การพัฒนาแอปพลิเคชันแชตบอตสำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ฝ้ายพรม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
  • ธนกร เขตรัมย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
  • ชูศักดิ์ ยาทองไชย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
  • วิไลรัตน์ ยาทองไชย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, แชตบอต, งานบริการนักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันแชตบอตสำหรับงานบริการนักศึกษา และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันดังกล่าว ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวก ความรวดเร็วในการตอบคำถาม การให้ข้อมูลและความช่วยเหลือนักศึกษาสำหรับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในมหาวิทยาลัยโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ในการให้บริการ รวมทั้งช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์เพื่อรวบรวมคำถามที่นักศึกษาต้องการคำตอบในมหาวิทยาลัย และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันตามวงจรการพัฒนาระบบ ที่รวบรวมคำถามที่นักศึกษาต้องการคำตอบนำมาออกแบบฐานข้อมูลเก็บลงในมายเอสคิวแอล เครื่องมือที่ใช้พัฒนาคือ ไลน์บอตดีไซเนอร์ ไดอะล็อกโฟลว์ ภาษาพีเอชพี และลาราเวลเฟรมเวิร์ก  

ผลการศึกษาพบว่า แอปพลิเคชันแชตบอตสำหรับงานบริการนักศึกษาซึ่งทำงานบนแอปพลิเคชันไลน์ สามารถตอบคำถามในงานบริการนักศึกษา 8 ด้านคือ การลงทะเบียนเรียน การเพิ่มถอนรายวิชา การจ่ายค่าลงทะเบียนเรียน การยื่นแก้ผลการเรียน ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินกิจกรรม กองทุนสวัสดิภาพนักศึกษา และที่ตั้งอาคารในมหาวิทยาลัย โดยมีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการคำตอบของแชตบอตเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการเพิ่มลบและแก้ไขคำตอบของแชตบอตในฐานข้อมูล ผลจากการศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.42, S.D = 0.65)  

References

กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2564). รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) ประจำปีการศึกษา 2564. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เกสรา เพชรกระจ่าง, อรรถพล คงหวาน, ปิยะพร มูลทองชุน, นงนาฏ ระวังวงศ์ และพงศกร เจริญเนตรกุล. (2567). ระบบการนัดหมายและสื่อสารสำหรับสถานพยาบาลด้วยแชตบอต. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 5(1), 34-46.

เกียรติพันธ์ศักดิ์ บิลอับดุลล่าห์. (2564). การประยุกต์ใช้ Chatbot สนับสนุนงานสอบสวน กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรเบตง. สารนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จิตราภา กุณฑลบุตร. (2550). การวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

เจนนิสา ยศอินทร์ และวีรอร อุดมพันธ์. (2565). การพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 7(1), 74-84.

ทิพย์วรรณ ฟูเฟื่อง อนุสรณ์ เจริญนาน วันดี โชคช่วยพัฒนากิจ พงศ์ปณต ทองงาม และเรเน่ ชมิทท์. (2564). การพัฒนาแชตบอตให้ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 28-38.

ธนากร อุยพานิชย์ และกอบแก้ว มีเพียร. (2565). การพัฒนาแชทบอทเพื่อบริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(1), 65-76.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2566). รายงานประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

รัตนาวลี ไม้สัก และจิราวรรณ แก้วจินดา. (2563). แอปพลิเคชันแชตบอตเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม. รายงานการวิจัยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Abeer Alabbas & Khalid Alomar. (2024). Tayseer: A Novel AI-Powered Arabic Chatbot Framework for Technical and Vocational Student Helpdesk Services and Enhancing Student Interactions. Applied Sciences, 14(6). Retrieved from https://www.mdpi.com/2076-3417/14/6/2547.

Andrew Burgess. (2018). The Executive Guide to Artificial Intelligence. Cham, Switzerland: Springer.

Bayan Abu Shawar & Eric Atwell. (2007). Chatbots: Are they Really Useful? Journal for Language Technology and Computational Linguistics, 22(1), 29-49.

Chiara Valentina Misischia, Flora Poecze , & Christine Strauss. (2022). Chatbots in customer service: Their relevance and impact on service quality. Procedia Computer Science, 201, 421-428.

Ellis Pratt. (2017). Artificial Intelligence and Chatbots in Technical Communication – A Primer. Retrieved from https://intelligent-information.blog/wp-content/uploads/2017/09/A-Primer-AI-and-Chatbots-in-Technical-Communication.pdf.

Inbenta. (2016). The Ultimate Guide to Chatbots for Business. Retrieved from https://sjstransky.writerfolio.com/attachments/81067.pdf.

LINE Developers. (2020). Building LINE Chatbot using Dialogflow. Retrieved from https://codelab.line.me/codelabs/chatbot/index.html#0.

Sumana Budsabok, Nattaporn Pechpong, & Chiranut Singtokaeo. (2020). Development of Chatbot Application for Student Services Case Study: Division of Student Development Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST), 19(2), 85-94. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/article/view/240597.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/13/2024