การตรวจวิเคราะห์สารฟาวิพิราเวียร์อย่างง่ายด้วยขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอนเปลือย
คำสำคัญ:
ขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอน, เทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรี , เทคนิคแอมเปอร์โรเมทรี , เซนเซอร์ฟาวิพิราเวียร์บทคัดย่อ
การตรวจวิเคราะห์สารฟาวิพิราเวียร์สำหรับต้านไวรัสโควิด-19 ด้วยขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอนเปลือยด้วยปฏิกิริยาอิเล็กโทรออกซิเดชันของสารฟาวิพิราเวียร์ โดยกระบวนการในการเกิดปฏิกิริยาสามารถติดตามด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรีและใช้เทคนิคแอมเปอร์โรเมทรีสำหรับวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิเคราะได้ทำการศึกษาตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ศักย์ไฟฟ้า สารละลายอิเล็กโทรไลต์ พีเอช พบว่า ใช้ศักย์ไฟฟ้าที่ +1.30 โวลต์ ให้กระแสสูงที่สุด และสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เหมาะสม คือ สารละลายบัฟเฟอร์โซเดียมโบเรต - โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่พีเอช 10.20 ทำการศึกษาคุณลักษณะของขั้วไฟฟ้าเคมิคอลเซนเซอร์ พบว่า มีช่วงเส้นตรงในการตรวจวัดสารฟาวิพิราเวียร์ที่ 0.25 ถึง 500.0 ไมโครโมลาร์ (y(µA)=0.0326x(µM)+0.1547) มีค่าขีดจำกัดการตรวจวัดที่0.13 ไมโครโมลาร์ (S/N=3) มีค่าการทำซ้ำสูงที่ร้อยละความคลาดเคลื่อนมาตรฐานสัมพัทธ์ 4.64 สารรบกวนบางชนิด เช่น โซเดียมคลอไรด์ไม่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ เทคนิคนี้ใช้ในการวิเคราะห์สารฟาวิพิราเวียร์ในตัวอย่างยาจริง พบว่า เทคนิคนี้สามารถตรวจวัดได้ความถูกต้องสูงโดยมีร้อยละความคลาดเคลื่อนในการตรวจวัดน้อยกว่าร้อยละ 1.96 จากผลการวิจัยสามารถนำเซนเซอร์นี้ไปตรวจวัดปริมาณสารฟาวิพิราเวียร์ในตัวอย่างยาเม็ดเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคได้
References
เกาะติดสถานการณ์โควิด. (2566). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566, จาก https://www.pptvhd36.com/special/ไวรัสโคโรนา.
Allahverdiyeva, S., Yunusoglu, O., Yardim, Y., & Senturk, Z. (2021). First electrochemical evaluation of favipiravir used as an antiviral option in the treatment of COVID-19: A study of its enhanced voltammetric determination in cationic surfactant media using a boron-doped diamond electrode. Analytica Chimica Acta, 1159, 338418.
Bulduk, İ. (2021). HPLC-UV method for quantification of favipiravir in pharmaceutical formulations. Acta Chromatographica, 33(3), 209-215.
Du, Y.X., & Chen, X.P. (2020). Favipiravir: Pharmacokinetics and concerns about clinical trials for 2019-nCoV infection. Clinical Pharmacology and Therapeutics, 108(2), 242-247.
Erk, N., Mehmandoust, M., & Soylak, M. (2022). Electrochemical sensing of favipiravir with an innovative water-dispersible molecularly imprinted polymer based on the bimetallic metal-organic framework: comparison of morphological effects. Biosensors (Basel), 12(9). https://doi.org/10.3390/bios
Ersan, T., Dilgin, D. G., Kumrulu, E., Kumrulu, U., & Dilgin, Y. (2022). Voltammetric determination of favipiravir used as an antiviral drug for the treatment of covid-19 at pencil graphite electrode. Electroanalysis. https://doi.org/10.1002/elan.202200295.
Kanbeş Dindar, Ç., Bozal-Palabiyik, B., & Uslu, B. (2022). Development of a diamond nanoparticles-based nanosensor for detection and determination of antiviral drug favipiravir. Electroanalysis, 34(7), 1174-1186.
Mehmandoust, M., Khoshnavaz, Y., Tuzen, M., & Erk, N. (2021). Voltammetric sensor based on bimetallic nanocomposite for determination of favipiravir as an antiviral drug. Microchimica Acta, 188(12), 434.
Mikhail, I.E., Elmansi, H., Belal, F., & Ehab Ibrahim, A. (2021). Green micellar solvent-free HPLC and spectrofluorimetric determination of favipiravir as one of COVID-19 antiviral regimens. Microchemical Journal, 165, 106189.
Mohamed, M.A., Eldin, G.M.G., Ismail, S.M., Zine, N., Elaissari, A., Jaffrezic-Renault, N., & Errachid, A. (2021). Innovative electrochemical sensor for the precise determination of the new antiviral COVID-19 treatment Favipiravir in the presence of coadministered drugs. Journal of Electroanalytical Chemistry, 895, 115422.
Wang, S., Wang, C., Xin, Y., Li, Q., & Liu, W. (2022). Core–shell nanocomposite of flower-like molybdenum disulfide nanospheres and molecularly imprinted polymers for electrochemical detection of anti COVID-19 drug favipiravir in biological samples. Microchimica Acta, 189(3), 125.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-12-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด