Journal Information
บทความย้อนหลัง
-
พฤษภาคม – สิงหาคม (2568)
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2025)วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัย นักวิชาการและบุคคลทั่วไป ได้เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ กระบวนการที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนา แก้ไขปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ องค์กร หน่วยงาน และชุมชนท้องถิ่น ปัจจุบันวารสารผ่านการประเมินจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยอยู่ในฐานที่ 2 (TCI2 ) ทุกบทความจะผ่านขั้นตอนกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) เพื่อประเมินคุณภาพบทความ แล้วส่งกลับไปยังผู้นิพนธ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ก่อนการตีพิมพ์
-
มกราคม-เมษายน (2568)
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2025)ปักษ์นี้ ประกอบด้วย 10 บทความ 1) การศึกษาการวิเคราะห์อากาศชั้นบนโดยใช้ข้อมูลจากระบบ Wind Profiler เพื่อการพยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ 2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการเส้นทางเชื่อมต่อแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราช 3) แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนบน จังหวัดพะเยา 4)การพัฒนาเครื่องบีบแยกพลาสมาอย่างง่ายภายในองค์กรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนิสิตเทคนิคการแพทย์ 5)การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน 6) การวิเคราะห์เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: กรณีศึกษาตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 7) การพัฒนากระบวนการทดสอบสำหรับระบบลางาน กรณีศึกษา บริษัท บิ๊ก ดาต้า เอเจนซี่ จำกัด 8) การพยากรณ์ข้อมูลจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าด้วยตัวแบบผสม SARIMA-ANN 9) การพัฒนาระบบการจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ผ่านการแจ้งเตือนบนแอปพลิเคชันไลน์สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา และ 10) การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการให้บริการออนไลน์ของศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่ความเป็นเลิศ เทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
-
กันยายน-ธันวาคม (2567)
ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (2024)ในปักษ์นี้ ประกอบด้วย 8 บทความวิจัย เป็นงานพัฒนาการทางสารสนเทศในมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน 4 เรื่อง และ งานทางด้านภูมิสารสนเทศ 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบสารสนเทศการลางานของบุคลากร กรณีศึกษา : กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) ระบบควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ผ่านไลน์บอท 3) การพัฒนาหุ่นจำลองตอขาชนิดใต้เข่า เพื่อส่งเสริมทักษะการพันตอขาสำหรับนิสิตกายภาพบำบัด 4) การพัฒนาแอปพลิเคชันแชตบอตสำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 5 )การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการออกแบบและวางแผนระบบการให้น้ำในสวนทุเรียนที่เหมาะสม 6) การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อจำแนกพื้นที่แนวปะการัง บริเวณเกาะมันใน จังหวัดระยอง 7) การประเมินความแห้งแล้งแบบหลายฉากทัศน์ด้วยดาวเทียมโดยใช้ดัชนีความเครียดของน้ำในพืช ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และ 8) การใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-2 เพื่อคำนวณหาขอบเขตพื้นที่บกของประเทศไทย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านในการพัฒนาองค์ความรู้เชิงพื้นที่ต่อไป
-
พฤษภาคม – สิงหาคม (2567)
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2024)ในปักษ์นี้ประกอบด้วย 8 บทความวิจัย เป็นบทความภาษาอังกฤษ 1 เรื่องด้าน R2R งานทางภูมิสารสนเทศ 6 เรื่อง เกี่ยวกับ เมืองเก่าสงขลา โดรนในงานสำรวจหน่วยงานส่วนท้องถิ่นพะเยา ประเมินที่ดินเชียงใหม่ การตรวจวัดคลอโรฟิลล์ในทะเลตราด แผนที่ช้างลำปาง และอาชญกรรมที่น่าน และมี 1 เรื่องเกี่ยวกับลดปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนด้วยการทำนาวิธีใหม่ โดยมีชื่อเต็มดังต่อไปนี้ 1) The Quality of Service that Affects the Satisfaction of the Service Recipients of the Administrative Unit, School of Information and Communication Technology, University of Phayao 2) เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนมรดกทางวัฒนธรรม บริเวณพื้นที่ชุมชนย่าน เมืองเก่าสงขลา สู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืน 3) การประเมินประสิทธิภาพของอากาศยานไร้คนขับต้นทุนต่ำสำหรับการสำรวจและทำแผนที่อาคารสิ่งปลูกสร้างเพื่อการประยุกต์ใช้งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแม่กา 4) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลอง การประเมินราคาที่ดิน กรณีศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 5) การศึกษาวิธีการตรวจวัดปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ที่พื้นผิวน้ำทะเลด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียมเซนติเนล-3 บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด 6) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาใช้เพื่อการทำแผนที่และศึกษาความหนาแน่นช้างบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมภายนอกพื้นที่อนุรักษ์ 7) การบรรเทาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยวิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 8) พื้นที่เสี่ยงการเกิดอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ในเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน
-
มกราคม-เมษายน (2567)
ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2024)เนื้อหาประกอบด้วย 8 บทความวิจัย เป็นการประยุกต์องค์ความรู้เชิงพื้นที่ 3 บทความ ได้แก่ 1) การประมาณค่าการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของสวนสาธารณะในเมือง กรณีศึกษาศูนย์เยาวชนเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม 2) อุณหภูมิพื้นผิว ดัชนีสเปกตรัมสิ่งปกคลุมดิน และความสัมพันธ์ บริเวณเทศบาลเมืองน่านและตำบลข้างเคียง จังหวัดน่าน และ 3) การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินพื้นที่บุกรุกในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์ งานวิจัย R2R 2 บทความ ได้แก่ 1)การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง มหาวิทยาลัยพะเยา และ 2) การพัฒนาระบบติดตามสถานะทางการเงิน งบประมาณรายได้ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยใช้ Google Sheet และบทความทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3 บทความ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นห่วงโซ่คุณค่าใหม่และโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมภายใต้รูปแบบชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) ระบบนัดหมายและสื่อสารสำหรับสถานพยาบาลด้วยแชทบอท และ 3) การจำแนกสายพันธุ์บอนสีด้วยการประมวลผลภาพบนโมบายแอปพลิเคชัน
-
กันยายน-ธันวาคม (2566)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (2023)เนื้อหาประกอบด้วย 8 บทความวิจัย เป็นการประยุกต์ใช้สารสนเทศในจังหวัดพะเยา 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานสายบริการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา 2) การประเมินคุณภาพเว็บไซต์คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ตามแนวทางเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติกับแบบออนไลน์วิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ของนิสิตหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยพะเยา 4) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ปัญหาการจัดเส้นทางของยานพาหนะเพื่อการกำหนดเส้นทางของรถขนขยะและสนับสนุนการจัดการขยะอัจฉริยะในเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และ 5) การนำเสนอพระพุทธรูปหินทรายของช่างพะเยาเสมือนจริงเสมือนจริง (ภาษาอังกฤษ) ส่วน 3 บทความที่เหลือ 6) เป็นการถอดบทเรียนการจัดการน้ำ: กรณีศึกษาพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำคลองสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 7) การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบตัดไม้ชิงชันและไม้ประดู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง และ 8) การเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลในงานสำรวจเชิงพื้นที่ โดยใช้เทคนิคการสร้างดรรชนี สำหรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ภายใต้รูปแบบวัตถุของจาวาสคริปต์
-
พฤษภาคม – สิงหาคม (2566)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2023)วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ฉบับประจำปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 7 บทความวิจัย เป็นบทความประยุกต์ทางภูมิสารสนเทศ 3 บทความ และทางสารสนเทศมี 4 บทความ โดยงานวิจัยทางภูมิสารสนเทศ ได้แก่ 1) การประมาณค่าการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของป่าเบญจพรรณและเต็งรังด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับและภูมิสารสนเทศ 2) การประเมินการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการสัญจรบนถนนในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนแผนลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา และ 3) การวิเคราะห์ข้อมูลความถี่และสกัดพื้นที่เผาไหม้ ด้วยการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม กูเกิ้ล เอิร์ธ เอนจิน โดยบทความทางสารสนเทศ 4 บทความ เป็นงาประยุกต์ศาสตร์ทางสารสนเทศที่น่าสนใจในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป เช่น