ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานสายบริการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • วราพงษ์ คล่องแคล่ว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • โกลัญญา ตายะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • นครินทร์ ชัยแก้ว หน่วยวิจัยเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, องค์กร, พนักงานสายบริการ

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานสายบริการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร มีกลุ่มเป้าหมายพนักงานสายบริการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา  เครื่องที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม  มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรที่มีระดับมาก ได้แก่ ด้านผู้บริหาร, ด้านองค์กร, ด้านลักษณะงานที่ทำ, ด้านเพื่อนร่วมงาน และระดับความผูกพันต่อองค์กรที่มีระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านค่าตอบแทน  และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายบริการมีปัจจัยดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเพศต่อความผูกพันต่อองค์กร เพศชายมีความผูกพันต่อองค์กรที่มากกว่าเพศหญิง 2) ปัจจัยด้านอายุต่อความผูกพันต่อองค์กร ในช่วงอายุระหว่าง  41-50 ปี มีความผูกพันต่อองค์กรที่ มากกว่าในช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี 3) ปัจจัยด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่อความผูกพันต่อองค์กร พบว่า อันดับที่ 1 ช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงานระหว่าง 3 - 5 ปี อันดับที่ 2 ในช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี และอันดับที่ 3 ช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงานระหว่าง 6-10 ปี โดยผลการศึกษาถูกนำไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายบริการในปีงบประมาณ 2567 ในส่วนของการส่งเสริมการอบรมการประเมินค่างานตำแหน่งกลุ่มวิชาชีพ และจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานสายบริการเพื่อให้รับตำแหน่งชำนาญการต่อไปในอนาคต

References

จุฑามาศ ทันธิกุล และชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน ที่มีต่อองค์กรของบริษัท การ์เมนท์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 2(3), 54-66.

โชติพงษ์พันธ์ สุขศิริมหาไพศาล, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร และธันชนก จรจรัญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัทอินโน-คอนส์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 3(1), 57- 67.

ตระกูล จิตวัฒนากร เกียรติ บุญยโพ และฤทธิพล ไชยบุรี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัท เอ.เค.พี. เทคโนโลยี จำกัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 21(1), 59-68.

ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย(จำกัด). สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/831

มหาวิทยาลัยพะเยา. (2563). แผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา 2563-2567. สืบค้นจาก https://does.up.ac.th/informationsub/NTU2.

แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569. (2564). สืบค้นจาก https://ict.up.ac.th/web/operation.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล ธัญวฤณ วัทโล และวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 2(3), 27-39.

วิรชาดา แสงชาติ และคณะ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาบริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน). วารสารบัณฑิตศึกษา. 13(63), 227-238.

สมบัติ อาริยาศาล. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 3(2), 33-46.

สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย และประสพชัย พสุนนท. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1), 2437-2449.

สุวิมล พิชญไพบูลย์. (2560). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของความผูกพันกับองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(1), 174–189.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/04/2023