การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการพื้นที่อนุรักษ์นกยูงไทย ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
นกยูงไทย, การจัดทำขอบเขต, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ, ภูมิสารสนเทศ, สมการถดถอยโลจิสติคบทคัดย่อ
การสำรวจวิจัยเพื่อจัดการพื้นที่อนุรักษ์นกยูงไทย และการจัดทำขอบเขตโซนนิ่งพื้นที่ปกปักทรัพยากรฯนกยูง:ข่วงนกยูงกับรอยต่อพื้นที่ชุมชนและป่าอนุรักษ์เป็นการสำรวจภาคสนามและรวบรวมข้อมูลบริบทของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา ปัจจัยทางกายภาพที่ใช้มาวิเคราะห์ประกอบไปด้วย ตำแหน่ง/ร่องรอยของนกยูง ระดับความสูงของภูมิประเทศ ความลาดชัน เส้นทางน้ำ แหล่งน้ำ แหล่งโป่ง และแหล่งอาหาร เส้นทางเดิน พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณที่ทำการฯ และหมู่บ้าน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการถดถอยโลจิสติคเพื่อคัดเลือกปัจจัยที่มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการตัดสินใจพิจารณาแบบหลายกฎเกณฑ์ด้วยการถ่วงน้ำหนักอย่างง่ายและตรวจสอบความถูกต้องโดยรวมผลความถูกต้องเฉลี่ยมีค่า 91.43% จากนั้นนำข้อมูลความเหมาะสมในการจัดทำโซนนิ่งไปประชุมร่วมกับกลุ่มประชาชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดพื้นที่อนุรักษ์และปักป้ายแสดงพื้นที่ต่อไป
References
กาญจน์ สฤษดิ์นิรันดร์. (2554). การแพร่กระจายตามฤดูกาลและถิ่นที่อยู่ของนกยูงเขียว Pavo muticus Linnaeus, 1766 ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. กรุงเทพฯ: สาขาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรวัฒน์ ดำแก้ว. (2552). การแพร่กระจายตามฤดูกาลและโครงสร้างประชากรของนกยูงเขียว Pavo muticus linnaeus, 1766 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอนสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สาขาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาววิทยาลัย.
ธัญวรัตน์ ปิ่นทอง. (2552). ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมและการใช้พื้นที่ของมนุษย์ต่อความชุกชุมของประชากรนกยูง Pavo muticus บริเวณห้วยเสลาและห้วยสองทาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติ เอี่ยมชื่น และ วันณัชชา เทพวงศ์. (2563). การพยากรณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแบบจำลอง CLUmondo กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 1(2): 1-13.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2561). “บิ๊กตู่” ลงพื้นที่ครม. สัญจรเชียงราย-พะเยา 29-30 ต.ค. นี้. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/politics/news-239279
มหาวิทยาลัยพะเยา. (2563). ฐานที่มั่นสุดท้ายนกยูงไทย. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
สิริรักษ์ อารทรากร. (2544). นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์และการใช้พื้นที่เกษตรกรรมของนกยูง Pavo muticus Linnaeus, 1766 ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brickle, N. W. (2002). Habitat use, predicted distribution and conservation of green peafowl (Pavo muticus) in Dak Lak Province, Vietnam. Biological Conservation, 105(2), 189-197.
Congalton, R. G. (2001). Accuracy assessment and validation of remotely sensed and other spatial information. International Journal of Wildland Fire, 10(4), 321-328.
Hernowo, J. B., Kusmana, C., Alikodra, H. S., & Mardiastuti, A. (2018). Analysis of The Javan Green Peafowl (Pavo muticus muticus Linnaeus 1758) Habitat in Baluran and Alas Purwo National Park, East Java. Hayati Journal of Biosciences, 25(3), 101-101.
Ponsena, P. (1988). Biological characteristics and breeding behaviours of green peafowl (Pavo muticus (Linnaeus)) in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. Thai Journal of Forestry, 7(3), 303-313.
Saridnirun, G., Dumrongrojwatthana, P., Meckvichai, W., Nispa, S., & Khuntathongsakudi, K. (2016). Seasonal Distribution and Habitat Use of Green Peafowl Pavo muticus Linnaeus, 1766, in Nam Whean Forest Protection Unit, Northern Thailand. Walailak Journal of Science and Technology (WJST), 13(9), 729-744.
Thunhikorn, S., Grainger, M. J., McGowan, P. J., & Savini, T. (2018). Spatial distribution of display sites of Grey Peacock-pheasant in relation to micro-habitat and predators during the breeding season. Avian Research, 9, 1-12.
