การวางผังกายภาพในประเทศไทยและการมีส่วนร่วมของประชาชน
คำสำคัญ:
การวางผังกายภาพ, การมีส่วนร่วมของประชาชนบทคัดย่อ
การวางแผนหรือการวางโครงการทั่วไป (Planning) เป็นการวางโครงการของสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจมองเห็น เช่น การวางโครงการการศึกษา การวางแผนการป้องกันประเทศ การวางโครงการเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อความชัดเจนจะเรียกว่าเป็นการวาง “โครงการหรือ การวางแผนแบบนามธรรม” ก็ได้ ในขณะที่การวางผังกายภาพ (Physical Planning) นั้นตรงกันข้ามกับการวางแผนทั่วไป การวางผังกายภาพเป็นการวางโครงการหรือการวางแผนในสิ่งที่มีตัวตน มีรูปร่างเป็นสามมิติอยู่ในพื้นที่กำหนด สามารถมองเห็นได้ บางครั้งอาจเรียกว่าการการวางแผนแบบรูปธรรมก็ได้ ดังนั้น การวางผังกายภาพจึงเป็นกระบวนการของการจัดทำแผนและผังที่ดำเนินการเช่นเดียวกันกับการวางโครงการหรือการวางแผนทั่วไป แต่มีความแตกต่างกันที่การวางผังกายภาพเป็นการวางแผนและโครงการในพื้นที่ที่กำหนด เช่น ในบริเวณพื้นที่เมืองหรือชนบท เป็นการวางแผนอย่างมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ในบางครั้งจะถูกเรียกว่า การวางผังเมือง การวางผังพื้นที่ การปฏิรูปที่ดิน การจัดรูปที่ดิน การวางผังกายภาพต้องอาศัยข้อมูลนานาชนิดเกี่ยวกับพื้นที่ อาทิ ข้อมูลด้านกายภาพของพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับแผน และโครงการที่เกี่ยวข้อง การวางผังกายภาพมุ่งเน้นไปที่การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวางผังเข้ามาร่วมกันวางและจัดทำแผนหรือผัง แผนหรือผังที่จัดทำขึ้นนั้นประกอบด้วยการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล สถิติ ตัวเลข แผนผัง แผนที่ โครงการพัฒนาพื้นที่
References
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2565). ประกาศคณะกรรมการผังเมือง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางและจัดทำผังเมืองรวม พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย.
กฤตพร ห้าวเจริญ. (2561). ทฤษฎีและแนวความคิดทางการวางแผนและผังเมือง. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์, สนพ. ม.
บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ์. (2563). การวางผังเมืองในประเทศญี่ปุ่นสู่แนวปฏิบัติโดยชุมชน. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 1(3), 88-100.
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562. (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 136 ตอนที่ 71ก, น. 27-70).
ศรีสุดา วงษ์ชุ่ม. (2563). ผังเมืองกับการพัฒนาเมืองพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 1(1), 83-91.
อัน นิมมานเหมินท์. (2527). การวางแผนกายภาพและการวางผังเมืองและชนบท [เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรม เรื่อง การวางแผนและผังกายภาพสำหรับพนักงานท้องถิ่น]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
American Planning Association. (2006). Planning and Urban Design Standards. New Jersey: John Wiley & Sons.
Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of planners, 35(4), 216-224.
Gupta, R.G. (1983). Planning and Development of Towns. New Delhi: Oxford and IHB Publishing.
Hack, G. (2000). Physical Planning and Urban Design. In A.J. Catanese and J.c. Snyder. (eds.), Urban Planning 2nd ed..
Ratcliffe, J. (1975). An Introduction to Town and County Planning. London: Hutchinson Education.
Sukpromsun, B., Koizumo, H., & Okata, J. (2010) Bangkok Comprehensive Plan and Their Participatory Actions. In Proceedings of the 8th Conference of Asian City Planning 2010, June 13th, 2010 (pp. 50-59). Japan: The Asian City Planning Group, City Planning Institute of Japan.
