ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Keywords:
ปัจจัยที่ส่งผล, พฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, Factors Affecting, Behavioral of Hand Foot Mouth Disease, Child Development CenterAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรม และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 269 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหา(IOC) และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.787 – 0.950 และแบบทดสอบความรู้มีค่าความยาก(Difficulty) เท่ากับ 0.24 – 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ Multiple Regression Analysis แบบขั้นตอน (stepwise)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก การได้รับทรัพยากรในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก สถานภาพหม้าย ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก การได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และ องค์กรส่วนท้องถิ่น การได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาชีพเกษตรกรรม การศึกษาระดับปริญญาตรี และสถานภาพหย่า ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ได้ร้อยละ 37.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสร้างสมการทำนายดังนี้
(พฤติกรรมการ = (20.512) +0.480 (X19) +0.096 (X21) -4.351 (X3) +0.154 (X20)
ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก) +0.173 (X23) -0.101 (X22) -2.696 (X12) -2.344(X10) -3.514 (X4)
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด