รูปแบบพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสู่สากล วิทยาลัยเทคนิคสิชล

ผู้แต่ง

  • มนัส ชูราศรี วิทยาลัยเทคนิคสิชล

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก, สมรรถนะ, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบและผลการทดลองใช้รูปแบบพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสู่สากล วิทยาลัยเทคนิคสิชล การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาวิธีพหุกรณีศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคน่าน วิทยาลัยเทคนิคตาก และวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อยกร่างรูปแบบ โดยการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และครูวิทยาลัยเทคนิคสิชล จำนวน 12 คน และนำเสนอรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยการประชุมอิงผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน เพื่อตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ และ 2) ทดลองใช้รูปแบบในวิทยาลัยเทคนิคสิชล กับรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอนและผู้เรียน แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะและแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ รวมจำนวน 35 คน จากการสุ่มตัวอย่างเชิงช่วงชั้นหรือชั้นภูมิแบบมีสัดส่วน โดยใช้แบบประเมิน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีองค์ประกอบ 3 ด้าน 6 ขั้นตอน คือ ด้านกระบวนการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย ขั้นสร้างความตระหนัก (A) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย ขั้นออกแบบการจัดการเรียนรู้ (D) ขั้นฝึกอย่างมีเป้าหมาย (D) ขั้นบูรณาการ (I) และขั้นเสริมสร้างนวัตกรรม (C) ด้านกระบวนการติดตามผู้เรียน ประกอบด้วย ขั้นประเมินรอบทิศทาง (O) หรือเรียกว่า ADDICO Model 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 2.1) ขั้นตอนรูปแบบในภาพรวมทุกขั้นตอนหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยขั้นฝึกอย่างมีเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นขั้นเสริมสร้างนวัตกรรม 2.2) ความพึงพอใจของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูและผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2.3) สมรรถนะผู้เรียนสู่สากล ในภาพรวมหลังการประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านการประยุกต์ใช้

References

ตวง อันทะไชย และกชพร นํานาผล. (2558). ข้อเสนอเชิงนโยบายตามกรอบข้อตกลงประชาคมอาเซียนเพื่อยกระดับ ความมีประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์ อีสเทอร์น, 9(2-4), 191-203.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก. 1-24.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้านการอาชีวศึกษารอบสามของวิทยาลัยเทคนิคสิชล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

มนัส ชูราศรี. (2561). รูปแบบพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสู่สากล วิทยาลัยเทคนิคสิชล สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคนิคสิชล.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ อภิชา ธานีรัตน์ ปิยนันต์ คล้ายจันทร์ และชมภูนุช พุฒิเนตร. (2559). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในร้านสะดวกซื้อ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 200-212.

สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย. (2560). อิทธิพลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อสมรรถนะในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 30(2), 229-251.

อลงกต ยะไวทย์ ทนงค์ เขียวแก้ว และณภัทธิรา มุ่งธนวรกุล. (2560). การสร้างระบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

Pylvas, L., & Nokelainen, P. (2017). Finnish WorldSkills Achievers’ Vocational Talent Development and School-to-Work Pathways. International Journal for Research in Vocational Education and Training (IJRVET), 4(2), 95-116.

Fujita, N., Yamanaka, Y., Shimizu, H., & Onodera, R. (2018). An Active Learning Project with Deliberate Practice in Vocational Training for Environmental Energy Engineers. Information and Systems in Education, 17(1), 7-16.

ดวงใจ สมภักดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการบัญชี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 1(2), 67-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022