การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ในการส่งและอุปกรณ์ในการรับข้อมูลดิจิตอลสำหรับวิทยุทางทหารรุ่น AN/PRC-77

Main Article Content

ผเดิม หนังสือ

บทคัดย่อ

โครงการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ในการส่งและอุปกรณ์ในการรับข้อมูลดิจิตอล ส�าหรับวิทยุทางทหารรุ่น AN/PRC-77 เป็นการเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางสองเครื่อง (Machine to Machine) แทนที่การใช้มนุษย์ในการสื่อสาร (Man to Man) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่า ผิดพลาดน้อยกว่า และกระท�าได้อย่างต่อเนื่องเนื่องจากไม่ใช้ก�าลังพลในการท�างาน ส่งผลให้หน่วยต่างๆ ของกองทัพบกซึ่งมีวิทยุทางทหาร AN/PRC-77 ประจำาการ เช่น หมู่ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และเหล่าอื่นๆ สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อปฏิบัติงานในลักษณะ Network-Centric Operation (NCO) โครงการได้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 1 ปี จนได้ผลลัพธ์เป็นอุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับวิทยุรุ่นนี้ โดยสามารถรับ/ส่งข้อมูลในภูมิประเทศจริงได้ระยะสูงสุด 5.9 ก.ม. (เปรียบเทียบกับระยะทางสูงสุดของการรับส่งเสียงของวิทยุคือ 8 ก.ม.) และความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 4800 บิทต่อวินาที ใช้กำลังไฟฟ้า 1 วัตต์จากแบตเตอรีของวิทยุ หรือจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกขนาด 12 โวล์ต บรรจุภายในกล่องโลหะขนาด 16x16x4.5 ซม. โดยมีค่าอะไหล่รวมประมาณ 10,000 บาทต่อเครื่อง และสามารถต่อยอดเพื่อใช้กับวิทยุทางทหารรุ่นอื่นๆ เช่น RT-524 ได้โดยง่าย

Article Details

How to Cite
[1]
หนังสือ ผ., “การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ในการส่งและอุปกรณ์ในการรับข้อมูลดิจิตอลสำหรับวิทยุทางทหารรุ่น AN/PRC-77”, Crma. J., ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 11–19, พ.ค. 2013.
บท
บทความวิจัย

References

Wikimedia Foundation Inc., 2013, AN/PRC-77Portable Transceiver [Online] http://en.wikipedia.org/wiki/AN/PRC-77_Port-able_Transceiver

Wikimedia Foundation Inc., 2013, ManchesterEncoding [Online] http://en.wikipedia.org/wiki/Manchester_code

Wikimedia Foundation Inc., 2013, Filter Design [Online] http://en.wikipedia.org/wiki/Filter_design

Moxa Inc., 2008, Wireless Transmission Distance Computation. [Online] http://www.moxa.com/newsletter/connec-tion/2008/03/Figure_out_transmission_dis-tance_from_wireless_device_specs.htm