ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเรียนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในยุค New Normal

ผู้แต่ง

  • อัญชนา มุ่งหมาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเรียนออนไลน์, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนออนไลน์ในยุค New Normal ได้แก่ พฤติกรรมของครูผู้สอน การปรับตัวของผู้เรียน และความพร้อมของสภาพแวดล้อม/สื่อ/เทคโนโลยี 2) ศึกษาการเรียนออนไลน์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในยุค New Normal และ 3) หาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนออนไลน์ในยุค New Normal กับการเรียนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 238 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์   

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนออนไลน์ในยุค New Normal ได้แก่ พฤติกรรมของครูผู้สอน การปรับตัวของผู้เรียน และความพร้อมของสภาพแวดล้อม/สื่อ/เทคโนโลยี โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยว่าพฤติกรรมของครูผู้สอน ด้านการปรับตัวของผู้เรียน และด้านความพร้อมของสภาพแวดล้อม/สื่อ/เทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนออนไลน์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความพร้อมของสภาพแวดล้อม/สื่อ/เทคโนโลยี รองลงมาคือ พฤติกรรมของครูผู้สอน และน้อยที่สุดคือ การปรับตัวของผู้เรียน 2) การเรียนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในยุค New Normal โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความเห็นต่อการเรียนออนไลน์ว่ามีความเป็นจริง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการทบทวนบทเรียน รองลงมาคือ ด้านยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบ และน้อยที่สุดคือ ด้านความวิตกกังวลในการเรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนออนไลน์ในยุค New Normal กับการเรียนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยรวม พบว่า พฤติกรรมของครูผู้สอน การปรับตัวของผู้เรียน และความพร้อมของสภาพแวดล้อม/สื่อ/เทคโนโลยี มีความสัมพันธ์ต่อการเรียนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้นด้านความวิตกกังวลในการเรียน และด้านยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบ ไม่มีความสัมพันธ์กัน

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). [ออนไลน์]. มาตรการและแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 11. [สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564]. จาก http://www.uni.net.th/กระทรวงการอุดมศึกษา-วิท/.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ จุรีย์ นฤมิตเลิศ และกิติยา สมุทรประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(1), 13-27.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2564). [ออนไลน์]. การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. [สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564]. จาก http://www.ds.ru.ac.th.

สำนักงานทะเบียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2564). [ออนไลน์]. สถิติจำนวนนักเรียน (ฝ่ายมัธยม). [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564]. จาก http://www.ds.ru.ac.th.

Likert, R. (1999). The Method of Construction and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจนิ์ และอัจรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Practice-Hall.

นิตยา มณีวงศ์. (2564). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ แอปพลิเคชันไลน์ ในช่วงวิกฤต COVID 19. วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 161-173.

รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 1-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022