การประดิษฐ์ชุดทดสอบกรด-เบสอย่างง่าย โดยใช้รีเอเจนต์สกัดจากใบผีเสื้อราตรี
คำสำคัญ:
กรด-เบส, ชุดตรวจสอบอย่างง่าย, ผีเสื้อราตรีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของสารสกัดจากใบผีเสื้อราตรีในการนำมาสร้างชุดทดสอบค่าความเป็นกรด-เบส ชุดทดสอบนี้ทำขึ้นโดยใช้รีเอเจนต์สกัดดังกล่าวมาดัดแปรบนกระดาษกรอง เบอร์ 1 เพื่อง่ายต่อการทดสอบ โดยตัดกระดาษกรองให้มีขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร ปริมาณ 2 กรัม แล้วแช่ในรีเอเจนต์สกัดปริมาตร 100 มิลลิลิตร เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทำให้แห้งด้วยการตากแห้งในตู้ดูดความชื้นเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เรียกกระดาษกรองดัดแปรนี้ว่า FP-love plant เมื่อนำ PF-love plant มาทดสอบวัดค่าความเป็นกรด-เบส ของสารละลายบัฟเฟอร์ (pH 1-14) พบว่า สีของ FP-love plant มีสีแตกต่างกันอย่างชัดเจนหลังจากปฏิกิริยาเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำ FP-love plant ไปประยุกต์ใช้ทดสอบค่าความเป็นกรด-เบสกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด พบว่า การเปลี่ยนแปลงสีของ FP-love plant มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากเครื่องวัดค่าพีเอช (pH-meter) และกระดาษวัดค่าพีเอช (pH indicator strips) จากงานวิจัยนี้ทำให้เห็นถึงประโยชน์จากการใช้สารกัดจากพืชท้องถิ่นมาสร้างชุดทดสอบค่าความเป็นกรด-เบส ซึ่งมีความง่าย ประหยัด และไม่เป็นอันตรายกับผู้ทดสอบและสิ่งแวดล้อม
References
ธีรารัตน์ ปันอ่วม, สุภาดา คนยัง, และจรูญ จักร์มุณี. (2561). การวิเคราะห์หาปริมาณซัลไฟต์ด้วยระบบโฟลอินเจคชันคัลเลอเมตริกโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(3), 438-448.
น้ำเพชร รักเทศ, เสาวณีย์ แสนยี่, และวรางคณา เขาดี. (2564). การประดิษฐ์ชุดทดสอบกรด-เบสอย่างง่าย โดยใช้รีเอเจนต์สกัดจากพืชท้องถิ่น. ใน การประชุมนเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 17 Resilience for Never Normal Era (น. 89-102). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุหรัน พันธุ์สวรรค์. (2556). อนุมูลอสิระสารต้านอนุมูลอสิระและการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอสิระ. วารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(3), 275-286.
รวิวรรณ วัฑฒนายน, ซูรายา สะตาปอ, บิสมี ยามา, สาลูมา สมานหมาน, และปิยาภรณ์ วังศิริกุล. (2560). การตรวจวัดไอออนเหล็กโดยใช้แอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบแดง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 97-103.
Giusti, M.M., & Wrolstad, R.E. (2001). Characterization and measurement of anthocyanins by UV-Visible spectroscopy. Current protocols in food analytical chemistry, 1, F1.2.1- F1.2.13.
Khaodee, W., Aeungmaitrepirom, W., & Tuntulani, T. (2014). Spectrochimica Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy. Spectrochimica Acta, 126, 98-104.
Khaodee, W., Wongkiti, R., & Madang, S. (2018).The application of using natural reagent extracted from purple sweet potato for naked-eye detection of copper in water samples. Naresuan University Journal: Science and Technology, 26(3), 181-188.
Supradip, S., Jashbir, S., Anindita P., & Rohan, S., 2019). Anthocyanin Profiling Using UV-Vis Spectroscopy and Liquid Chromatography Mass Spectrometry. Journal of AOAC International, 130, 4-7.
Torgils, F., Saleh, R., Maya, H.H., Havard, S.N., & Øyvind, M.A., (2005). Acylated anthocyanins from leaves of Oxalis triangularis. Phytochemistry, 66, 1133-1140.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด