การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติกับแบบออนไลน์วิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ของนิสิตหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์, วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ, วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์, มหาวิทยาลัยพะเยาบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนกลับ (Retrospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ (On-site learning management) กับวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning management) วิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ (Human Physiology) กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ รหัสวิชา 367202 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561-2564 จำนวน 75 65 52 และ 55 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล คือ 1) แบบทดสอบก่อนเรียนปฏิบัติการ (Pre-test) และ
2) ทดสอบวัดผลการเรียนกลางภาคและปลายภาคการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยคิดคะแนนเป็นร้อยละ โดยใชสถิตการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระ (Independent t - test) ผลการวิจัยพบว่าวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ นิสิตได้คะแนนสอบก่อนเรียนปฏิบัติการ เฉลี่ยร้อยละ 74.5 ± 10.22 และในการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ คะแนนสอบก่อนเรียนปฏิบัติการเฉลี่ยของนิสิตอยู่ที่ร้อยละ 79.88 ± 8.75 ตามลำดับ ส่วนคะแนนสอบวัดผลสัมฤทธิ์โดยรวมตลอดทั้งภาคการศึกษา พบว่านิสิตได้คะแนนสอบสอบวัดผลในการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากกว่าการเรียนการสอนแบบปกติโดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 74.7 ± 10.4 และ 62.13 ± 13.41 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ ของสาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดีกว่าแบบปกติ
References
คมสิทธิ์ สิทธิประการ, วิกรม ฉันทรางกูร และภัชญาภา ทองใส. (2563). ผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่านขั้นสูงของนักศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 185-198.
รุ่งอรุณ ปิยะฤทธิ์. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศ (มสป.), 22(1), 175-185.
ธนัชชา บินดุเหล็ม. (2562). ผลของการสอนแบบออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2562. (น. 1148 - 1157). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วสันต์ พิสุทธิ์สกุลรัตน์ และ ไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสาธิตร่วมกับบทเรียนออนไลน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อัลกอริทึมและการแก้ไขปัญหาเชิงตรรกะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังตะกู จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 7-8 กรกฎาคม 2565, (น. 1178 – 1188). นครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Alshwiah, A. A. (2021). Barriers to online learning: Adjusting to the new normal in time of covid-19.
Turkish Online Journal of Distance Education, 22(4), 212-228.
Camina, E., & Güell, F. (2017). The neuroanatomical, neurophysiological and psychological basis of memory: Current models and their origins. Frontiers in pharmacology, 8, 438.
Hill B. Coronavirus: origins, signs, prevention and management of patients. British Journal of Nursing 2020; 29(7), 399-402.
Khuankaew, S. & Trail, A. (2021). Unveiling Online English Learning During the Covid-19 Era: An Analysis of Maejo University Students’ Perceptions and Achievement in Fundamental English 2 Online Learning. Journal of Liberal Arts, 9(1), 136-156. Retrieved December 10, 2021, from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/l.
