การพัฒนาระบบสำหรับแจ้งเตือนการลืมปิดประตูหอพักผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

พันธวัช พิพัฒน์กำธร
เจนจิรา เนาวรัตน์
สัญญา เครืองหงษ์

บทคัดย่อ

หอพักได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับประชาชนชาวไทยทั่วไป จากแบบสอบถามของงานวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พบว่าเหตุผลที่ทำให้คนทั่วไปตัดสินใจเช่าที่พักในแต่ละแห่ง ผู้เช่าจะคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของที่พักอาศัยเป็นอันดับที่ 2 ถัดจากเรื่องทำเลที่ตั้งที่สะดวกแก่การเดินทาง ดังนั้นปัจจัยด้านความปลอดภัยของที่พักอาศัยจึงเป็น ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ผู้เช่าจะนำมาพิจารณาเพื่อเลือกเช่าหอพัก เพราะเมื่อมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน สภาพจิตใจ และอาจจะถึงแก่ชีวิตของผู้เช่าได้ นอกจากนั้นปัญหาหนึ่งของความเสียหายดังกล่าวก็คือหอพักที่ไม่มีผู้รักษาความปลอดภัยดูแล หรือการเปิดประตูหอพักทิ้งไว้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงนำอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการหอพัก และผู้เช่าหอพัก ซึ่งมีกระบวนการทำงานโดยการสื่อสาร หรือรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ จึงทำให้มีจุดเด่นคือเพิ่มความสะดวกสบาย และทำงานได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ โดยการจัดทำงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยดังต่อไปนี้ 1) เพื่อพัฒนาระบบสำหรับแจ้งเตือน ในกรณีที่ลืมปิดประตูหอพัก ด้วยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ 2) เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เช่าหอพัก และเจ้าของหอพัก เป็นจำนวนทั้งหมด 20 คน โดยเพื่อให้งานวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเป็นระบบสำหรับตรวจสอบการลืมปิดประตูหอพัก โดยระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังกลุ่มแชทของผู้เช่าหอพัก หรือแชทส่วนตัวของเจ้าของหอพัก พร้อมทั้งมีการแจ้งเตือนเป็นเสียงจากตัวอุปกรณ์เมื่อมีการลืมปิดประตูหอพักเมื่อใช้งานเสร็จแล้วเป็นเวลา 30 วินาที โดยมีอุปกรณ์สำคัญที่ใช้พัฒนาระบบ คือ 1) บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และ 2) อัลตราโซนิคเซ็นเซอร์ จากผลทดลองระบบนั้น ผู้วิจัยเปิดประตูค้างไว้จำนวน 40 ครั้ง ผลการทดลองพบว่ามีการแจ้งเตือนไปยังกลุ่มแชทของผู้เช่าหอพักและเจ้าของหอพัก โดยมีการแจ้งเตือนเป็นเสียงจากตัวอุปกรณ์แสดงได้ครบทั้ง 40 ครั้ง และระยะเวลาเฉลี่ยที่ส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังแชทเป็นเวลา 2.854 วินาที และระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัวอุปกรณ์ใช้เพื่อประมวลผลก่อนที่จะส่งเสียงเป็นเวลา 2.681 วินาที นอกจากนั้นได้มีการประเมินผลความพึงพอใจของระบบจากเจ้าของหอพักและผู้เช่าหอพักจำนวน 20 คน พบว่าผลการประเมินระบบอยู่ในระดับดี และผู้วิจัยคาดว่าประโยชน์ที่จะได้จากงานวิจัยนี้คือ 1) เป็นต้นแบบสำหรับระบบอัจฉริยะ และการทำงานอัตโนมัติภายในหอพัก 2) ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในด้านความปลอดภัยของผู้เช่า และผู้ประกอบการหอพัก 3) ลดภาระงานในการดูแลความปลอดภัยของผู้ประกอบการหอพัก

