การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม ของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา

ผู้แต่ง

  • สถิตย์ ปริปุณณากร วิทยาลัยเทคนิคพะเยา

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรม, การพัฒนาชุดฝึกอบรม, การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม 2) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม และ 3) ติดตามและประเมินผลการใช้ชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม ของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรม ได้แก่ ครูของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา จำนวน 40 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม แบบสัมภาษณ์ ชุดฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดฝึกอบรม และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่ผ่านการฝึกอบรมและได้จัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันกับความต้องการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการได้รับการพัฒนา 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ด้านการออกแบบและการสร้างสื่อการสอน และการวางแผนการสอน ตามลำดับ 2) ชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา มีประสิทธิภาพ 81.54/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 3) ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของชุดฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมของผู้เข้าอบรมหลังจากการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ครูที่ผ่านการฝึกอบรมและได้จัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จอยู่ในระดับมาก (3) ผลงานที่เป็นนวัตกรรมหรืองานวิจัยของครูและของผู้เรียนได้รับรางวัลเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม

References

[1] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] Jenkins, A., Blackman, T., Lindsay. R., and Paton-Salzberg, R. (1998). Teaching and Research: students' perspectives and policy implications. Studies in Higher Education, 23(2), 127-141.
[3] จิรนันท์ นุ่นชูคัน. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal SiLlpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1. 87-99.
[4] สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2. (2560). รายงานการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2559. พะเยา.
[5] Baldwin, G. (2005). [Online]. The teaching-research nexus: How research informs and enhances learning and teaching in the University of Melbourne. Melbourne: The University of Melbourne. [Retrieved May 21, 2018] from: http://www.cshe.unimelb.edu.au.
[6] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). [ออนไลน์]. การสร้างชุดการสอน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2561] จาก http://inno-sawake.blogspot.com/2008/07/4.html.
[7] อรณิชชา ทศตา. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่อง การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือเพื่อการวิจัยในการเสริมสร้างความสามารถของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา.
[8] สุวรรณี ยหะกร. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง การพูด และการอ่านในวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. 89-107.
[9] สิริวรรณ ศรีพหล. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียน สำหรับครูสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[10] ผการัตน์ พู่กลั่น. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรม วิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[11] จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. 1–11.
[12] สุจิตรา วันทอง. (2557). การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020