พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Keywords:
พฤติกรรมการลดความอ้วน, น้ำหนักเกินมาตรฐาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, Behavior to Reduce Obesity, Overweight, Pibulsongkram Rajabhat UniversityAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและศึกษาระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมเกี่ยวกับการลดความอ้วนของนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน จำนวน 86 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ตอน คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรม และ 3) พฤติกรรมการลดน้ำหนัก ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า 1) นักศึกษาเพศหญิง (ร้อยละ 66.3) ที่หนักเกินกว่ามาตรฐานมีมากกว่านักศึกษาชาย (ร้อยละ 33.7) 2) สำหรับปัจจัยด้านพฤติกรรม 2.1) ส่วนของปัจจัยนำ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการลดความอ้วนในระดับสูง ค่าเฉลี่ย ( ±S.D.) เท่ากับ 0.77±0.14 มีทัศนคติเกี่ยวกับการลดความอ้วนในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 ± 0.33 2.2) ส่วนของปัจจัยเอื้อ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เฉลี่ยเท่ากับ 3.34±0.51 2.3) ส่วนของปัจจัยเสริม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เฉลี่ยเท่ากับ 0.40±0.153) พฤติกรรมการลดน้ำหนักพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เฉลี่ยเท่ากับ 2.86±0.39 ทั้งนี้พบว่าความรู้เกี่ยวกับการลดความอ้วนเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดความอ้วนระดับปานกลางทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้เกี่ยวกับความอ้วน (r = -0.44, p-value < 0.001) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามรถใช้เป็นพื้นฐานเพื่อวางแผนด้านนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในการลดน้ำหนักของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินต่อไป
Abstract
The purposes of this research were to study the behavior to reduce obesity of the students who are overweight and to examine the correlation of personal, predisposing, enabling and reinforcing regarding reduction ofobesity of the students who are overweight. Eighty-six first year students defined as overweight at Science and Technology, Pibulsongkram Rajabhat University were selected as samples. The research instrument included questionnaire (Cronbach’s Alpha de 0.82) amount 3 sections, namely 1) questionnaire on general data, 2) behavior factors and 3) behavior to reduce obesity. The data analyses were frequency value, percentage, mean, standard deviation and Pearson Correlation. The results revealed that there were more female students (66.3%) described as overweight than male students (33.7%); 2) Behavior factors: 2.1) Predisposing factor, there was high level of knowledge about reducing obesity ( ±S.D., 0.77±0.14), average attitude about reducing obesity was at moderate level with 3.49 ± 0.33, 2.2) Enabling factor, there was moderate level of this factor, averaged 3.34±0.51. 2.3) Reinforcing factor, there was at moderate level, averaging 0.40±0.15. 3) Behavior to reduce obesity, overall behavior was at moderate level with 2.86±0.39. Herein, the knowledge concerning reduction of obesity was the only one factor that had a significant positive relationship with behavior to reduce obesity (r = -0.44, p-value < 0.001). It can use these resultsas basic data for providing the plan and strategy in order to strengthen the health in weight control among overweight students.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด