การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวบ้านนาคูหา จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • จันจิรา แก้วอ่อน ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร 10240
  • ภูวเดช ธนิชานนท์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร 10240
  • สมกมล รักวีรธรรม ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร 10240

คำสำคัญ:

ศักยภาพการท่องเที่ยว, บ้านนาคูหา, แพร่

บทคัดย่อ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง และการท่องเที่ยววิถีชุมชน เป็นนโยบายหนึ่งของประเทศในการกระจายรายได้และบรรเทาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรทั้งในมิติทางพื้นที่และมิติทางชนชั้น งานวิจัยนี้ทำการประเมินศักยภาพสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านนาคูหา จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการจัดการท่องเที่ยวตาม
แนวทางการท่องเที่ยววิถีชุมชน ในจังหวัดแพร่ ซึ่งจัดเป็นเมืองรอง โดยใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม และการใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวจำนวน 30 คน ในการเก็บข้อมูล

            ผลการศึกษาพบว่า บ้านนาคูหามีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูง ทั้งในด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว โดยมีจุดเด่นในเรื่องความสวยงามของทิวทัศน์และธรรมชาติ การได้พักผ่อนหย่อนใจ และความเป็นเอกลักษณ์หรือความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว ส่วนข้อเสนอแนะในการส่งเสริมศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของบ้านนาคูหา คือ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้มากขึ้น และการเพิ่มบริการร้านขายอาหารในหมู่บ้านที่สามารถนั่งรับประทานได้ ส่วนงานวิจัยที่ต่อยอดด้านการท่องเที่ยวควรเป็นการวิเคราะห์ถึงความยั่งยืนในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้บ้านนาคูหาที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวสูงอยู่แล้ว ต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2561). สถิติปริมาณฝน จำแนกรายจังหวัด และสถานีตรวจอากาศ เป็นรายเดือน พ.ศ.2561. สืบค้นจาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:3vEVf8hKOKoJ:statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_21_65_TH_.xlsx+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th.

กรวรรณ สังขกร, นางสุรีย์ บุญญานุพงศ์, จันทร์จิตร เธียรสิริ, กฤษณา พุ่มเล็ก และ กาญจนา จี้รัตน์. (2555). รายงานวิจัย เรื่องการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ในภาคเหนือตอนบนที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). Tourism economic review รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว (ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ.2562).

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดแพร่. (2564). บรรยายสรุปจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ.2564. แพร่: สำนักงานจังหวัดแพร่.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดแพร่. (2564). แผนการพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวนพ.ศ. 2564 เล่ม 2. แพร่: สำนักงานจังหวัดแพร่.

กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). Tourism... Go Local ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT Review), 4(2), 4–10.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). Tourism economic รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว Review COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย (ไตรมาส 1/2563).

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จอมพจน์ คชสาร, และ ธนวิชญ์ แสงสง. (2559). ศักยภาพของชุมชนเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาบ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่่ (สารนิพนธ์วิชาการจัดการชุมชน). มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, แพร่.

จันจิรา แก้วอ่อน. (2565). การสำรวจและทำแผนที่การท่องเที่ยวบ้านนาคูหา จังหวัดแพร่. การประชุมวิชาการ (Proceedings) ทรัพยากรธรรมชาติ สารสนเทศภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 6 (NatGen 6th), วันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 (น. 279 – 291). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฑามาศ ไชยศร. (2536). การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตภูมิศาสตร์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

ฉัตรฆฤณ พิชัยกมลฉัตร. (2550).การประเมินศักยภาพและการวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาภูมิศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณรงค์ พลีรักษ์. (2556). ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36(2), 235-248.

ณิชาภัทร สุรวัฒนานนท์. (2562). การท่องเที่ยวกับบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฮีโร่จำเป็นหรือฮีโร่ตัวจริง?. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_ 29Oct2019.aspx.

ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2544). การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำพักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทิดชัย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). EIC: Overtourism ไทยจะรับมืออย่างไร?. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นจาก https://www. prachachat.net/tourism/news-195138.

ปานทิพย์ อัฒนพานิช. (2559). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พยอม ธรรมบุตร. (2549). องค์ประกอบของการท่องเที่ยว [เอกสารประกอบการเรียนการสอน]. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2560). ท่องเที่ยวไทย อานิสงส์ถ้วนหน้า. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th /columnists/news_740965.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2529). ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม. จุลสารการท่องเที่ยว (ฉบับเดือนตุลาคม), 4, 31–38.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนงานวิจัย.

ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดตราดเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน. (2562). สถิติจำนวนประชากรและบ้าน. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2552). ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop.

สุมาลี ไชยศุภรากุล. (2547). คนทุกข์เมือง เล่ม 1. กรุงเทพ ฯ: สาขาการวิจัยและพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT Review), 4(3), 52–57.

อารยา จันทร์สกุล. (2561). Overtourism ผลกระทบและแนวทางการจัดการเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/Overtourism.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/18/2022