โครงสร้างภูมิทัศน์ของพื้นที่สีเขียวและผลกระทบของอุณหภูมิพื้นผิวในเขตเมืองเชียงราย
คำสำคัญ:
โครงสร้างภูมิทัศน์, มาตรวัดทางภูมิทัศน์, พื้นที่สีเขียว, อุณหภูมิพื้นผิวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างภูมิทัศน์ของพื้นที่สีเขียว และ 2)เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองในเขตเมืองเชียงราย โครงสร้างภูมิทัศน์ของพื้นที่สีเขียวสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ด้วยมาตรวัดทางภูมิทัศน์ซึ่งประเมินจากลักษณะโครงสร้าง ได้แก่ 1) ขนาด 2) รูปร่าง และ 3) แก่น ของหย่อมสีเขียว โดยในการศึกษานี้มาตรวัดต่าง ๆ ได้ถูกคำนวณผ่านโปรแกรม QGIS 2.8 โดยใช้ LECOS-FRAGSTATS Tool จากนั้นทำการตรวจสอบผลกระทบของโครงสร้างภูมิทัศน์ของหย่อมสีเขียวต่ออุณหภูมิพื้นผิวที่ระบุจากภาพความร้อนของข้อมูลดาวเทียม Landsat 8-TIRS ซึ่งบันทึก ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญในการระบุถึงผลกระทบปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองในเขตเมืองเชียงราย โดยการคัดเลือกมาตรวัดผ่านการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามาตรวัดลักษณะทางโครงสร้างภูมิทัศน์ เช่น ขนาดรอยแตกหรือรอยร้าวของพื้นที่สีเขียว อาจส่งผลต่อค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวได้อย่างมีนัยสำคัญ ยังรวมไปถึงมาตรวัดอื่น ๆ ได้แก่ รูปราง ผลรวมเส้นขอบ และขนาดรอยแตกรอยร้าว โดยมีค่าค่ามประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.174 การค้นพบนี้สามารถช่วยให้นักวางแผนพัฒนาเมืองใช้มาตรวัดทางภูมิทัศน์เหล่านี้เพื่อสร้างความสมดุลของพื้นที่สีเขียวในการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวเมืองและการปรับปรุงสภาพภูมิอากาศเมืองเชียงรายต่อไป
References
กรมการปกครอง. (2561). ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียนสำนัก บริหารการทะเบียน เรื่อง สถิติจำนวนประชากรและบ้าน. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2561). ศูนย์ภูมิอากาศและกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา เรื่อง สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยระหว่างพ.ศ. 2494 - 2565. สืบค้นจาก https://www.tmd.go.th/climate/tempmaxstatlatest
ชมพูนุท คงพุนพิน, มานัส ศรีวณิช และภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2560). การประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครนายก. การประชุมวิชาการ ทรัพยากรธรรมชาติ สารสนเทศภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 (NatGen 2nd), วันที่ 15 ธันวาคม 2560 (น. 101-104). พิษณุโลก: ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มานัส ศรีวณิช. (2565). การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศการวิเคราะห์ในเมืองการวางแผนสิ่งแวดล้อมและพื้นที่สีเขียว. [เอกสาร ประกอบการสอน]. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Chena A, Yaoc XA, Suna R, & Chena L. (2012). Effect of urban green patterns on surface urban cool islands and its seasonal variations. Urban Forestry & Urban Greening. Environmental Science, 11(2), 646–654. Retrieved from: https://www.semanticscholar.org/paper/ffect-of-urban-green-patterns-on-surface-urban-cool-Chena-Yaoc/69b6cf05113ea32cb1388f4235e8e810cecaea18
McGarigal K, Cushman S, & Ene E. (2012). FRAGSTATS v4: Spatial Pattern Analysis Program for Categorical and Continuous. Computer software program produced by the authors at the University of Massachusetts. Retrieved from: http://www.umass.edu/landeco/research/fragstats/fragstats.html
