การคัดแยกแอคติโนมัยซีตจากดินรังปลวก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อใช้ในการย้อมสีเส้นใยไหม

Authors

  • นฤมล เถื่อนกูล
  • นฤมล หวลระลึก

Keywords:

Actinomycetes, Dye, Silk fiber

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแอคติโนมัยซีตจากดินรังปลวกที่สร้างสารสีโดย   คัดแยกแอคติโนมัยซีตจากดินรังปลวกบริเวณตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ sodium caseinate agar พบแอคติโนมัยซีต จำนวน 97 ไอโซเลต นำมาเพาะเลี้ยงบนปลายข้าวเพื่อให้สร้างสารสี ในสภาวะการหมักแข็ง ใช้เวลา 5-7 วัน     อบให้แห้งและบดให้ละเอียด สกัดสีย้อมโดยใช้เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 70 นำมาย้อมสี   เส้นใยไหมแล้วเทียบกับสีมาตรฐาน R.H.S. Standard Color Chart พบว่าสีย้อมจากแอคติโนมัยซีตจำนวน 14 ไอโซเลต สามารถย้อมติดเส้นใยไหมได้ จำนวน 6 กลุ่มสี คือกลุ่มสีชมพูบานเย็น (a9) กลุ่มสีเหลือง (a12,a16,b15,c8,d11) กลุ่มสีส้ม-โอรส (a19, d3) กลุ่มสีส้ม (b31, a20) กลุ่มสีม่วง (b16,b18) กลุ่มสีแดง-ส้ม (a11, b25) ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแอคติโนมัยซีต ที่ย้อมเส้นใยไหมที่ให้สีเข้มที่สุดจำนวน 6 ไอโซเลตคือ (a9, a11, a19, b15, b16, b31) พบเป็น   แกรมบวก เส้นใยมีผนังกั้น มีการสร้างโคนิเดียจำนวน 4-21 สปอร์บนเส้นใยที่ชูขึ้นในอากาศ

 

The objective of this study was to isolate the actinomycetes from termite mound in order to produce pigments for silk fiber dyeing. The actinomycetes were isolated from soils of termite mound in Sri Satchanalai Sukhothai Province. Sodium Caseinate Agar (SCA) was used as the isolation medium. The isolated actinomycetes was inoculated on broke-milled rice in soid state fermentation for dye production. They were cultured for five to seven days. the inoculated broke-milled rice was dried and extracted with 70% ethanol for silk fiber dyeing. The R.H.S standard colors chat was used to determine the dyes color of silk fiber. Ninety-seven isolates were obtained. The color of silk fiber was able classified into six-groups; the Pink group (a9), the Yellow group (a12,a16,b15,c8,d11) ,the Orange-red group (a19, d3), the Orange group (b31, a20), the Purple group (b16,b18) and the Red group (a11, b25). Morphological investigation based on microscopic characters showed that all six isolates which producing pigment (a9,a11,a19,b15,b16,b31) were gram positive with septate hyphe and  4-21 conidia on aerial mycelia.                                  

Downloads

Published

2017-12-29

How to Cite

เถื่อนกูล น., & หวลระลึก น. (2017). การคัดแยกแอคติโนมัยซีตจากดินรังปลวก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อใช้ในการย้อมสีเส้นใยไหม. PSRU Journal of Science and Technology, 2(3), 1–8. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/99829

Issue

Section

Research Articles