การศึกษาสมบัติของกาวหลอมร้อนจากยางพารา โดยใช้ยางโพธิ์เป็นสารช่วยเพิ่มความเหนียว

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา กาญจนารัตน์ แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สัตยา หัตถิยา แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สายฝน แก้วสม แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • นุชจรี สุกใส แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • ณฐมน ธรรมศิริไพบูลย์ แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ยางธรรมชาติ, ยางต้นโพธิ์

บทคัดย่อ

กาวหลอมร้อนจากยางธรรมชาติ (Hot-melt Adhesive) มีการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งจะใช้งานที่อุณหภูมิที่จุดหลอมเหลว (Melting Point) และเกิดการติดประสานกับวัสดุเมื่อเย็นลงและกลายเป็นของแข็ง ซึ่งแตกต่างกับกาวชนิดอื่น ๆ ที่เกิดการติดประสานหรือกลายเป็นของแข็ง เมื่อตัวทำละลาย (Solvent) หรือน้ำระเหยออกไป สามารถติดกับพื้นผิววัสดุต่าง ๆ ได้ดี เช่น โลหะ ไม้ การเพิ่มการยึดติดสามารถทำได้โดยการใช้สารเพิ่มความเหนียวติดเป็นสารที่สำคัญในการทำกาว ตัวอย่างการเพิ่มสารเหนียวติด เช่น คูมาโรนเรชินปิโตรเลียมเรซิน เป็นต้น ยางธรรมชาตินิยมใช้ทำเป็นกาว Pressure-sensitive ต้องให้ความร้อนและออกแรงกดในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้กาวยึดติดกับพื้วผิวของวัสดุดีขึ้น เนื่องจากคูมาโรนเรซินมีสมบัติความเหนียวติดกันที่ดี นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มคุณสมบัติโดยใช้ขี้ผึ้งพาราฟิน (Paraffin Wax) เป็นสารที่ช่วยปรับความหนืดของกาวได้ดีและทำให้กาวแข็งตัวได้เร็วขึ้น

การนำยางพาราซึ่งเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคใต้และมีคุณสมบัติด้านความเหนียว สามารถยึดเกาะวัสดุต่าง ๆ ได้ดี ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาสมบัติการเหนียวติดของกาวยางพาราที่เพิ่มสารเหนียวติดจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติด้านยึดเกาะที่ดีที่จะใช้ในทางการค้า จึงสนใจการใช้ยางจากต้นโพธิ์หรือเรียกว่ายางโพธิ์มาเพิ่มการเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของกาวยางหลอมร้อน โดยเปรียบเทียบกับคูมาโรนเรซินที่ใช้ผลิตเป็นกาวทางการค้า พบว่า กาวยางพาราที่ผสมยางโพธิ์มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะได้ดี

References

กิจชัย จิตขจรวานิช. (2550). กาว. วารสารหน้าจั่ว, 22(2007), 93-110.

วราภรณ์ ขจรไชยกูล. (2555). เทคโนโลยีน้ำยาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุนิสา สุชาติ. (2564). นวัตกรรมยางธรรมชาติคอมพอสิท. สุราษฎฎร์ธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.

ศุภิดา โภคินสุวรรณ. (2556). การศึกษาสมบัติของกาวร้อนเหลวชนิดต่าง ๆ สำหรับการใช้งานในกระบวนการขัดสไลเดอร์บาร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), 218-232.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022