การศึกษาความต้องการอาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศเพื่อสำรองสงคราม โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ร่วมกับการวางแผนความต้องการวัสดุ

Main Article Content

เกียรติกุลไชย จิตต์เอื้อ

บทคัดย่อ

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันได้บ่งชี้ถึงการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศและการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์รวมถึงการสะสมอาวุธทางทหารในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก อาจส่งผลถึงความขัดแย้งหรือการสงครามระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นกองทัพหรือหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการสำรองอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้ใช้ในภาวะสงครามจำนวนหนึ่งเพื่อให้เพียงพอต่อการทำการรบเมื่อมีภาวะสงครามเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตามนโยบายที่กองทัพหรือรัฐได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ กองทัพต่าง ๆ ต้องมีจำนวนอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เพียงพอในภารกิจการฝึกในภาวะปกติด้วย ดังนั้นหากคลังอาวุธสำรองสงครามอยู่ในระดับต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศนั้น ๆ ได้ บทความวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายศึกษาความต้องการของอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารเพื่อให้ได้ระดับคงคลังของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เพียงพอต่อสงครามในระยะเริ่มแรก ซึ่งบทความวิจัยนี้ได้ตั้งสถานการณ์สมมติเพื่อศึกษาความต้องการของอาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศ โดยได้เสนอแนวทางการกำหนดแผนในการจัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศในอนาคตเพื่อให้เพียงพอต่อการสำรองในภาวะสงครามและรวมถึงการใช้ในภารกิจการฝึกในภาวะปกติ บทความวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยากรณ์ร่วมกับทฤษฎีการวางแผนความต้องการวัสดุ โดยได้จำลองข้อมูลที่ใช้เพื่อการพยากรณ์ขึ้นมาเพื่อนำมาทดสอบการใช้ทฤษฎีดังกล่าว การวิจัยได้ผลว่าตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์ความต้องการอาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศ คือ วิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่าย และได้นำค่าการพยากรณ์ที่ได้ไปจัดทำตารางแผนการจัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศเพื่อแสดงระยะเวลาที่มีอาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศเพียงพอกับคลังสำรองสงครามรวมถึงสามารถนำไปใช้ในภารกิจการฝึกได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อคลังสำรองสงครามที่กำหนด ซึ่งเหล่าทัพหรือกองทัพไทยสามารถนำรูปแบบของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่นำเสนอไปปรับใช้ในการวางแผนการจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
[1]
จิตต์เอื้อ เ., “การศึกษาความต้องการอาวุธปล่อยนำวิถีจากพื้นสู่อากาศเพื่อสำรองสงคราม โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ร่วมกับการวางแผนความต้องการวัสดุ ”, Crma. J., ปี 18, ฉบับที่ 1, น. 1–14, ต.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน), 2558. บทบาทของเทคโนโลยีในการป้องกันประเทศ 1 [Online] http://www.dti.or.th/download/file/710ff4eb.pdf

พลตรี ยุทธนาสินธุ์ ศรีนุรัตน์เดชา, 2557. ยุทธศาสตร์ทหาร & ยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 1: 10.

บดินทร์ สันทัด, 2560. การประยุกต์แนวคิดการแข่งขันสะสมอาวุธของ Samuel Huntington เพื่อวิเคราะห์ความมั่นคงระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 1: 18.

Adelaida Salikha, 2018. Latest: Southeast Asian Countries’ Military Expenditure [Online] https://seasia.co/2018/05/04/latest-southeast-asian-countries-military-expenditure

สมกมล เติมวิวัฒน์, ดร.พัด ลวางกูล, ดร.สุขุมรัฎฐ์ สาริบุตร, และ ดร.มานวิภา อินทรทัต, 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องบินรบสมรรถนะสูง กริพเพน ยาส-39 ซี/ดี ของกองทัพอากาศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2: 30.

U.S. Department of Defence, 2018. Management of Army and Marine Corps Prepositioned Stocks in U.S. European Command, Report Number DODIG-2018-152. Virginia: Department of Defence [Online] https://media.defense.gov/2018/Sep/20/2002043032/-1/-1/1/DODIG-2018-152.PDF

Robert J. Lieberman, 1994. U.S. Army, Europe Pre-Positioning Requirements for War Reserve Material, Report Number 94-189. Virginia: Department of Defence [Online] https://media.defense.gov/1994/Sep/12/2001714994/-1/-1/1/94-189.pdf

Kenneth J. Girardini, Carlo E. Fan, and Candice Miller, 2011. What Should Be Stocked in War Reserve? A New Method for Allocating Resources. California: Rand Arroyo Center [Online] https://www.rand.org/pubs/research_briefs/RB9624/index1.html

Logistics Management Institute, 1972. Identification of War Reserve Stock. Washington D.C.: Department of Defence [Online] https://apps.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/744712.pdf

Charles L. Sides, 2004. Overcoming the Sustainment Gap in the Marine Corps War Reserve System. Newport: Joint Military Operations Department [Online] https://apps.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/a422730.pdf

รุ่งนภา ศรีประโค, 2557. การลดปริมาณการขาดแคลนสินค้าโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ กรณีศึกษา บริษัทไอเซโล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

กรินทร์ กาญทนานนท์, 2561. การพยากรณ์ทางสถิติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์, 2560. วิธีการการพยากรณ์ความ ต้องการปุ๋ยเคมี กรณีศึกษา สหกรณ์การเกษตรชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 1: 89.

ลักขณา ฤกษ์เกษม, 2558. การการพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำหรับการวางแผนการผลิต: กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 3: 291.

Lewis-Beck, M.S. & Rice, T., 1982. Presidential Popularity and Presidential Vote. Public Opinion. 4: 53.

สุพล ดุรงค์วัฒนา, 2537. การพยากรณ์ทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.