การพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย โดยใช้แนวคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎีซินเนคติกส์

ผู้แต่ง

  • ปารเมศ รินทะวงศ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ต้นข้าว ปาณินท์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การเรียนการสอน, เทคโนโลยีการก่อสร้าง, ซินเนคติกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการศึกษาแนวคิดทฤษฎี ซินเนคติกส์ ในกระบวน การเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแก้ไขสภาพปัญหา ด้านการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง ด้านสภาพแวดล้อม โดยใช้แนวคิดทฤษฎี ซินเนคติกส์ ประชากร 726 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน ประกอบด้วยอาจารย์ 30 คน ผู้สำเร็จการศึกษา 200 คน สถาปนิก 20 คน และวิศวกร 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามคิดเห็นต่ออุปสรรคและปัญหาการจัดการเรียนการสอน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่ว่างและอาคาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดทฤษฎี ซินเนคติกส์ ในกระบวนการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน จากการศึกษาพบว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาเชิงจิตวิทยา โดยทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย และทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก เพื่อแก้ปัญหาในแนวทางใหม่ด้วยวิธีการลักษณะคิดเชิงสร้างสรรค์คือ 1.1) การอุปมาอุปมัยโดยอิงตัวเอง  1.2) การอุปมาอุปมัยโดยตรง  1.3) การอุปมาอุปมัยโดยอิงบัญญัติ 1.4) การอุปมาอุปมัยโดยอิงการเพ้อฝัน ความปรารถนาให้เป็นจริง โดยผู้แก้ปัญหากำหนดปัญหาด้วยแรงปรารถนาอย่างไรก็ได้อันปลอดจากเหตุผลหรือกฎเกณฑ์ใดที่เคยประพฤติปฏิบัติมา 2) แนวทางการพัฒนาแก้ไขสภาพปัญหา ด้านการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง ด้านสภาพแวดล้อม โดยใช้แนวคิดทฤษฎีซินเนคติกส์  ด้านการเรียนการสอน อาจารย์ (สมมติว่าเป็นผู้เรียน) มีความคิดเห็นว่า ควรให้มีการพัฒนาด้านการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนโดยอิสระ ควรพัฒนาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีทักษะเป็นผู้ที่คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ในระหว่างที่กิจกรรมการเรียนรู้ มากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา สถาปนิก และวิศวกร (สมมติว่าเป็นผู้สอน) มีความคิดเห็นว่า ควรให้มีการพัฒนาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีทักษะเป็นผู้ที่คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ในระหว่างที่กิจกรรมการเรียนรู้ สอนด้วยการอธิบายเรื่องที่สอนอย่างง่าย และมีทักษะพื้นฐานมีความรับผิดชอบสำคัญในการประกอบวิชาชีพในอนาคต มากที่สุด ด้านองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี อาจารย์ (สมมติว่าเป็นผู้เรียน) เห็นสมควรให้มีการพัฒนาแบบแผนการพัฒนาการเตรียมการเรียนและบูรณาการเรียนอย่างเป็นระบบ มากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา สถาปนิก และวิศวกร (สมมติว่าเป็นผู้สอน) เห็นสมควรให้มีการพัฒนาโดยการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความชำนาญ มากที่สุด และสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง มากที่สุด ด้านสภาพแวดล้อม พื้นที่ว่าง (Space) เสนอแนะความคิดเห็นจากจิตนาการว่าอนาคตพื้นที่การเรียนการสอนว่าควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งผู้สอนและผู้เรียน มีสภาพแวดล้อมที่ดี บรรยากาศน่าสนใจ มีพื้นที่จัดทำกิจกรรมหลากหลายมีอุปกรณ์ให้ใช้ในการทำ Workshop ทำงานการก่อสร้างจริงด้วยตนเอง มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถจัดนิทรรศการได้ อาคาร (Building) ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับกิจกรรม มีความเพียงพอต่อการฝึกปฏิบัติ การใช้อาคารควรให้มีมาตรการของเวลาในการทำงาน มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีพร้อมในการเรียนการสอน พัฒนาอาคารให้สามารถรองรับการสอนตามรูปแบบการปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างในระบบการทำงานการก่อสร้างได้

References

กิตติพงศ์ ดารักษ์. (2550). วิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ต้นข้าว ปาณินท์. (2553). คนและความคิดทางสถาปัตยกรรม. กรุงเทพมหานคร: สมมติ.

ต้นข้าว ปาณินท์. (2561). ปฐมบททฤษฎีสถาปัตยกรรม. กรุงเทพมหานคร: ลายเส้น พับบลิชชิ่ง.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). กระบวนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิตอล. แพร่: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

ชุลีรัตน์ ประกิ่ง. (2558). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามกระบวนการสอนแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชาการสร้างงานแอนิเมชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแก้ปัญหาร่วมกันและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของ นักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

ฟิสิกส์ ฌอน บัวกนก และไพศาล สุวรรณน้อย. (2553). การพัฒนารูปแบบกิจกรรม CAPUCHINO MODEL ด้วยเทคนิคชินเนตติกส์ ใน Proceeding การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 8 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 16-17 กันยายน 2563, กรุงเพทมหานคร.

จาตุรนต์ บุญลออ. (2561). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอน กลุ่มวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างและงานระบบอาคาร. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรรมศาสตร์ สจล, 27(2), 167-178.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอนของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคพริ้นติ้ง.

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติกส์: รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสาร Veridian E Journalฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2555-2566.

เมธาวี วงศ์ไวโรจน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 3(1), 81-87.

อภิโชค เลขะกุล. (2560). การวิจัยเพื่อการศึกษาและการออกแบบสภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022