2R e-Journal, 9(2), 46-58.

สุวิมล นุยงค์ภักดิ์. (2539). การเตรียมส่วนประกอบของเลือดโดยใช้ระบบออพทิ. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย, สืบค้นจาก http://thaithesis.org/detail.php?id=41962.

สุรเชษฎ์ อ่อนเส็ง และ เจนจิรา อินสว่าง. (2563). Preparation of whole blood derived platelet component. วารสาร โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 30(4), 381-382.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (25 พฤศจิกายน 2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). บทความวิชาการ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา. สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

อานันท์ เจริญสุข. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ เจตคติต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1301-1314.

อุเทน หินอ่อน. (2564). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. Mahidol R2R e-Journal, 8(2), 147-158.

อโรชา ทองลาว, พัลลภ สุวรรณฤกษ์, สมเกียรติ ไทยปรีชา และศศิน เทียนดี. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ประจำ ภาคต้น ปีการศึกษา 2563. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 617-632.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/25/2024