การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินพื้นที่บุกรุกในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ นิลจันทร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • ฟารุต ใจทัศน์กุล ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ธิดาภัทร อนุชาญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • นิติ เอี่ยมชื่น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

การบุกรุก, ดัชนีพืชพรรณ, อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว, ภูมิสารสนเทศ, ค่าขีดแบ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าขีดแบ่งดัชนีพืชพรรณเพื่อใช้ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก เพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณในการตรวจสอบพื้นที่บุกรุกป่าไม้ โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีผลต่างพืชพรรณแบบนอร์แมลไลซ์ (Normalized Differential Vegetation Index: NDVI) จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel – 2B และจุดสำรวจพื้นที่ การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้จากการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART data) ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2566 แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้ในการเรียนรู้ (Training 60 จุด) และส่วนที่สองใช้ในการทดสอบ (Testing 40 จุด) โดยส่วนแรกใช้ข้อมูลจุดสำรวจการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้มาสกัดค่าจากดัชนีพืชพรรณเพื่อนำมากำหนดช่วงของค่าขีดแบ่งพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกในแบบรายเดือนและค่าเฉลี่ยรายเดือน (ตัวแทนรายปี) โดยพิจารณาค่าดัชนีแบบสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละเดือน ผลการศึกษาพบว่า ในแบบรายเดือน เดือนกรกฎาคมมีค่าขีดแบ่งมากสุด คือ 0.384821 เดือนกุมภาพันธ์มีค่าขีดแบ่งต่ำสุดคือ คือ 0.098974 และแบบค่าเฉลี่ยรายเดือน มีค่าระหว่าง 0.141287-0.244678 นำช่วงค่าดัชนีพืชพรรณแบบค่าเฉลี่ยรายเดือน มาเป็นค่าขีดแบ่งของพื้นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกและพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อการบุกรุก พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก 67,096 ไร่ และพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อการบุกรุก 146,115 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.47 และ ร้อยละ 68.53 ตามลำดับ ถัดมาทำการตรวจสอบความถูกต้องโดยการนำจุดสำรวจการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ส่วนที่สองมาทำการซ้อนทับกับพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกและพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อการบุกรุกจากกการใช้ช่วงค่าขีดแบ่ง พบว่า จุดสำรวจการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 40 จุด ตกในพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก 32 จุด และตกพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อการบุกรุก  8 จุด คิดเป็นร้อยละ 85 และ ร้อยละ 15 ตามลำดับ สามารถนำช่วงค่าขีดแบ่งดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนในการเข้าลาดตระเวนพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมป่าไม้. (2566). ระบบติดตามการบุกรุกทำลายป่า. สถิติคดีของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่3 (อุตรดิตถ์). จาก http://protection.forest.go.th/mainmenu.html.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2535). วิวัฒนาการของการบุกรุกที่ดินในเขตป่า. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

ชมพูนุช ผลาหาญ. (2564). การประยุกต์การรับรู้ระยะไกลเพื่อติดตามการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ คณะสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชยกร พุ่มนวล และ นิติ เอี่ยมชื่น. (2563). การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงเกิดจุดความร้อนอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25(1), 64-75.

ณัฐกณฑ์ กันอินทร์. (2564). การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผากลอง จังหวัดแพร่. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการป่าไม้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ณัฐพล วงษ์รัมย์. (2560). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในเขตเทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. มนุษยสังคมสาร, 15(2), 297- 306.

ทิพย์กมล สนสับ, วันชัย อรุณประภารัตน์ และนันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์. (2561). การกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกของป่าต้นน้ำ ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน. วารสารวนศาสตร์, 37(2), 60-70.

นิรันดร มรกตเขียว, ยงยุทธ ไตรสุรัตน์, วันชัย อรุณประภารัตน์ และ สิริกร กาญจนสุนทร. (2551). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุก รุกบริเวณอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์, 27(2), 89-98.

บรรณรักษ์ เสริมทอง. (2543). ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่มีผลต่อการพึ่งพิงผลิตผลจากป่า และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) คณะวนศาสตร์ สาขาวิชาวนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมนิมิตร พุกงาม, ประสงค์ สงวนธรรม และสุภาภรณ์ ผ่องศาลา. (2560). การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อ การบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง. วารสารวนศาสตร์, 36(1), 123-128.

สุรกิจ กลิ่นทอง. (2561). การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ามวกเหล็ก-ป่าทับกวาง แปลงที่ 2 จังหวัดสระบุรี. วารสารวนศาสตร์, 37(2), 60-70.

อาภาภรณ์ ทองเสงี่ยม ,กาญจน์เขจร ชูชีพ และรัชนี โพธิ์แท่น. (2561). การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวนศาสตร์ 37(2), 108-117.

Congalton, R.G. & K.Green. (1998). Assessing the accuracy of remotely sensed data:principles and practices. New York: Lewis.

Drusch, M., Del Bello, U., Carlier, S., Colin, O., Fernandez, V., Gascon, F. et. al. (2012). Sentinel-2: ESA's Optical High-Resolution Mission for GMES Operational Services. Remote Sensing of Environment, 120, 25-36.

Erwin, W. (1976). Participation Management: Coneept Theory and Implementation. Atianta Ga: Georgia State University.

Paul, G. & Clare, P. (2000). Introductory Remote Sensing Digital Image Processing and Applications. Taylor and Francis.

Rouse, J.W., Haas, R.H., Schell, J.A. & Deering, D.W. (1974). Monitoring Vegetation Systems in the Great Plains with ERTS, Third ERTS Symposium, NASA SP-351, 309-317.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/19/2024