การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอดและวิเคราะห์การกระจายเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, โรคมะเร็งปอด, ตำบลแม่กาบทคัดย่อ
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกโดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอดและวิเคราะห์การกระจายเชิงพื้นที่โรคมะเร็งปอด กรณีศึกษาตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา วิธีดำเนินงานวิจัยจะเป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงย้อนหลัง ทำการศึกษาจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดและประชาชนที่ไม่ได้เป็นมะเร็งปอด จำนวน 18 หมู่บ้าน รวมจำนวน 92 คน และทั้งสองกลุ่มนี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน คือ เพศ อายุ และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน และทำการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์โดยมุ่งศึกษาปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงพื้นที่แบบกว้างด้วยวิธี Global Moran’s I และวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงจากข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558-2563 จากฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือกลุ่มช่วงอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็น 61.96% เพศหญิงสูงกว่าเพศชาย คิดเป็น 67.39% และปัจจัยด้านพฤติกรรมไม่ดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 45.65% รองลงมาคือเคยดื่ม คิดเป็น 20.65% และดื่มเดือนละครั้งหรือน้อยกว่า คิดเป็น 16.30% ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าระยะเวลาที่ผู้คนอาศัยอยู่ในบ้านส่วนมากคือ ระยะเวลา 13-24 ชม. คิดเป็น 53.26% ลักษณะที่อยู่ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านปูนชั้นเดียว คิดเป็น 43.48% รองลงมาเป็นบ้านไม้กึ่งปูน คิดเป็น 30.43% ลักษณะผนังบ้านส่วนใหญ่เป็นปูน คิดเป็น 52.17% รองลงมาเป็นไม้และปูน คิดเป็น 32.61% และการวิเคราะห์ด้วยสถิติอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่มอแรนวิธี Global Moran’s I ได้ผลอยู่ระหว่าง -0.1251 ถึง 0.2988 ซึ่งค่ามอแรนที่ยอมรับได้จะต้องมีค่าเป็นบวก โดยผลการศึกษาพบว่าปี พ.ศ. 2558, 2560 และ 2562 มีค่าความสอดคล้องการเกิดโรคมะเร็งปอดที่นัยสำคัญ 0.05 หรือ 95% และแผนที่การกระจายเชิงพื้นที่โรคมะเร็งปอด ในปี พ.ศ. 2562 ปรากฏสูงที่สุดในหมู่ที่ 12 บ้านแม่กาหัวทุ่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสามารถนำผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ไปเป็นแผนที่นำทางในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง ติดตาม และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ในอนาคต
References
Chen, W., Zheng, R., Zeng, H. and Zhang, S. (2015). Epidemiology of lung cancer in China. Thoracic Cancer, 6, 209-215.
Chaikaew, N., Tripathi, N. K., & Souris, M. (2009). Exploring spatial patterns and hotspots of diarrhea in Chiang Mai, Thailand. International Journal of Health Geographics, 8(36). 1-10.
Ferlay, J., Soerjomataram, I., Dikshit, R., Eser, S., Mathers, C., Rebelo, M., et al. (2014).
Cancer incidence and mortality worldwide: sources, methods and major patterns in GLOBOCAN 2012. Int. J. Cancer, 136(5), E359-E386.
Jeefoo, P., Tripsthi, N. K., & Souris, M. (2011). Spatio-temporal Diffusion Pattern and Hotspot Detection of Dengue in Chachoengsao Province, Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health, 8(1), 51-74.
Jeefoo, P. (2012). Spatial Temporal Dynamics and Risk Zonation of Dengue Fever, Dengue Hemorrhagic Fever, and Dengue Shock Syndrome in Thailand. International Journal of Modern Education and Computer Science, 9, 58-68. DOI: 10.5815/ijmecs.2012.09.08
Jeefoo, P. (2016). Analyzing Spatial Clustering and Hotspots Detection of HIV/AIDS Prevalence using GIS Technology. International Journal of Geoinformatics, 12(1), 65-73.
Kulldorff, M., Heffernan, R., Hartman, J., Assuncao, R., & Mostashari, F. (2005). Space-time permutation scan statistic for disease outbreak detection. Public Library of Science
Medicine, 2(3), 216-224.
Pongnikorn, D., Suwanrungrung, R. and Buasom, R. (2015). Chepter II Cancer incidence in Thailand. In Imsamran, W., Chaiwerawattana, A., Wiangnon, S., Pongnikorn, D., Suwanrungrung, R., Sangrajrang, S. et al., (Eds.), Cancer in Thailand Vol, VIII, 2010-2012 (pp. 5-69). Bangkok: New Thammada Press.
Siegel, R., Ma, J., Zou, Z. and Jemal, A. Cancer statistics 2014. CA Cancer J Clin, 64, 9-29.
