การสร้างโมบายแอปพลิเคชันแบบไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อการสำรวจข้อมูลจากภาคสนามสำหรับงานบริหารจัดการภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
การสำรวจข้อมูลภาคสนาม, การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบไม่เขียนโปรแกรม, งานบริหารจัดการภาษี, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการสำรวจข้อมูลจากภาคสนามแบบไม่ต้องเขียนโปรแกรมสำหรับงานบริหารจัดการภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกใช้งานแพลตฟอร์มแอพชีต (AppSheet) ในการสร้างโมบายแอปพลิเคชัน เนื่องจากมีความสามารถและสมรรถนะในการสร้างโมบายแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็ว ผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะการเขียนโปรแกรมมาก่อน โดยแนวทางการสร้างโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้ได้อาศัยการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างโมบายแอปพลิเคชันแบบออนไลน์ ให้แก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากองค์กรปกครองส่วนถิ่นจากหลากหลายภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 30 คน หลังจากนั้นได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นและการประเมินความพึงพอใจของแนวทางการพัฒนาจากผู้ใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบไม่เขียนโปรแกรมนี้ สามารถช่วยเพิ่มสมรรถนะการเก็บสำรวจ การเก็บบันทึกข้อมูล การระบุตำแหน่ง การถ่ายภาพและการแสดงผลข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 อาจสรุปได้ว่า แนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานและเติมเต็มการทำงานด้านการบริหารจัดการภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและงานที่เกี่ยวข้องได้
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2563). คู่มือ หลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2021/3/2309_6188.pdf
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2561). คู่มือการปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2018/11/2227_6012.pdf
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2562). คู่มือปฏิบัติงานความพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2019/9/2277_6111.pdf
จิตรพงษ์ เจริญจิตร, และนิธิ ทะนนท์. (2559). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในระบบงานตรวจสุขภาพ ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 (น. 758). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชุติมณฑน์ อยู่เป็นสุข. (2559). การพัฒนาระบบสำหรับคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความ กรณีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
สุธิรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และแพรตะวัน จารุตัน. (2560). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4(2). 114-120.
Waszkowski, R. (2019). Low-code platform for automating business processes in manufacturing,
IFAC-PapersOnLine. 52(10), 376-381.
โอภาส เอี่ยมสริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดำรงค์ฤทธิ์ จันทราญ. (2563). การประยุกต์ใช้โปรแกรม Apsheet พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 14(1):83-94.
Petrović, N., & Nejkovic, P. (2020). Data-Driven Mobile Applications Based on AppSheet as Support in COVID-19 Crisis. Retrieved October 30, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/343678867_Data-Driven_Mobile_Applications_Based_on_AppSheet_as_Support_in_COVID-19_Crisis
