การศึกษาการใช้เศษพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ผสมกับแอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานทาง

Main Article Content

ร้อยตรี สุทธิชัย เจริญกิจ
พันโท ธนิตเชษฐ์ ดวงโสมา
รองศาสตราจารย์ ดร. สราวุธ จริตงาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณสมบัติด้วยเศษพลาสติกรีไซเคิลประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate: PET) หรือที่พบเห็นได้ในรูปแบบของขวดน้ำดื่มชนิดใส ผู้วิจัยเล็งเห็นความเป็นไปได้ในการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่ปกติแล้วถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของปัญหาขยะไมโครพลาสติก งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการนำแอสฟัลต์คอนกรีตชนิด AC 60 - 70 ผสมกับพลาสติก PET ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน  โดยน้ำหนัก จากนั้นทำการทดสอบการจิ้มด้วยเข็ม การทดสอบจุดอ่อนตัว การทดสอบจุดวาบไฟ การทดสอบการยืดตัว เพื่อทราบค่าคุณสมบัติเบื้องต้น จากนั้นผู้วิจัยจึงทำการทดสอบการรับกำลังและการใช้งานโดยการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธีมาร์แชล ซึ่งผลการทดสอบแสดงทำให้ทราบ ค่าเสถียรภาพมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2,133 lbs. เป็น 2,824 lbs.  เมื่อเพิ่มส่วนผสม PET ที่อัตราส่วน ร้อยละ 10 (เสถียรภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.40) ค่าคุณสมบัติดัชนีมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานเมื่อผสมกับเศษพลาสติกในอัตราส่วนที่เหมาะสม กล่าวคือจากการศึกษาทำให้ทราบว่าการใช้เศษพลาสติก PET ผสมกับแอสฟัลต์สามารถปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของ แอสฟัลต์คอนกรีตได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถพัฒนาให้มีความเหมาะสมสำหรับใช้งานก่อสร้างทางและส่งผลดีต่อการจัดการปัญหาขยะพลาสติก

Article Details

How to Cite
[1]
เจริญกิจ ส., ดวงโสมา ธ., และ จริตงาม ส. ., “การศึกษาการใช้เศษพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ผสมกับแอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานทาง”, Crma. J., ปี 19, ฉบับที่ 1, น. 96–110, ก.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

สุทธิชัย เจริญกิจ ธนิตเชษฐ์ ดวงโสมา และ สราวุธ จริตงาม. (2563). การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณสมบัติด้วยพลาสติกรีไซเคิล. ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

กัลยา ตันติยาสวัสดิกุล. (2553). การแปลงรูปวัสดุขยะขวดน้ำดื่มพลาสติกเพื่อใช้ในงานออกแบบที่กรองแสงลานจอดรถ. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม การผังเมือง ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 2010 หน้า 159-172. มหาวิทยาลัยธรรศาสตร์

รัชพล พฤฒิพฤกษ์ ก่อโชค จันทวรางกูร และ วีระเกษตร สวนผกา. (2563). การศึกษาการใช้เศษพลาสติกเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติดินซีเมนต์. การประชุมทางวิชาการครั้งที่ 59 KU Annual Conference.

พิชัย ธานีรณานนท์. (2535). วิธีการทดสอบวัสดุแอสฟัลต์. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .

ชยธันว์ พรหมศร. (2541). การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของยางแอสฟัลต์และวัสดุผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยสารโพลิเมอร์. สำนักวิจัยและพัฒนางานทางกรมทาง หลวง. รายงานฉบับที่ วพ. ๒๐๔.

ปรเมษฐ หอมหวน. (2560). การปรับปรุงคุณสมบัติของเเอสฟัลต์คอนกรีตด้วยน้ำยางพาราธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมัย โชติกุล สันติภาพ ศิริยงค สิทธิชัย ศิริพันธ์และ บุญชัย แสงเพชรงาม. (2557). การออกแบบและพัฒนาวิธีการคาดคะเนความต้านทานการลื่นไถลของพื้นผิวทางแอสฟัลต์ด้วยคุณลักษณะของมวลรวม. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙. วันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤษภาคม 2557 จังหวัดขอนแก่น. ประเทศไทย.

วัชรินทร์ วิทยกุล. (2559). เทคโนโลยียางมะตอย. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เวชสวรรค์ หล้ากาศ. (2561). การใช้ขยะถุงพลาสติกเพิ่มความเสถียรภาพให้กับถนนยางพารา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. ประเทศไทย.

นพวิชญ์ อาจสด, กันต์ธร ประทีป ณ ถลาง, ศุภฤกษ์ รู้เกณฑ์, แทนไท ข่อยแก้ว, กฤตวัฒน์ โสภาจันทร์. (2563). การศึกษาคุณสมบัติแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณสมบัติด้วยพลาสติกโพลิโพรพิลีน. ปริญญานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศกรรมโยธา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

Johnson Kwabena Appiaha, Victor Nana Berko-Boatenga, Trinity Ama Tagborb. (2017). Use of waste plastic materials for road construction in Ghana. Case Studies in Construction Materials 6 (2017) 1–7. Department Chemistry, Kwame Nkrumah University of Science and Technology.

Seyed NaserMoghaddas Tafreshi, MiladParvizi Omran, MohammadyarRahimi, AndrewDawson. Experimental investigation of the behavior of soil reinforced with waste plastic bottles under cyclic loads. Transportation Geotechnics Volume 26, January 2021,100455. https://doi.org/10.1016/j.trgeo.2020.100455