การศึกษาระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ ทางอากาศของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • จรี กองพล
  • ธันวดี ศรีธาวิรัตน์

Keywords:

มลพิษทางอากาศ, ความรู้, การปฏิบัติ, พิษณุโลก, ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จำนวน 371 คน จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทาโรยามาเน่     ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ผลการศึกษาพบว่าผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับมาก โดยผู้ขับขี่มีความรู้เกี่ยวกับความหมายของมลพิษทางอากาศ (97.04%) อนุภาคสารมลพิษ (82.75%) ฝุ่นละออง (78.44%) เขม่า (76.28%) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (74.39%) ก๊าซมลพิษ (73.58%) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (66.85%) ควันขาว (66.31%) ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มีแนวทางในการปฏิบัติตนจากมลพิษทางอากาศสม่ำเสมอคือเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของรถจักรยานยนต์ (66.04%)หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอยู่เสมอ (74.93%) นำรถจักรยานยนต์เข้ารับการตรวจสภาพด้านมลพิษในท่อไอเสีย ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (54.72%) ศึกษาหาความรู้ในการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ (52.83%) มีส่วนร่วมในการลดมลพิษทางอากาศโดยการปั่นรถจักรยาน (52.56%) ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ (51.48%) และป้องกันหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองสัมผัสกับฝุ่นละอองและควัน (48.25%)

The purpose of this research was to study levels of knowledge and practice in air pollution prevention of motorcycle riders in Phitsanulok by using questionnaires. The survey group was 371motorcyclist calculated by using Taro Yamane formula with 95confidence level.  Results found that the most respondents have high knowledge about air pollution. The respondents know about the definition of air pollutants (97.04%),particle pollutants (82.75%), dust (78.44%), soot (76.28%), respirable dust (74.39 %), pollutant gases (73.58%), carbon monoxide (66.85 %) and white smoke (66.31 %). The most respondents know how to prevent air pollution by regular practices of change motorcycle engine oil (66.04 %), regularly check and maintain engine which recommended by the manufacturer (74.93%), inspect exhaust system which recommended by The Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 (54.72%), learn how to best protect themselves from air pollution (52.83%) help to reduce air pollution by using bicycle (52.56%) participate in campaign on air pollution reduction (51.48%), and protect themselves from dust and smoke (48.25%).

Downloads

How to Cite

กองพล จ., & ศรีธาวิรัตน์ ธ. (2016). การศึกษาระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ ทางอากาศของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก. PSRU Journal of Science and Technology, 1(2), 1–12. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/57740

Issue

Section

Research Articles