การอบแห้งข้าวสารชุบสีสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองข้าวชุบสีสมุนไพรอบแห้งด้วยคลื่นไมโครเวฟ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวสารและเพิ่มความหลากหลายแก่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว เนื่องจากประเทศไทยมีการทำอาชีพเกษตรกรเพาะปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งคนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักและผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมสมุนไพรซึ่งมีคุณประโยชน์และเกี่ยวข้องกับคนไทยมาช้านานซึ่งข้าวชุบสีสมุนไพรจะเป็นทางเลือกอีกหนึ่งทางให้แก่ผู้บริโภค ในการทดลองทำข้าวชุบสีสมุนไพรได้ใช้สีสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด คือ สีขมิ้นชัน สีกระเจี๊ยบ และสีอัญชัน โดยการนำข้าวสารจุ่มลงในน้ำสีสมุนไพรและการแช่ในน้ำสีสมุนไพรใช้เวลา 1, 3 และ 5 min ข้าวสารที่ผ่านการชุบสีสมุนไพรมีความชื้นเปลี่ยนไปอยู่ในช่วงระหว่าง 18-22 %wb แล้วทำการอบแห้งด้วยเตาอบไมโครเวฟเพื่อลดความชื้นข้าวสารที่ผ่านการชุบสีสมุนไพร อบแห้งโดยใช้กำลังไมโครเวฟที่ 80, 240 และที่กำลัง 400 W ใช้เวลาการอบแห้ง 10, 6 และ 5 min ตามลำดับ เมื่อผ่านการอบแห้งที่กำลังไมโครเวฟ 80 W ความชื้นสุดท้ายของข้าวชุบสีสมุนไพรหลังการอบอยู่ในช่วง 9-13 %wb อบที่กำลังไมโครเวฟ 240 W ความชื้นสุดท้ายของข้าวชุบสีสมุนไพรหลังการอบอยู่ในช่วง 7-11 %wb อบที่กำลังไมโครเวฟ 400 W ความชื้นสุดท้ายของข้าวชุบสีสมุนไพรหลังการอบอยู่ในช่วง 4-8 %wb สำหรับการหาค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะพบว่าการอบแห้งที่กำลังไมโครเวฟ 80, 240 และ 400 W มีค่า 83.81, 35.67, 35.24 MJ/kg of water evap. ตามลำดับ
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2554. พื้นที่เพาะปลูก ผลผลิต ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ข้าวหอมมะลิ แยกตามพันธุ์ข้าวสำคัญ. ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
กรมวิชาการเกษตร, การวิเคราะห์คุณภาพข้าวหอมมะลิทางเคมี. สถาบันวิจัยข้าว : ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, 2544.
สุขุมภรณ์ พุ่มพวง, 2555. อิทธิพลของสภาวะแช่ในสารละลายสมุนไพรไทย 4 ชนิดต่อคุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องงอก 4 พันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช, 2551. พื้นฐานการทำความร้อนด้วยไมโครเวฟ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์, 2540. การอบแห้งเมล็ดพืชและอาหารบางประเภท. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Tirawanichakul Y. & Tirawanichakul S., 2008. Mathematical model of fixed-bed drying and strategies for crumb rubber producing STR20, Drying Technology.
Mujurmdar, 2000. Drying technology in agriculture and food sciences. Science Publishers, Inc. Enfield (NH), U.S.A.
สายสนม ประดิษฐ์ดวง, 2543. การให้พลังงานความร้อนด้วยไมโครเวฟและการฉายรังสีอาหาร. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Raghavan, G. S. V., T. J. Rennie, P. S. Sunjka, V. Orsat, W. Phaphuangwittayakul and P. Terdtoon, 2005. Overview of new techniques for drying biological materials with emphasis on energy aspects, Brazilian Journal of Chemical Engineering.
นพวรรณ ดูงาม, ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช และวารุณี กลิ่นไกล, 2549. การอุ่นยางธรรมชาติด้วยคลื่นไมโครเวฟโดยใช้ระบบไมโครเวฟชนิดท่อนำคลื่นรูปทรงสี่เหลี่ยม (MODE: TE10). การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่20. 18-20 ตุลาคม 2549. นครราชสีมา.
สุวิมล เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, ธีรพจน์ เวชพันธุ์, ไชยณรงค์ จักรธรานนท์ และผดุงศักดิ์ รัตนเดโช., 2552. การศึกษากระบวนการทำความร้อนในชั้นวัสดุที่เป็นของเหลว โดยใช้คลื่นไมโครเวฟติดท่อนำคลื่นรูปทรงสี่เหลี่ยม (โหมด TE10) ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบสามมิติ. วารสารทางวิชาการ สภาอาจารย์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 6: 210 - 219.
โศภิดา สังข์สุนทร, ดนุสรณ์ ชาติเชยแดง, วัชรพงศ์ บุญครอง และสมศักดิ์ วงษ์ประดับไชย., 2559. ผลของการใช้ไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศในการอบแห้งสับปะรด (กรณีศึกษา: กำลังไมโครเวฟ). วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14: 159 - 170.