การศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายา

Main Article Content

สุรัตน์ เลิศล้ำ
พงศ์ธันว์ สำเภาเงิน
สุรพล นาถะพินธุ
ปานใจ ธารทัศนวงศ์
Im Sokrithy

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมลายาคือ เพื่อรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมสมัยโบราณในระเบียงวัฒนธรรมแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกของประเทศไทยและในพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้อง โดยสาเหตุของการเลือกแกนการศึกษาเป็นสองแกนคือ แนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกของประเทศไทยและในพื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้องนั้นเพื่อให้การดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นไปได้อย่างคู่ขนาน ในขณะเดียวกันก็เป็นไปตามจุดประสงค์หลักของการศึกษาวิจัยคือการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเมื่อการดำเนินการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละแกนได้เสร็จสิ้นแล้ว ได้ดำเนินวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมจากทั้งสองแกน ในขณะเดียวกันหัวข้อของการศึกษาวิจัยที่ได้ทำการเลือกเป็นหัวข้อย่อยนั้น ได้เลือกสรรจากหัวข้อที่มีสำคัญต่อเนื่องจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาถนนโบราณจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมายซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเริ่มต้นเป็นหลัก โดยวิธีการดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นการบูรณาการความรู้สาขาต่างๆ ในลักษณะสหวิทยาการ มาใช้ดำเนินการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมในระเบียงวัฒนธรรมแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำผลจากการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนแก่ประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีหัวข้อการดำเนินการศึกษาวิจัยย่อยประกอบด้วย การศึกษาเส้นทางโบราณ การศึกษาความสัมพันธ์ของแหล่งโบราณคดีในภูมิภาค การศึกษาเรื่องโลหกรรมโบราณ และการพัฒนาทางด้านสารสนเทศ


ผลของการศึกษาวิจัยในแต่ละด้านสามารถนำมาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นจากอดีตถึงปัจจุบัน จากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำให้เห็นภาพกว้างของความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคตามแกนระเบียงวัฒนธรรมเหนือ-ใต้ และแกนระเบียงวัฒนธรรมตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งผลการศึกษาในภาพกว้างของการศึกษาวิจัยทำให้เห็นถึงการกระจายตัวของวัฒนธรรมในแต่ละสมัย การพัฒนาการของการคมนาคม ขนส่ง และการอุตสาหกรรมโบราณ ซึ่งเป็นการเปิดหน้าต่างความรู้จากหลักฐานทางวัตถุ

Article Details

How to Cite
[1]
เลิศล้ำ ส., สำเภาเงิน พ., นาถะพินธุ ส., ธารทัศนวงศ์ ป., และ I. Sokrithy, “การศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายา”, Crma. J., ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 109–121, พ.ค. 2013.
บท
บทความวิจัย

References

สุรัตน์ เลิศล้ำ และคณะ, 2548.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาสารสนเทศของถนนโบราณจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมาย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุรัตน์ เลิศล้ำ และคณะ, 2551.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาสารสนเทศของถนนโบราณจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมาย ระยะที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุรัตน์ เลิศล้ำ และคณะ, 2553.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมลายา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุรัตน์ เลิศล้ำ และคณะ, 2556.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีตถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมลายา ระยะที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.