การพัฒนาชุดการสอนรูปแบบ MIAP สำหรับจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • ทรงนคร การนา สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ฤทัย ประทุมทอง สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา 90000

คำสำคัญ:

ชุดการสอน, การเรียนรู้แบบเชิงรุก, บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนรูปแบบ MIAP สำหรับจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า 2) หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยเอกสารชุดการสอน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนแนะนำชุดการสอน 2) ส่วนเนื้อหาสาระ 3) ส่วนประเมินผล และสื่อการสอนประกอบด้วย สื่อนำเสนอ สื่อแผ่นป้าย ชุดสื่อวงจรไฟฟ้า และบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ แบบฝึกหัด ใบสั่งงาน แบบทดสอบหลังเรียน แบบทดสอบปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจ จากผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน
27 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนและบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นมา โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการสอนรูปแบบ MIAP สำหรับจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ผู้เรียนมีคะแนนร้อยละเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ระดับดี ร้อยละ 88.89 และประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนเท่ากับ 81.04/80.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

[1] วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
[2] ปรียานุช พรหมภาสิต. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้ "Active Learning (AL) for Huso at KPRU". กำแพงเพชร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
[3] นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้ Active Learning. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
[4] สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2549). โครงการสอนวิชาเทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ MIAP. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[5] สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2553). ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] วาทิตย์ สมุทรศรี, คชากฤษ เหลี่ยมไธสง และ สถิติพงษ์ เอื้ออารีมิตร. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2. 229-242.
[7] สิริมนต์ นฤมลสิริ. (2562). การพัฒนาเอกสารคำสอนวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อย โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. 99-110.
[8] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1. 7-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020