การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT

Main Article Content

ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ
พีรวัฒน์ ปลาเงิน
สมพินิจ เหมืองทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT ในการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เพื่อทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองรวมถึงการสอบเทียบและการตรวจสอบแบบจำลอง โดยทำการจำลองปริมาณน้ำท่ารายเดือน ณ สถานี Kh.53 และ Kh.103 วิเคราะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรและสอบเทียบแบบจำลองในช่วงปี พ.ศ. 2548–พ.ศ. 2553 และทำการตรวจสอบแบบจำลองในช่วง พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำท่ามากที่สุดได้แก่ค่า CN2, SOL_AWC, และ SOL_K ตามลำดับ จากการสอบเทียบและการตรวจสอบแบบจำลองพบว่าแบบจำลอง SWAT ให้ผลการจำลองปริมาณน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจากค่าสถิติทดสอบ R2, NSE, และ PBIAS โดยผลการจำลองน้ำท่า ณ สถานี Kh.53 และ Kh.103 ในช่วงเวลาทั้งหมด (พ.ศ. 2548-พ.ศ. 2556) ให้ค่า R2 = 0.564 และ 0.712, ค่า NSE = 0.562 และ 0.709, ค่า PBIAS = 6.739 และ 5.932 ตามลำดับ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนจัดการลุ่มน้ำห้วยหลวงในอนาคตต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
วุฒิชัยกิจเจริญ ป., ปลาเงิน พ., และ เหมืองทอง ส., “การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT”, Crma. J., ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 145–158, ธ.ค. 2016.
บท
บทความวิจัย

References

Arnold J. G., R. Srinivasan R., Muttiah R. S., and Williams J. R., 1998. Large-area hydrologic modeling and assessment: Part I. Model development. J. American Water Resour. Assoc, 34(1): 73-89.

Neitsch S. L., J. G. Arnold, Kiniry J. R., Srinivasan R., and Williams J. R., 2009. Soil and Water Assessment Tool Input/Output File Documentation, Version 2009. Temple, Tex.: USDA Grassland, Soil and Water Research Laboratory, Blackland Research Center, Texas Agricultural Experiment Station.

Cruise J.F., Limaye A.S., and Al-Abed N., 1999. Assessment of impacts of climate change on water quality in the Southeastern United States, Journal of the American Water Resources Association, 35(6), 1539-1550

Shrestha B., Babel M. S., Maskey S., van Griensven A., Uhlenbrook S., Green A., & Akkharath I, 2013. Impact of climate change on sediment yield in the Mekong River basin: a case study of the Nam Ou basin, Lao PDR. Hydrol. Earth Syst. Sci., 17(1), 1-20.

Babel M.S., Shrestha B.m Perret S.R., 2011. Hydrological impact of biofuel production: A case study of the Khlong Phlo Watershed in Thailand. Agricultural Water Management, 101, 8-26.

โอฬาร เวศอุไร, 2548. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต่อน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบน โดยใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรายุทธ วงษาศรี, 2554. การประเมินปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำพอง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้แบบจำลองSWAT. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาตร์มหาบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ และ เจริญ สารตัน, 2556. การประเมินปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำแม่แจ่มโดยใช้แบบจำลอง SWAT, เอกสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมแหล่งน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 5, บทความที่ 128.

ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ และ นรินทร์ แก้วฟั่น, 2557. การประเมินปริมาณตะกอนแขวนลอยในลุ่มน้ำแม่แจ่มโดยใช้แบบจำลอง SWAT, เอกสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19, บทความที่ 5.

CARD, 2014. SWAT Literature Database for Peer-Reviewed Journal Articles, Center for Agricultural and Rural Development, IOWA State University [Online] https://www.card.iastate.edu/swat_articles/index.aspx

จริยา ฐิติเวศน์ และ พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์, 2556. การประเมินและวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของพื้นที่ศึกษานำร่องในบริบทของจังหวัดต่อสภาพอากาศแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่อจัดทำกรอบการศึกษาด้านการปรับตัวต่อภูมิอากาศแบบบูรณาการเชิงพื้นที่แบบองค์รวม. รายงานการวิจัย ชุดโครงการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ASTER, 2011. Advanced Spaceborne Thermal Emission and Reflection Radiometer (ASTER) Global Digital Elevation Model Version 2 (GDEM V2) [Online] https://asterweb.jpl.nasa.gov/gdem.asp

FAO, 1995. The Digital Soil Map of the World and Derived Soil Properties. CD-ROM, Version 3.5. Rome, Italy.

Arnold J. G., Kiniry J.R., Srinivasan R., Williams J.R., Haney E.B., Neitsch S.L., 2011. Soil and Water Assessment Tool Input/Output File Documentation Version 2009, Texas Water Resources Institute Technical Report No. 365, Texas A&M University System College Station, Texas.

Abbaspour, K. C., 2014. SWAT-CUP 2012: SWAT Calibration and Uncertainty Programs - A User Manual, Eawag: Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology, Switzerland.

Moriasi, D. N., Arnold, J. G., Van Liew, M. W., Bingner, R. L., Harmel, R. D., Veith, T. L., 2007. Model Evaluation Guidelines for Systematic Quantification of Accuracy in Watershed Simulations, Transactions of the American Society of Agricultural and Biological Engineers, ISSN 0001-2351, 50(3), 885-900.

Abbaspour, K. C., Rouholahnejad, E., Vaghefi, S., Srinivasan, R., Yang, H., & Kløve, B., 2015. A continental-scale hydrology and water quality model for Europe: Calibration and uncertainty of a high-resolution large-scale SWAT model. Journal of Hydrology, 524, 733-752.