รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ
คำสำคัญ:
การพัฒนาการบริหารจัดการ, วิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา, เสริมสร้างคุณภาพผู้เรียน, การบริการสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ตอน 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ ดำเนินการโดยการยกร่างรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องจำนวน 14 คน และตรวจสอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน รวมทั้งประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบด้วยแบบประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบตามคู่มือการใช้รูปแบบและโครงการสำหรับทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบรายงาน การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางการพัฒนา ควรพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนและสู่การบริการสังคม วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ พบว่า รูปแบบประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า (2) กระบวนการ (3) ผลผลิต และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความสำเร็จของโครงการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นทุกด้านอยู่ในระดับมาก
References
สมนึก เอื้อจิระพงศ์พันธ์. (2552). การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สามสุดา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2562). [ออนไลน์]. โครงการส่งเสริมผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เวทีระดับนานาชาติ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2562]. จาก https://research.psru.ac.th/read.php?cat=ReadNews&NewsID=750.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฐนันท์ ชุมแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 1007-1017.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น.
สองเมือง กุดั่น และเสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 305-320.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: ตีรณสาร.
พลฤทธิ์ จินดาหลวง. (2562). [ออนไลน์]. การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปางสู่มาตรฐานการอาชีวศึกษาด้วย 6M และ PDCA. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563]. จาก http://lampangvc.ac.th/2021/news/1674.
Marisa Dziallas. (2018). Innovation Indicators Throughout the Innovation Process: An Extensive Literature Analysis. Technovation, 80-81, 3-29.
ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ และปรีชา วิหคโต. (2563). การพัฒนาระบบการบริหารสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ ในยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์ม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 459-473.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. 9-11.
สิรวิชญ์ ธนเศรษฐ์วงศ์. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 23-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.