การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุบนอุปกรณ์ชนิดพกพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุและประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น โดยมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุสามารถใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนช่วยอ่านข้อความการรับประทานยาจากฉลากยาภาษาไทยได้ การประเมินด้านความถูกต้องของแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นโดยการทดสอบกับข้อมูลทดสอบ 7 ชุดตัวอักษรที่ต่างกัน แอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุบนอุปกรณ์ชนิดพกพามีค่าความถูกต้องมากกว่า 70% และมีค่าความถูกต้องสูงสุดเท่ากับ 92% จากตัวอักษร TH SarabunPSK การประเมินประสิทธิภาพด้วยทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.32 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าแอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุบนอุปกรณ์ชนิดพกพาสามารถนำไปเผยแพร่ได้ในระดับมาก จากนั้นนำแอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุบนอุปกรณ์ชนิดพกพาไปเผยแพร่ให้แก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดอ่างทอง โดยแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพด้วยทฤษฎีการยอมรับการใช้แอปพลิเคชัน พบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงอายุยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุบนอุปกรณ์ชนิดพกพาสามารถนำไปเผยแพร่ได้ในระดับมากที่สุด และประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น พบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 แสดงว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูงอายุบนอุปกรณ์ชนิดพกพาในระดับมากที่สุด กล่าวได้ว่า แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นช่วยในการอ่านข้อความภาษาไทยให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. บริษัทเท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
ปิยาณี ณ นคร, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และประนอม รอดคำดี. 2549. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลรามา. 7: 32-42.
ไพศาล สุธีบรรเจิด, 2555. การรู้จำตัวอักษรภาษาไทยสำหรับระบบรู้จำป้ายทะเบียน. การประชุมวิชากรการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรม ECTI-CARD ครั้งที่ 4.
ณัฐธิดา ลีสม และโอฬาริก สุรินต๊ะ, 2550. การตัดตัวอักษรลายมือเขียนภาษาไทยออกจากเอกสารภาพเชิงดิจิทัล. การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 3.
วนิดา แซ่ตั้ง และศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์, 2558. การรู้จำหมายเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลสำหรับผู้พิการทางสายตา. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 8. 199-204.
พรศิริ ภวภูตญาณชัย และไกรศักดิ์ เกษร, 2558. การเพิ่มประสิทธิภาพระบบรู้จำตัวอักษรด้วยแสงภาษาไทยโดยใช้เทคนิค TF-IDF และผลต่างของตำแหน่งตัวอักษร. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 8. 418-424.
ราตรี นันทสุคนธ์, 2554. การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุดทอง จำกัด.
สุมิตรา นวลมีศรี, ปรีดาวรรณ เกษเมธีการุณ และลาภ พุ่มหิรัญ, 2559. การเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยด้วยระบบสื่อเสมือนจริง. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 14 : 35-46.
ปรัชญา อารีกุล และไพศาล จี้ฟู, 2558. แนวทางการพัฒนาระบบข่าวกรองทางทหารเพื่อหากองกำลังข้าศึกในเขตป่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 13 : 9-25.
ธีรพล สืบชมภู และกุลธิดา ท้วมสุข, 2559). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงสามมิติเครื่องดินเผาชิ้นเอกบ้านเชียง. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 14 : 49-61.
KR. Castleman, Digital Image Processing. 1996. New Jersey : Prentice-Hall.
N. Eua-Anant, 2007. Digital Image Fundamentals [Online] http://gear.kku.ac.th/~nawapak.
Wikipedia, 2007. Digital image processing [Online] http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_im age_processing.
Chamchong R. and O Surinta, 2007. Text Line Segmentation from Palm Leaf Manuscripts. The 3rd National Conference on Computing and Information Technology.
H. Farid, 2007. Fundamentals of Image Processing [Online] http://www.cs.dartmouth.edu/~farid.
N. Otsu, 1997. A threshold selection method from gray-level. IEEE Transactions on Systems, Man and Cybernetics.
R. Fisher, S. Perkins, A. Walker, and E. Wolfart, 2007. Erosion [Online] http://homepages.inf.ed.ac.uk/rbf/HIP R2/erode.htm.
IT. Young, JJ. Gerbrands, and LJv. Vliet, 2007. Morphology-based Operations [Online] http://www. ph.tn.tudelft.nl/Courses/FIP/noframes/fip-Morpholo.Html#Heading96.
Z. Shi, S. Setlur, and V. Govindaraju, 2004. Digital Enhancement of Palm Leaf Manuscript Images using Normalization Techniques. The 5th International Conference on Knowledge Based Computer Systems. Hyderabad, India.
Z. Shi and V. Govindaraju, 2005. Historical Document Image Segmentation Using Background Light Intensity Normalization. The 12th SPIE Document Recognition and Retrieval. California, USA.
E. Roger, 1995. Diffusion of Innovations. Free Press. New York.
S. Chaveesuk and S. Jaturapa, 2012. Theory of acceptance and use of technology. KMITL Information Technology Journal, 1 : 1-21.
R. Juntanasub and N. Sureerattanan, 2005. Car license plate recognition through Hausdorff distance technique. IEEE International Conference on Tools with Artificial Intelligence.
A. Leelasantitham and S. Kiattisin, 2010. A position-varied plate utilized for a Thai license plate recognition. Proceedings of SICE Annual Conference.
D. Renuka Devi and D. Kanagapushpavalli, 2011. Automatic License Plate Recognition. in proc. Of 3rd International Conference on Trendz in Information Science and Computing (TISC).
J. Martínez-Carballido, R. Alfonso-López, and J.M. Ramírez-Cortés, 2011. License plate digit recognition using 7×5 binary templates at an outdoor parking lot entrance. 21st Electrical Communications and Computers (CONIELECOMP).
J. Martínez-Carballido, R. Alfonso-López, and J.M. Ramírez-Cortés, 2013. Arabic Reading Machine for Visually Impaired People Using TTS and OCR. The 4th International Conference on Intelligent Systems Modelling & Simulation.
G. C. Moore and I. Benbasat, 1991. Development of an Instrument to Measure the Perception of Adopting an Information Technology Innovation. Information Systems Research. 2 : 192-222.
V. Venkatesh, M. Morris, and G. B. Davis, 2003. User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly. 27 : 425-478.
S. Malhar, M. Gosavi, P. Lad, 2017. Android Optical Character Recognition. Imperial Journal of Interdisciplinary Research. 3 : 788-791.