ด้านการแพทย์ ได้แก่ “การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับระบบเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์หมุนเวียน งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์” ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ “เว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ของดี๋ด่านเกวียน” สำหรับการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายสินค้าชุมชน จังหวัดนครราชสีมา” และ ด้านการศึกษา 2 บทความของส่วนงานในมหาวิทยาลัยพะเยา ได้แก่ “เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา” และ “การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา” หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจงานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องต่อไป
-
มกราคม-เมษายน (2566)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (2023)วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ฉบับประจำปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เนื้อหาประกอบด้วย 6 บทความวิจัย เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคทางการรับรู้ระยะไกล ประกอบไปด้วยงานที่ใช้ภาพข้อมูลภาพดาวเทียมผ่านทำเป็นดัชนีในการตรวจวัดค่าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2 บทความ ได้แก่ “โครงสร้างภูมิทัศน์ของพื้นที่สีเขียวและผลกระทบของอุณหภูมิพื้นผิวในเขตเมืองเชียงราย” และ “การประเมินความรุนแรงของไฟป่าและการฟื้นตัวพืชพรรณหลังเกิดไฟป่าโดยใช้ข้อมูล ภาพถ่าย Landsat 8 OLI ณ สถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่ทรงงาน ดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเชียงราย” และการใช้ภาพข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับ เรื่อง “การประยุกต์ภาพจากอากาศไร้คนขับเพื่อการประเมินพื้นที่สีเขียว และการปกคลุมของร่มไม้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา” ร่วมไปถึงบทความการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานสุขาภิบาล และการประเมินน้ำต้นทุน “การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการประเมินที่ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดพะเยา” และ“การประเมินน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์” ตามลำดับ และเรื่องสุดท้ายเป็นการใช้แบบจำลอง 3 วิธีการในการเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตที่จังหวัดบุรีรัมย์ หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และนักวิชาการในงานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
-
กันยายน-ธันวาคม (2565)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (2022)วารสารฉบับนี้ เป็นฉบับประจำปีที่ 3 ฉบับที่ 3 เนื้อหาของบทความยังคงสาระเกี่ยวกับการศึกษาในประเด็นการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ที่ใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดการพื้นที่ และยังครอบคลุมถึงการใช้ประโยชน์สำหรับองค์กรรวมถึงหน่วยงานต่างๆ ในรูปแบบบทความวิชาการและบทความวิจัย ประกอบด้วยบทความวิชาการจำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ "การวางผังกายภาพในประเทศไทยและการมีส่วนร่วมของประชาชน" และบทความวิจัยจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ "การพัฒนาโปรแกรมเปรียบเทียบความเหมือนของภาพ ด้วยความถี่สะสมของระดับสีพิกเซล" "การสื่อสารองค์กรโดยใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา" "การจำลองและคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้แบบจำลองคลูมอนโดในจังหวัดปัตตานี" "การประเมินความสอดคล้องของข้อมูลภาพถ่ายรายละเอียดสูงด้วยอากาศยานไร้คนขับและภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของข้าว" "การจำแนกประเภทข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยาโดยการใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ" "การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวบ้านนาคูหา จังหวัดแพร่" ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และนักวิชาการในงานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
-
พฤษภาคม – สิงหาคม (2565)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2022)วารสารฉบับนี้ เป็นฉบับประจำปีที่ 3 ฉบับที่ 2 มีบทความที่น่าสนใจในประเด็นการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ได้แก่ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อทำแผนที่ความแห้งแล้งทางอตุนิยมวิทยาย้อนหลังในจังหวัดพะเยา" "การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการพื้นที่อนุรักษ์นกยูงไทย ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา" "The การเปรียบเทียบข้อมูลภาพดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอร์แมลไลซ์และข้อมูลภาพแบบหลายช่วงคลื่นของภาพถ่ายดาวเทียมเซนติเนลสองสำหรับการตรวจหาพื้นที่ นาร้างกรณีศึกษา จังหวัดพะเยาฝั่งตะวันออก" "การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2564 - 2642" "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อทำแผนที่ความแห้งแล้งทางอตุนิยมวิทยาย้อนหลังในจังหวัดพะเยา" ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และนักวิชาการในงานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับการศึกษาด้านการจัดการเชิงพื้นที่
