การประเมินก๊าซเรือนกระจกระดับเมืองและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กรณีศึกษาเทศบาลตำบลภาชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับเมืองของเทศบาลตำบลภาชี และพยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง ซึ่งพิจารณาตามแนวทางคู่มือการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก จากการศึกษาปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับเมืองในปี พ.ศ.2563 พบว่า เทศบาลตำบลภาชีมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ เท่ากับ 24,557.51 tCO2eq ในการดำเนินการพยากรณ์ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตปีพ.ศ. 2573 เท่ากับ 26,788.54 tCO2eq โดยกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องทำการลดให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี พ.ศ. 2563 (ปีฐาน) จากผลการประเมินมาตรการและแนวทางเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายของแนวทางและเทคโนโลยีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 5 มาตรการและแนวทาง พบว่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายของโครงการในปี พ.ศ.2573 ได้แก่ การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 1 kWp จะมีค่าเท่ากับ -2,362.26 tCO2eq การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 5 kWp จะมีค่าเท่ากับ –1,566.57 tCO2eq การเปลี่ยนหลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์ T8 เป็นหลอดไฟ LED จะมีค่าเท่ากับ -120.65 tCO2eq การผลิตแท่งเชื้อเพลิงขยะ RDF จะมีค่าเท่ากับ -1,250.45 tCO2eq และการบริหารจัดการน้ำใน นาข้าวเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ผลการประเมินต้นทุนหน่วยสุดท้ายความเหมาะสมแก่การลงทุนของแต่ละเทคโนโลยี โดยการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 1 kWp สามารถสร้างผลกำไรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในเวลาเดียวกัน รองมาคือ การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 5 kWp การผลิตแท่งเชื้อเพลิงขยะ RDF การเปลี่ยนหลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์ T8 เป็นหลอดไฟ LED และการบริหารจัดการน้ำในนาข้าวเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน ตามลำดับ
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2554. แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.
รัตนาวรรณ มั่งคั่ง, แชบเบียร์ กีวาลา, งามทิพย์ ภู่วโดม, สิรินทรเทพ เต้าประยูร, 2554. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าว. วิศวกรรมสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ฉบับที่ 75 ปีที่ 24 มกราคม - มีนาคม หน้า 53-60.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554. รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร.
องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน), 2562. คู่มือการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก.
องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2564. คู่มือการจัดทำข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง [Online] http://conference.tgo.or.th/download/tgo_or_th/ccf/TGO_CCF_Ebook_V.Sep2559.pdf.
IPCC 2006, 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories, Prepared by the National Greenhouse Gas Inventories Programme, Eggleston H.S., Buendia L., Miwa K., Ngara T., and Tanabe K. (eds). Published: IGES, Japan.
กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. 2562. สถานการณ์และพลังงานประเทศไทย เดือนมกราคม-สิงหาคม. [Online] https://www.dede.go.th/download/stat62/frontpage_jan_aug62.pdf
Saroj Ruangsakulrj. 2019. Greenhouse Gas Inventory Report (ISO 14064-1). [Online] https://www.deltathailand.com/en/
pdf/sustainable/greenhouse/DELTA_GreenGasReport_en2018.pdf
พรรณทิพย์ แตงอ่อน, 2557. การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน กรณีศึกษาโรงงานสหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.สงขลา. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พุทธดี อุบลศุข, ฉัตรแก้ว ชัยลือชา, สุรัตน์ เศษโพธิ์, 2563.การศึกษาและประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกระบวนการกำจัดซากแผงโซลาร์เซลล์: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2: หน้า 12-23.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2560.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560. [Online] https://www.parliament.go.th/library
องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน), 2562. ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ. [Online] http:// ghgreduction.tgo.or.th/tver-method/tver-methodology-for-voluntary-greenhouse-gas-reduction.html
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, 2564. ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี [Online] :http//oemmndcbldboiebfnladdacbdfmadadm/https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/GENERAL
/DATA0000/00000362.PDF
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2558. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015). กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, 2562. คู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 67(4),” สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. กรุงเทพฯ.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2560. แผนจัดการมลพิษ พ.ศ.2560-2564, กรุงเทพฯ.
ดวงนภา วินิชสรรพ์และ บัญชา ขวัญยืน, 2557. การบริหารจัดการน้ำในนาข้าวเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน. วารสารวิศวกรรมฉบับวิจัยและพัฒนา. ปีที่ 25 ฉบับที่ 1. มกราคม-มีนาคม. หน้า 59-69.
ชนนิกานต์ คำยันต์, 2560. การประเมินและการพยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเทศบาลคาร์บอนต่ำ. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร, 2559. รายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง. ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.