การพัฒนาเครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติของผู้รับบริการด้านสาธารณสุขด้วยข้อมูลบัตรประชาชน

ผู้แต่ง

  • รุ่งโรจน์ อุตมาตร สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
  • นิมิตร อมฤทธิ์วาจา สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

เครื่องพิมพ์บัตรคิว, งานรักษาพยาบาล, บัตรประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติของผู้รับบริการด้านสาธารณสุขด้วยข้อมูลบัตรประชาชน 2) หาประสิทธิภาพเครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติของผู้รับบริการด้านสาธารณสุขด้วยข้อมูลบัตรประชาชน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติของผู้รับบริการด้านสาธารณสุขด้วยข้อมูลบัตรประชาชน รูปแบบการวิจัยเป็นการเชิงทดลองใช้แนวคิดการจัดระบบคิวโดยใช้ข้อมูลในบัตรประชาชน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่ดำเนินการวิจัยคือ โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 และศูนย์บริการสาธารณสุข 43 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติของผู้รับบริการด้านสาธารณสุขด้วยข้อมูลบัตรประชาชน ระบบแถวคอยในโรงพยาบาล แบบบันทึกการหาประสิทธิภาพ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า 1) เครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติ มีระบบการทำงานโดย วงจรไมโครคอนโทรลเลอร์จะรับค่าส่วนสูง น้ำหนัก เพื่อประมวลผลเป็นข้อมูลตัวเลข ข้อมูลชื่อและนามสกุลที่อ่านได้จากชิปบนบัตรประชาชน จะถูกประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงผลทางหน้าจอและพิมพ์บัตรคิวออกทางเครื่องพิมพ์ที่มีข้อมูลชื่อ นามสกุล น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย (BMI) ลำดับคิว วันและเวลา 2) ประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์แสดงดัชนีมวลกายและคิวริ่งอย่างอัตโนมัติของผู้รับบริการด้านสาธารณสุขด้วยข้อมูลบัตรประชาชน มีความถูกต้องและเร็วกว่าระบบแถวคอยในโรงพยาบาล 8.55 นาที 3) ความพึงพอใจในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

References

ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร. (2561). ยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) กับสถานการณ์ที่สะท้อนผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 14(2), 27-41.

พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์ วริยา ยังไว วีรชัย มีสัตย์ และศุภวิชญ์ สมเกียรติวีระ. (2563). การจำลองระบบแถวคอยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 29(1), 10-23.

คัทลิยา วสุธาดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 80-89.

รัตนสุดา สุภดนัยสร ธีรถวัลย์ ปานกลาง และจุรีพร ศรีชุมแสง. (2562). การออกแบบและสร้างระบบวัดดัชนีมวลกาย (BMI) อัตโนมัติแสดงผลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH, 14(2), 73-85.

ดอนสัน ปงผาบ. (2563). ไมโครคอนโทรลเลอร์ Aduino. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ธนวัฒน์ จิรรัตนโสภา และสนธยา วงศ์มุสา. (2559). เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงแบบกึ่งอัตโนมัติที่มีเครื่องพิมพ์สลิป. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, สงขลา.

กิตติคุณ แสงนิล และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความเที่ยงตรง ความสอดคล้องในวิธีการและความคลาดเคลื่อนจากการวัด ของการวิจัยทางด้านสรีรวิทยาการออกกำลังกาย. Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(6), 1-19.

สุเมธา ศรีละคร และสมบัติ สินธุเชาวน์. (2560). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแถวคอยและการจำลองแบบปัญหาเพื่อลดเวลารอคอยในการรับบริการของผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลวารินชำราบ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ วันที่ 12-15 กรกฎาคม 2560 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อัจฉราวรรณ ศรสว่าง. (2564). ผลการใช้แนวปฏิบัติลดระยะเวลารอคอยแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4), 181-189.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022