Article Details

How to Cite
พิพัฒน์กำธร พ., เนาวรัตน์ เ., & เครืองหงษ์ ส. (2023). การพัฒนาระบบสำหรับแจ้งเตือนการลืมปิดประตูหอพักผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 5(1), 36–50. https://doi.org/10.14456/jait.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2563). Internet of Things (IoT). สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก http://km.prd.go.th/iot-platform/

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2563). ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean and Standard Deviation). สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://touchpoint.in.th/mean-sd/

ดนุภพ สวมสูง และนภสินธุ์ สาดศร. (2560). ระบบเตือนภัยภายในบ้านบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. สืบค้น 22 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15723

ไทยรัฐ. (2564). คืนสุดสยอง หนุ่มลึกลับบุกแทงสาวในห้องบนคอนโด ก่อนออกมาหมดลมที่หน้าลิฟต์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/crime/22737

บริษัทไอบัดดี้เว็บจำกัด. (2563). Line Notify ตัวช่วยใหม่ให้คุณไม่พลาดข่าวสารสำคัญทางธุรกิจ. สืบค้น 23 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.ibuddyweb.com/news/line-notify/

ไบรท์ทูเดย์. (2564). ระทึก! ความปลอดภัยของหอพัก อยู่ไหน ปล่อยคนขึ้นมาชั้น 6 ไล่ทุบประตูทุกห้อง. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.brighttv.co.th/social-news/dormitory-condo-legal-entity

ฝนทิพย์ วงศ์ศุภชาติกุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักสำหรับการอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิพัฒน์ ดุรงค์ดำรงชัยและชัยพร อัดโดดดร. (2563). แบบจำลองระบบไอโอทีสําหรับฟาร์มไก่อัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 7(2), 73-86. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/243422

เรื่องเล่าเช้านี้. (2564). นิสิตสาว ม.ดังผวา โรคจิตบุกหอห้อย กกน.ที่ลูกบิด ปีนช่องลม ส่งเสียงคราง. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://ch3plus.com/news/program/232900

โภคี บุญนรากร. (2564). ระบบให้อาหารม้าแบบอัตโนมัติด้วยไอโอที. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุชาติ คุ้มมะณี, เอกราช อาจเจริญและพีรวัส ชะนอบรัมย์. (2565). การพัฒนาเบรกเกอร์อัจฉริยะเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร, วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 4(1), 48-61. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/article/view/246883

Carreira, R. (2020). ESP8266 NodeMCU Make some noise with buzzers. Retrieved 15 January 2022. Retrieved from https://www.geekering.com/categories/embedded-sytems/esp8266/ricardocarreira/esp8266-nodemcu-make-some-noise-with-buzzers/

Chandra, M. R., Kumar, B. V., & Babu, B. S. (2017). IoT enabled home with smart security. Proceeding of the International Conference on Energy, Communication, Data Analytics and Soft Computing (ICECDS). 1-2 August 2017, IEEE, https://doi.org/10.1109/ICECDS.2017.8389630

ElectroPeak. (2019). Getting Started w/ NodeMCU ESP8266 on Arduino IDE. Retrieved 15 January 2022. Retrieved from https://create.arduino.cc/projecthub/electropeak/getting-started-w-nodemcu-esp8266-on-arduino-ide-28184f

Hoque, M. A. & Davidson, C. (2019). Design and Implementation of an IoT-Based Smart Home Security System. International Journal of Networked and Distributed Computing, 7(2), 85-92. https://doi.org/10.2991/ijndc.k.190326.004

ProjectHub. (2019). Ultrasonic Sensor HC-SR04 with Arduino Tutorial. Retrieved 10 January 2022. Retrieved from https://create.arduino.cc/projecthub/abdularbi17/ultrasonic-sensor-hc-sr04-with-arduino-tutorial-327ff6

Wadhwani, S., Singh, U., Singh, P., & Dwivedi, S. (2018). Smart home automation and security system using Arduino and IOT. International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET), 5(2), 1357-1359. https://www.irjet.net/archives/V5/i2/IRJET-V5I2296.pdf