-
มกราคม-เมษายน (2565)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2022)วารสารฉบับนี้ เป็นฉบับประจำปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เนื้อหาของบทความยังคงสาระเกี่ยวกับการศึกษาในมิติเชิงพื้นที่ที่มีความหลากหลายด้านกระบวนการวิจัย และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเชิงพื้นที่ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ "การพยากรณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองชายแดนด้วยแบบจำลองฟลัส (FLUS) กรณีศึกษา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" "การวิเคราะห์จำนวนประชากรและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลแบบเปิด" "การประเมินผลกระทบของระบบไฟฟ้าแสงสว่างของถนนต่อการเพาะปลูกข้าวด้วยภูมิสารสนเทศ" "การทำแผนที่คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการสัญจรช่วงเวลาเร่งด่วนเพื่อสนับสนุน แผนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัยพะเยา" "การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฝึกงานแบบออนไลน์ กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา" "การตรวจสอบความถูกต้องของค่าพิกัดแผนที่จากอากาศยานไร้คนขับ" "Development of Smart Agricultural Monitoring and Irrigation System using IoT and Mobile Applications" และ "Development of Near Real-Time analysis of Heatstroke Risk Information Service that affects to the elderly person based on Web Map Service" รวมทั้งสิ้น 8 บทความ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในงานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับการศึกษาเชิงพื้นที่และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่
-
กันยายน-ธันวาคม (2564)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (2021)วารสารฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ “การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด: กรณีตัวอย่างจังหวัดสระแก้ว” “การสร้างโมบายแอปพลิเคชันแบบไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อการสำรวจข้อมูลจากภาคสนามสำหรับงานบริหารจัดการภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” “การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการกำหนดระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนบน (พื้นที่รับน้ำฝนของกว๊านพะเยา)” “การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศในการติดตามคุณภาพน้ำ บริเวณกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา” “การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอดและวิเคราะห์การกระจายเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” และ “เส้นทางการเดินทางและการตั้งถิ่นฐานของชาติพันธุ์ไทลื้อ กรณีศึกษาอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา” เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 8 บทความ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการศึกษาเชิงพื้นที่และการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น
-
พฤษภาคม-สิงหาคม (2564)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2021)วารสารฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ “การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา” “การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์และการตัดสินใจกลุ่มแบบหลายเกณฑ์เพื่อประเมินความเสี่ยงไฟป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของจังหวัดพะเยา” “การใช้ประโยชน์ข้อมูลแบบเปิดเผยเพื่อการวิเคราะห์การกระจายตัวของจุดความร้อนบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย” “แบบจำลองพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่และพื้นที่โดยรอบ” “การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์พื้นที่จังหวัดพะเยา” เป็นต้น รวมบทความทั้งสิ้น 8 บทความ
-
มกราคม-เมษายน (2564)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2021)วารสารฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ “การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรีสำหรับผู้สูงอายุบนระบบบริการข้อมูลแผนที่” “การกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าและการวิเคราะห์ความอ่อนไหว: กรณีศึกษาป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดพะเยา” “การสร้างโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการสำรวจพื้นที่นาข้าวในจังหวัดพะเยาด้วยเอ็มไอทีแอปอินเวนเทอร์” “การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในภาคใต้ของไทย กรณีศึกษารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย” “การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เพื่อการเกษตร: กรณีศึกษาตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว” รวมทั้งบทความวิชาการ เรื่อง “ภูมินาม: ภาพสะท้อนเมืองพะเยา” รวมบทความทั้งสิ้น 8 บทความ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการศึกษาเชิงพื้นที่และการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น
-
กันยายน-ธันวาคม (2563)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (2020)วารสารฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ “พื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ศูนย์กลาง) ด้วยหลักการการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน” “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเว็บเพื่อการจัดการข้อมูลผู้พิการของเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา” “การสำรวจต้นทุนวัฒนธรรมของชุมชนโบราณ: กรณีศึกษาตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา” “การศึกษาการจำแนกข้อมูลภาพด้วยวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน กรณีศึกษา การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกข้าว อำเภอจุน จังหวัดพะเยา” “การเปรียบเทียบวิธีหาหลุมยุบและวิเคราะห์การกระจายตัวบนภูมิประเทศแบบคาสต์” รวมทั้งบทความวิชาการ เรื่อง “การวางผังเมืองในประเทศญี่ปุ่นสู่แนวปฏิบัติโดยชุมชน” รวมบทความทั้งสิ้น 8 บทความ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการศึกษาเชิงพื้นที่และการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น
-
พฤษภาคม-สิงหาคม (2563)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2020)วารสารฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ “การพยากรณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแบบจำลอง CLUmondo กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” “การสกัดข้อมูลพื้นที่แหล่งน้ำบนภาพถ่ายดาวเทียมด้วยกูเกิลเอิร์ธเอนจิน” “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จังหวัดศรีสะเกษ” “การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมกูลเกิลเอิร์ธสำหรับจำแนกการปกคลุมของเรือนยอดต้นจามจุรีและต้นไม้อื่นๆ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน” รวมทั้งบทความวิชาการ เรื่อง “การทำแผนที่การใช้ที่ดินด้วยการจำแนกข้อมูลเชิงวัตถุจากภาพดาวเทียมไทยโชต” รวมบทความทั้งสิ้น 8 บทความ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการศึกษาเชิงพื้นที่และการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น
-
มกราคม-เมษายน (2563)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2020)วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เล่มนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัย นักวิชาการและบุคคลทั่วไป ได้เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจ ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ ตลอดจนสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์เชิงพื้นที่และการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ในวารสารที่มีคุณภาพตามระดับเกณฑ์มาตรฐานของสำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นประจำปีละสามฉบับ และทุกบทความจะต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก (Peer review) เพื่อประเมินผลและพิจารณาบทความ แล้วส่งกลับไปยังผู้นิพนธ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ก่อนการตีพิมพ์
วารสารฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ “ความสัมพันธ์ระหว่างการแปลงค่าข้อมูลใหม่แบบแทสเซิลและดัชนีพืชพรรณผลต่างนอร์มอลไลซ์ในเมืองเชียงใหม่” “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินกับการระบาดเชิงพื้นที่ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพะเยา” และ “การศึกษามาตรฐานภูมิสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งานสำหรับการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแม่กา” รวมทั้งบทความวิชาการ เรื่อง “ผังเมืองกับการพัฒนาเมืองพะเยา” รวมบทความทั้งสิ้น 8 บทความ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการศึกษาเชิงพื้นที่และการพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเชิงพื้นที่ทั้งสิ้น
ในนามกองบรรณาธิการ ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่ให้เกียรติในการส่งบทความทุกเรื่อง ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิที่เสียสละเวลาในการพิจารณาตรวจสอบและกลั่นกรองบทความ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ให้การสนับสนุนในทุกด้านจนทำให้วารสารฉบับนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายไว้