ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและให้น้ำมัน ของผำ (Wolffia globosa) และเทา (Cladophora sp.)

Authors

  • สุขสมาน สังโยคะ
  • ปาหนัน กุศลมา
  • รัชนีพร สุทธิภาศิลป์

Keywords:

การบำบัดน้ำเสีย, การเพาะเลี้ยง, ผลผลิตชีวมวล, ผำ, เทา,

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งจากศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและอัตราการให้น้ำมันของผำ (Wolffia globosa) และเทา (Cladophora sp.) ภายใต้การทำงานแบบกะ ที่ระยะเวลา 30 วัน โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) น้ำเสีย (ชุดควบคุม)    2) น้ำเสียที่มีการเพาะเลี้ยงผำ 3) น้ำเสียที่มีการเพาะเลี้ยงเทา จากการวิจัยพบว่า ผำและเทาสามารถบำบัดสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียได้ โดยประสิทธิภาพในการบำบัดค่าซีโอดีของน้ำเสียที่เพาะเลี้ยงผำและเทาคิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประสิทธิภาพในการบำบัดค่าบีโอดีของ     น้ำเสียที่เพาะเลี้ยงผำคิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์ และประสิทธิภาพในการบำบัดค่าบีโอดีของน้ำเสียที่เพาะเลี้ยงเทาคิดเป็น 89 เปอร์เซ็นต์ หลังการกักเก็บน้ำเสียที่ระยะเวลา 30 วัน ได้ทำการเก็บเกี่ยวผำและเทาเพื่อวัดอัตราการเจริญเติบโต โดยพบว่าผำและเทามีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ เท่ากับ 1.63 เปอร์เซ็นต์/วัน และ 4.05 เปอร์เซ็นต์/วัน ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้จากผำและเทา พบว่า ผำมีอัตราการให้ปริมาณน้ำมัน เท่ากับ 3.06+1.58 กรัม (w/w) และเทามีอัตราการให้น้ำมัน เท่ากับ 1.51+0.51กรัม (w/w) แสดงให้เห็นว่าผำมีอัตราการให้น้ำมันสูงกว่าเทา เมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติโดยใช้ T-test เปรียบเทียบความแตกต่างของผลผลิตและปริมาณการให้น้ำมันของผำและเทาพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05)

This research examines the potential to treat the wastewater from the cafeteria of the Phibulsongkram Rajabhat University, Phitsanulok province by comparison the efficiency of wastewater treatment and the rate of lipid via Wolffia globosa and Cladophora sp. The experiment was under bench-scale batch experiment with hydraulic retention time of 30 days, three treatments: 1) wastewater from the cafeteria (control) 2) the cafeteria wastewater cultivated with Wolffia globosa and 3) the cafeteria wastewater cultivated with Cladophora sp. The result found Wolffia globosa and Cladophora sp. show ability to reduce COD in the wastewater for 87%. The performance of the Wolffia globosa reduced the BOD in the wastewater for 87%, while Cladophora sp. reduction of BOD in the wastewater for 89%. At the end of the 30 days study, cultures of Wolffia globosa and Cladophora sp. were increased gradually in the first week and the specific growth rates of increase were 1.63 percentage/day and 4.05 percentage/day, respectively.  It was found that the amount of lipid extracted from the Wolffia globosa was 3.06+1.58g (w/w) and the Cladophora sp. was 1.51+0.51g (w/w), Wolffia globosa higher than Cladophora sp. These results indicated that the statistically comparison using T-Test of the yield and lipid extracted of Wolffia globosa and Cladophora sp. were different at the confidence level of 95 percentage (p <0.05).

Downloads

How to Cite

สังโยคะ ส., กุศลมา ป., & สุทธิภาศิลป์ ร. (2016). ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและให้น้ำมัน ของผำ (Wolffia globosa) และเทา (Cladophora sp.). PSRU Journal of Science and Technology, 1(1), 10–52. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/58834

Issue

Section

Research Articles