ผลของเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันที่มีต่อสมบัติทางเคมีและ ปริมาณธาตุอาหารหลักในการหมักน้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย
คำสำคัญ:
น้ำหมักชีวภาพ , เชื้อจุลินทรีย์ , ธาตุอาหารหลัก , หน่อกล้วยไข่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีต่อคุณสมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพเเทสเซียมในการหมักน้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการศึกษา คือ สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 หัวเชื้อ EM และหัวเชื้อ Lacticaseibacillus casei วัสดุหมัก ประกอบด้วย หน่อกล้วยไข่ น้ำเปล่า กากน้ำตาล และหัวเชื้อในอัตราส่วน 3 : 10 : 1 : 0.025 (โดยน้ำหนัก) หมักทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และเคมี ในระหว่างกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพในทุกชุดทดลองเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 30 วัน ของการหมักที่ระยะเวลาการหมัก 2 เดือน น้ำหมักชีวภาพที่ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 หัวเชื้อ EM และหัวเชื้อ Lacticaseibacillus casei มีการเปลี่ยนแปลงของค่าการนำไฟฟ้า และความเป็นกรดเป็นด่างไม่แตกต่างกัน จากการเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลัก พบว่า สูตรที่มีการเติมหัวเชื้อ L. casei น้ำหมักชีวภาพให้ธาตุอาหาร N-P-K สูงกว่าสูตรที่ไม่เติม โดยน้ำหมักสูตรที่ 3 ที่หมักเป็นเวลา 30 วัน มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมสูงที่สุด และมีปริมาณเท่ากับ 1.045% 0.547% และ 0.516% ตามลำดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยสถิติ ANOVA พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.05) ซึ่งน้ำหมักชีวภาพนี้สามารถใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ดินร่วนซุย และไม่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอีกด้วย
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2556). การจัดการดินเปรี้ยวจัด ดินกรด และดินอินทรีย์ (ชุดองค์ความรู้กึ่งศตวรรษพัฒนาที่ดิน). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทวงเกษตรและสหกรณ์.
กันยมาส คงรอด. (2546). ภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากกากตะกอนน้ำทิ้งชุมชนและชานอ้อย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีศาสตร์. (2548). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น, เอนก สาวะอินทร, วรรณวิภา ไชยชาญ, และเตือนใจ ปิยัง. (2563). การใช้ Lactobacillus casei เพื่อเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยน้ำหมักจากเศษปลาทะเลเหลือทิ้ง และประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวพื้นเมือง (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
นิคม สุทธา. (ม.ป.ป.). การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยและผลไม้. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก https://kb.mju.ac.th/assets/img/articleFile/25650202a639729cb66e4e19b755ec9f41a7eaa8.pdf
ประกาศกรมวิชาการเกษตร. (2557). กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2567. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565, จาก https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2019/11/ FEDOA11.pdf
ราตรี บุมี, ปฐมพงษ์ เที่ยงเพชร, และธวัลรัตน์ ศรีสุขสันต์คีรี. (2565). การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ในน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง. Journal of Science and Technology Phetchabun Rajabhat University, 2(1), 32-49.
วีณารัตน์ มูลรัตน์, สมชาย ชคตะการ, และอัญชลี จาละ. (2553). ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Ghaly, A.E., Ramakrishnan, V.V., Brooks, M.S., Budge, S.M., & Dave, D. (2013). Fish processing wastes as
a potential source of proteins, amino acids and oils: a critical review. Journal of Microbial & Biochemical Technology, 5(4), 107-129.
Khanarat, A., & Tangkananurak, K. (2019). The effect of bio-fermented water from fish meal industrial waste on growth and yield of lettuce and marigold. Thai Journal of Science and Technology, 1,
-53.
Landrot, S., Armartmontree, C., Khongkaew, C., & Jutamanee, K. (2020). Leonardite based Organic Fertilizer Production Complying with the Organic Fertilizer Standard of the Department of Agriculture. King Mongkut’s Agricultural Journal, 38(1), 93-103.
Mc Donald, P., Henderson, A.R., & Heron, S.J.E. (1991). The Biochemistry of Silage. (2nd Edition.) England: Chalombe Publications, Marlow.
Metropolitan Waterworks Authority. (2018). Electricity conductivity. Retrieved May,20, 2023, from https://www.mwa.co.th/ewt_news.php?nid=13321
Moonrat, W. (2010). The efficiency of biofertilizer from fish waste using yeast waste water instead of molasses. sugar on the growth of spinach Emperor Deer Kung vegetables and Chinese vegetable chevrons. (Master Thesis of Plant Science). Faculty of Science and Technology, Thammasat University.
Nilwong, W. (2013). Research Report on the quality of earthworm fertilizer and agricultural utilization. Chiang Mai: Office of Research and Promotion Academic agriculture, Maejo University.
Noisopa, C., Prapagdee, B., Navanugraha, C., & Hutacharoen, R. (2010). Effects of bioextracts on the growth of chinese kale. Kasetsart Journal (Natural Science), 44(5), 808-815.
Shi, S., Li, J., Guan, W., & Blersch, D. (2018). Nutrient value of fish manure waste on lactic acid fermentation by Lactobacillus pentosus. The Royal Society of Chemistry, 8, 31267- 31274.
Tuaynun, J. (2012). Determination of total nitrogen, phosphorus and potassium in organic fertilizer. (Master of Science). Department of Chemistry for teacher. Faculty of Science, Khon Kaen University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด