การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาสอบแบบอัตนัยของกองทัพอากาศ

Main Article Content

อนุรักษ์ โชติดิลก

บทคัดย่อ

การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาสอบแบบอัตนัยของกองทัพอากาศ เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนา(R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ปัญหาสอบแบบอัตนัยโดยสามารถให้ประมวลผลและดูผลได้บนโทรศัพท์มือถือ และ (2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ปัญหาสอบแบบอัตนัย การพัฒนาเครื่องมือมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์ระบบงานเดิมและความต้องการของผู้ใช้งาน จากหน่วยงานเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ และโรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส (2) ออกแบบระบบเพื่อรองรับการใช้งาน ทั้งในส่วนรับข้อมูล ส่วนประมวลผล และ ส่วนแสดงผล (3) พัฒนาเครื่องมือ เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลและแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือได้ และ (4) ทดสอบการใช้งาน ทั้งในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง โดย สุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานตามความสมัครใจ จำนวน 7 คน จาก 3 สถาบันการศึกษาของกองทัพอากาศ
การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาสอบแบบอัตนัยของกองทัพอากาศ ทำให้ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของกองทัพอากาศ เกิดความตระหนักในกระบวนการพัฒนาคุณภาพปัญหาสอบที่ครบถ้วน โดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัญหาสอบภายหลังการสอบ กระบวนการดังกล่าวยังไม่เคยถูกนำมาใช้ในกองทัพอากาศ เนื่องจากบุคลากรทางการศึกษายังขาดความรู้ ความเข้าใจ และเห็นว่ามีความยุ่งยากและใช้เวลามาก โดยเฉพาะขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้ใช้งานที่ถูกสุ่มเป็นตัวอย่างเห็นว่าการเข้าถึงเครื่องมือ ความง่ายในการดูผลข้อมูล ความครบถ้วนของค่าสถิติที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ และความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ อยู่ในระดับมากที่สุด (>4.50) ส่วนความง่ายต่อการป้อนข้อมูล และความสะดวกในการนำผลการวิเคราะห์ข้อสอบพิมพ์ประกอบรายงาน เห็นว่าอยู่ในระดับมาก (3.50<≤4.50)

Article Details

How to Cite
[1]
โชติดิลก อ., “การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาสอบแบบอัตนัยของกองทัพอากาศ”, Crma. J., ปี 17, ฉบับที่ 1, น. 61–74, ต.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

วิภาดา คูณขุนทด. (20 มิถุนายน 2561). ผู้อำนวยการกองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. สัมภาษณ์.

รัจนา เครือแก้ว. (21มิถุนายน 2561). ศาสตราจารย์กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. สัมภาษณ์.

วงศ์ลดา วรธงไชย (25 มิถุนายน 2561). หัวหน้ากองวิเคราะห์และประเมินผล โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. สัมภาษณ์.

อนุรักษ์ โชติดิลก, เทวา กาญจนชม, พงค์เทพ จันทน์เสนะ, 2560. การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อประกันคุณภาพข้อสอบของโรงเรียนนายเรืออากาศ . วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, 4(4): 20-25.

Bloom,G.S.,et al., 1956. Taxonomy of Educational Objectives Handbook I: Cognitive Domain. New York: Longmans, Inc.

อนุรักษ์ โชติดิลก, 2560. การพัฒนาการออกข้อสอบอัตนัยของกองทัพไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 6(11): 30-42.

ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์.(2561). Excel Statistics Analysis. กรุงเทพฯ: อินโฟรเพลส.

นภา หลิมรัตน์. (2551). แหล่งข้อมูลด้านแพทย์ศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[Online] http://www.teachingresources.psu.ac.th/document/2551/limrat/9Item%20Analysis.pdf

Whitney D.R. and Sabers D.L. (1970). Improving Essay Examinations III, Use of Item Analysis, Technical Bulletin II, (Mimeographed). Iowa City: University Evaluation and Examination Service.

บุญชม ศรีสะอาด, 2561. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอื่นนอกเหนือจากแบบเลือกตอบ[Online] http://www.watpon.in.th/boonchom/itemanalysis.pdf

Thorndike RL. and Hagen EP., 1977. Measurement and Evaluation in Psychology and Education. 4thed. NewYork: John Wiley and Sons.

อุทุมพร จามรมาน, 2530. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิซชิ่ง.

อนุรักษ์ โชติดิลก, เทวา กาญจนชม และ พงค์เทพ จันทน์เสนะ, 2560. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมประเมินผลการศึกษาของกองทัพอากาศ (RTAF-EEP). วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, 13(13): 7-18.