การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซทหลายช่วงเวลาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง การปกคลุมของป่าไม้บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน

Main Article Content

ดร. ศันสนีย์ มณีโชติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตุลา คมกฤต มโนรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อจำแนกความหนาแน่นเรือนยอดของพืชพรรณด้วยการวิเคราะห์การปกคลุมเรือนยอดของพืชพรรณ และ 2) เพื่อติดตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการปกคลุมเรือนยอดของพืชพรรณ โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซทหลายช่วงเวลา สำหรับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติทับลานและระยะกันชนจากอุทยาน 5 กิโลเมตร สำหรับการจำแนกความหนาแน่นเรือนยอดของพืชพรรณด้วยการวิเคราะห์การปกคลุมเรือนยอดของพืชพรรณ เป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างดัชนีพืชพรรณปรับแก้ดินและความหนาแน่นเรือนยอดพืชพรรณ นำมาสร้างเป็นแบบจำลองความหนาแน่นเรือนยอดของพืชพรรณและดิน (Soil Vegetation Canopy Density: SVCD) สามารถจำแนกการปกคลุมเรือนยอดของพืชพรรณออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า พื้นที่ป่าไม้ที่มีความหนาแน่นเรือนยอดต่ำ พื้นที่ป่าไม้ที่มีความหนาแน่นเรือนยอดปานกลาง และพื้นที่ป่าไม้ที่มีความหนาแน่นเรือนยอดสูง โดยพบว่า พื้นที่ศึกษามีเนื้อที่คิดเป็นร้อยละ 15.75 15.84 13.80 และ 54.61 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ เมื่อนำแบบจำลองมาเปรียบเทียบกับข้อมูลภาคสนาม จำนวน 67 ตำแหน่ง พบว่า มีค่าความถูกต้องทั้งหมด 85.07 เปอร์เซ็นต์ และค่า Kappa coefficient เท่ากับ 0.795 จากนั้นนำวิธีการจำแนกความหนาแน่นเรือนยอดในวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่งมาใช้จำแนกภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT-5 TM และ LANDSAT-8 OLI และทำการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงการปกคลุมเรือนยอดของพืชพรรณ จำนวน 3 คู่ปี ด้วยการวิเคราะห์การซ้อนทับข้อมูล โดยมีการจำแนกรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการปกคลุมเรือนยอดของพืชพรรณออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย พื้นที่ป่าที่มีความหนาแน่นเรือนยอดลดลง พื้นที่ป่าที่มีความหนาแน่นเรือนยอดเพิ่มขึ้น และพื้นที่ป่าที่ความหนาแน่นเรือนยอดไม่เปลี่ยนแปลง พบว่า ตลอดช่วงของการศึกษา พื้นที่ศึกษาบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลานและพื้นที่โดยรอบในรัศมี 5 กิโลเมตร มีอัตราการถูกบุกรุกทำลายเฉลี่ย 15.35 ตารางกิโลเมตรต่อปี ส่วนใหญ่บุกรุกเพื่อทำเกษตรกรรม ในส่วนของพื้นที่ป่าที่มีความหนาแน่นเรือนยอดลดลงมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 11.44 ตารางกิโลเมตรต่อปี

Article Details

How to Cite
[1]
มณีโชติ ศ. และ คมกฤต มโนรัตน์ ต. ., “การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซทหลายช่วงเวลาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง การปกคลุมของป่าไม้บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน”, Crma. J., ปี 19, ฉบับที่ 1, น. 76–95, ก.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

IPCC. (2014). Climate Change 2014 Synthesis Report Summary Chapter for Policymakers. p. 31.

R. U. Ayres and J. Walter. (1991). The greenhouse effect: Damages, costs and abatement. Environmental & Resource Economic, Vol 1, pp.237-270.

R. L. Peters and J. D. S. Darling. (2016). The Greenhouse Effect and Nature Reserves. Bioscience, Vol. 35, no. : 11, pp. 707–717.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. (สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.)

J. W. Rouse, R. H. Haas, J. A. Schell, D. W. Deering, and J. C. Harlan. (1974). Monitoring the vernal advancement and retrogration (Green Wave Effect) of natural vegetation. [Online]. Available: https://ntrs.nasa.gov/search.jsp?R=19740008955.

A. R. Huete. (1988). A soil-adjusted vegetation index (SAVI). Remote Sensing of Environment. Vol. 25, no. : 3, pp. 295–309.

A. R. Huete, C. Justice, and W. van Leeuwen. (1999). MODIS Vegetation Index (MOD13) Algorithm Theoretical Basis Document. [Online]. Available: http://modis.gsfc.nasa.gov/data/atbd/atbd_mod13.pdf.

A. Rikimaru, S. Miyatake, and P. Dugan. (1999). Sky is the limit for forest management tool. ITTO Tropical Forest Update. Vol. 9/3., pp. 6–9.

A. Rikimaru, P. S. Roy, and S. Miyatake. (2002). Tropical forest cover density mapping. Tropical Ecology. Vol. 43(1), no. : June, pp. 39–47.

G. Chander and B. Markham, (2003). Revised Landsat-5 TM Radiometrie Calibration Procedures and Postcalibration Dynamic Ranges. IEEE Transactions on Geoscience and Remote Sensing, Vol. 41, no. : 11 PART II, pp. 2674–2677.

USGS. (2016). Landsat 8 (L8) Data Users Handbook Version 2.0. [Online]. Available: https://prd-wret.s3-us-west2.

amazonaws.com/assets/palladium/

production/atoms/%0Afiles/LSDS1574_L8_Data_Users_Handbook_v4.0.pdf%0A.

A. Rikimaru and S. Miyatake. (1997). Development of Forest Canopy Density Mapping and Monitoring Model using Indices of Vegetation. Bare soil and Shadow. [Online]. Available:

http%5C%5Cwww.gisdevelopment.net/aars/acrs/1997/ts5/index.shtm%0Al

R. G. Congalton and K. Green. (1999). Assessing the accuracy of remotely sensed data : principles and practices. Boca Raton. FL: Lewis Publishers. pp. 137.

J. R. Landis and G. G. Koch. (1977). The measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics, Vol. 33, no. : 1, pp. 159–174.