การจัดการความรู้ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางการทหารด้วยเทคนิค CBR:กรณีศึกษาเหตุระเบิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการความรู้ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางการทหารด้วยเทคนิค CBR กรณีศึกษาเหตุระเบิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งสู่การค้นหาใน 2 ประเด็นคือ 1) ระบบสามารถอนุมาน (Inference) ได้ใกล้เคียงกับผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ 2) ระบบสามารถสะสมความรู้และทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ โดยบทความจะนำเสนอในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) กล่าวนำ 2) สภาพปัญหาข่าวกรองทางทหารกองทัพบกไทย 3) การประยุกต์การให้เหตุผลด้วยกรณีศึกษา (Case Based Reasoning) กับงานข่าวกรองด้านการหาตัวกลุ่มผู้ต้องสงสัยในการประกอบระเบิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) ข้อสรุปการจัดการความรู้ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางการทหาร โดยข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาแนวทางในการจัดการความรู้ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางการทหารด้วยเทคนิค CBR กรณีศึกษาเหตุระเบิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ 1) ระบบสามารถอนุมานได้ใกล้เคียงกับผู้เชี่ยวชาญถึง 84.33% 2) ระบบสามารถสะสมความรู้และทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการทดสอบแบบใช้ข้อมูลทดสอบตัวเอง (Self Validation) โดยทดสอบที่ 433 กรณีศึกษา และมีความน่าเชื่อถือที่ 90% ขึ้นไป
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Aamodt, A., & Plaza, E. (1994).Case-based reason-ing: Foundational issues, methodologicalvariations, and system approaches. ArtificialIntelligence Communications, 7(1), 39-59.
Leake, D B. (1996). CBR in context: the present and future. Cambridge, MA: MIT Press.
Pakdeewatanakul, K. (2003). Decision Support System and Expert System. Bangkok: KTP Comp and Consult.
Roth-Berghofer, T. & Stahl, A. (2008).Rapid Prototyping of CBR Applications with the Open Source Tool myCBR. Retrieved June 21, 2011, from http://mycbr-project.net/download-mycbr-2.html
Roth-Berghofer, T. & Stahl, A. (2008). Similarity measures easily modeled myCBR. Retrieved June 25, 2011, from http://mycbr-project.net/download-mycbr-2.html
Zilles, L. (2009). myCBR Tutorial. Retrieved June15, 2011, from http://www.mycbr-project.net/tutorials.html