ความสัมพันธ์ระหว่างค่าสีของกระดาษเคลือบสารโคบอลต์คลอไรด์กับปริมาณความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือก โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษเคลือบสารโคบอลต์คลอไรด์ และศึกษาถึงระยะเวลาการวัด (During time) ที่เหมาะสม โดยนำกระดาษ 100 ปอนด์ แช่ในสารละลายสารโคบอลต์ (II) คลอไรด์ (CoCl2·6H2O) และ เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) อัตราส่วน 1 : 4 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากนั้นอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นำข้าวเปลือกและกระดาษเคลือบสารโคบอลต์คลอไรด์บรรจุในโหลแก้ว โดยให้มีช่องว่างอากาศ (Head space) ในขวด 50% ปิดฝาเป็นเวลา 30, 45 และ 60 นาที ผลการทดลองวัดการเปลี่ยนแปลงค่าสีของกระดาษเคลือบสารโคบอลต์คลอไรด์ ในข้าวเปลือกที่มีความชื้น 10-24%w.b. พบว่า กระดาษจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีจากฟ้าเป็นชมพูเมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น และเมื่อประเมินในระบบ CIE พบว่า เมื่อความชื้นของข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น ค่า L* มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ค่า a* และค่า b* มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน การหาค่าความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือกจากการวัดความชื้นสัมพัทธ์ของช่องว่างอากาศในโหลแก้วนั้น ปริมาณความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกจะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในช่องอากาศมีเปลี่ยนแปลง จากการทดลองพบว่า ควรเก็บข้าวเปลือกในโหลแก้วนานอย่างน้อย 45 นาที จึงจะเพียงพอให้ปริมาณความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกกระจายตัวจนกระทั่งความชื้นสัมพัทธ์ในช่องอากาศต่าง ๆ เกิดสมดุล
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2559, แหล่งที่มา : www.thairiceexporters.or.th, 10 กรกฎาคม 2561.
มูลนิธิชัยพัฒนา, ม.ป.ป., ข้าว, แหล่งที่มา : http://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/tips/40-3.html, 10 กรกฎาคม 2561.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2555, นโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว : เพิ่มราคาเพิ่มคุณภาพข้าว, แหล่งที่มา : http://prp.trf.or.th/trf-policy-brief/นโยบายส่งเสริมเทคโนโลย/, 10 กรกฎาคม 2561.
จุฑามาส จงศิริ, 2556, การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว, สำนักงานวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, แหล่งที่มา : http://actech.agritech.doae. go.th/techno/other/Harvest.pdf, 10 กรกฎาคม 2561.
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์, 2540, การอบแห้งเมล็ดพืชและอาหารบางประเภท, พิมพ์ครั้งที่ 7, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 338 หน้า.
วิบูลย์ เทเพนทร์ การวัดความชื้นเมล็ดพืช วิศวกรรมการเกษตร 8 วช. หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, แหล่งที่มา : http://www.doa.go.th/aerix /files/research/vb_moisture_measure.pdf, 10 กรกฎาคม 2561.
Reid, M. and Thompson, J., 2017, Inventing a Low-Cost Solution to Reduce Moldy Foods: ‘DryCard’ Takes the Guesswork Out of Drying, แหล่งที่มา : https://news.plantsciences.ucdavis. edu/2017/04/03/inventing-a-low-cost-solution-to-reduce-moldy-foods-drycard-takes-the-guesswork-out-of-drying/, 10 กรกฎาคม 2561.
Akunda, E. M. W. and Kumar D., 1981, A Simple Technique for Timing Irrigation in Coffee Using Cobalt Chloride Paper Disks, Irrigation Science, Vol 3(1), pp. 57–62.
Stewart, W. J., Johansen, J. L., and Liao, J. C., 2017, A Non-toxic Dose of Cobalt Chloride Blocks Hair Cells of The Zebrafish Lateral Line, Hearing Research, Vol 350, pp. 17-21.
Laksana, K., Sooampon, S., Pavasant, P. and Sriarj, W., 2017, Cobalt Chloride Enhances the Stemness of Human Dental Pulp Cells, Journal of Endodontics, Vol 43(5), pp. 760-765.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, 2558, ทำไมชาวนายากจน? แหล่งที่มา : https://www.posttoday.com/social /think/407222, 10 กรกฎาคม 2561.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559. แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564), กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จวงจันทร์ ดวงพัตรา, 2529, การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์, ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 194 หน้า.
Sadaka, S. and Bautista, R. Grain Drying Tools: Equilibrium Moisture Content Tables and Psychrometric Charts. University of Arkansas, Little Rock, Arkansas, USA., FSA1074.
Rice knowledge bank , แหล่งที่มา : http://www.kno wledgebank.irri.org/step-by-step-production/ postharvest/drying/drying-basics/how-to-determine-the-emc, 10 กรกฎาคม 2561.
Korotcenkov, G., 2018, “Moisture Indicators”, In Handbook of Humidity Measurement, Volume 1: Spectroscopic Methods of Humidity Measurement.; CRC Press: Boca Raton, pp. 203-206.
Davis, U. C., 2017, Feed the future innovation lab for horticulture, แหล่งที่มา : https://horticulture.ucdavis.edu/drycard, 10 กรกฎาคม 2561.
Zambrano, M.V., Dutta, B., Mercer, D.G., MacLean, H.L. and Touchie, M.F., 2019, Assessment of moisture content measurement methods of dried food products in small-scale operations in developing countries: A review, Trends in Food Science & Technology, Vol 88, pp. 484–496.