สมบัติการทนน้ำและทนความร้อนของวัสดุคอมโพสิตจากแป้งที่เสริมแรงด้วยเซลลูโลสจากพืช

ผู้แต่ง

  • มลฤดี โอปมาวุฒิกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ณัฐธิดา ศรีราชยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ทนน้ำ, ทนความร้อน , วัสดุคอมโพสิต , เซลลูโลสใยตาล , เซลลูโลสป่านรามี

บทคัดย่อ

แป้งเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตวัสดุชีวภาพ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านความแข็งแรงและคงรูป ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาชนิดและปริมาณเซลลูโลสที่เพิ่มสมบัติการคงรูปการทนน้ำ และการทนความร้อนของวัสดุคอมโพสิตที่มีแป้งเป็นสารเนื้อหลัก ทั้งนี้เซลลูโลสที่นำมาใช้ คือ เซลลูโลสจากใยตาล (ขนาดเส้นใยสั้น) และเซลลูโลสจากป่านรามี (ขนาดเส้นใยยาว)ได้ถูกนำมาปรับสภาพผิวด้วยวิธีทางเคมี (10% NaOH, 4% H2SO4 และ 10% NaOCl) เพื่อกำจัดลิกนินและเฮมิเซลลูโลส จากนั้นหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างแป้งและเซลลูโลส ขึ้นรูปภายใต้ความร้อนที่ 40˚C นำไปทดสอบการทนน้ำโดยการแช่ชิ้นตัวอย่างในน้ำที่อุณหภูมิห้องนาน 60 นาที และทดสอบการทนความร้อนโดยการวางชิ้นตัวอย่างที่ 100˚C นาน 60 นาที แล้วตรวจสอบความคงรูปของตัวอย่าง โดยพบว่า อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างวัสดุตัวอย่าง คือ แป้ง 1 : น้ำ 3 และ 1% wt. เซลลูโลส หลังขึ้นรูป วัสดุตัวอย่างมีรูปร่างและขนาดตามแม่พิมพ์ ไม่พบรอยแตก รอยหัก แต่ผิวด้านบนมีความขรุขระจากการกระจายตัวของเซลลูโลส ทั้งนี้เซลลูโลสจากใยตาล มีส่วนที่ถูกล้อมรอบด้วยสารเนื้อหลักได้มากกว่า สามารถยึดเกาะกับเซลลูโลสได้มากกว่าป่านรามี ซึ่งความแตกต่างนี้มีผลต่อการคงรูปของวัสดุตัวอย่างภายใต้สภาวะทดสอบการทนน้ำและการทนความร้อนเดียวกัน ดังนั้นการเสริมแรงด้วยเซลลูโลสใยตาลทำให้วัสดุมีความเสถียรในการคงรูปดีกว่า ซึ่งอาจนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สีเขียวที่ทนน้ำและทนความร้อน

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2562). ไบโอพลาสติก. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก http://innovation.dip.go.th/

innovation/?page_id=1094.

เขมจิราณัฐ ชัชวาลย์. (2560). การดัดแปรสตาร์ชมันสำปะหลังด้วยวิธีการคั่วในภาชนะแบบเปิด. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร.

ณัฐฐา กล้าณรงค์. (2562). การเตรียมแป้งมันสำปะหลังออกซิไดซ์ด้วยกระบวนการพลาสมาวัฏภาคของเหลวสำหรับใช้งานด้านฟิล์มห่อหุ้มอาหารที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี.

ธนพล รัตนจรัสโรจน์, และวรนุช ศรีเจษฎารักข์. (2558). ผลของสภาวะการแปรรูปแป้งมันสำปะหลังต่อปริมาณแป้งทนการย่อย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558 (น. 394-401) กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์. (2004). โพลิเมอร์คอมโพสิต. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=1608&Itemid=9.

พิมภนิจภา กันทาดง, มินตรา พีเกาะ, และอรธีรา สินด่านจาก. (2562). ฟิล์มคอมโพสิตชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสเปลือกทุเรียน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 13(1), 39-50.

วิจิตรา เหลียวตระกูล, และวชิรญา เหลียวตระกูล. (2563). ผลของวิธีการดัดแปรแป้งด้วยกรดและพรีเจลาติไนเซชันต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งกระจับ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 15(2), 82-95.

ศศิกานต์ สุวรรณประทีป, อดุลย์ หาญวังม่วง, และสมพงษ์ พิริยายนต์. (2562). การผลิตโฟมบรรจุภัณฑ์จากแป้งข้าวเจ้าผสมด้วยเส้นใยเซลลูโลสจากผักตบชวา (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Arifin, H.R., Djali, M., Nurhadi, B., Hasim, S.A., Hilmi, A., & Puspitasari, A.V. (2022) Improved properties of corn starch-based bio-nanocomposite film with different types of plasticizers reinforced by nanocrystalline cellulose, International Journal of Food Properties, 25(1), 509-521.

Faruk, O., & Ain, M.S. (2013). Biofiber reinforced polymer composites for structural applications. In Uddin, N. (Ed). Developments in fiber-reinforced polymer (FRP) composites for civil engineering (pp. 18-53). Woodhead Publishing.

Lamaming, J., Hashim, R., Sulaiman, O., Leh, C.P., Sugimoto, T., & Nordin, N.A. (2015). Cellulose nanocrystals isolated from oil palm trunk. Carbohydrate Polymers, 127, 202-208.

Srirachya, N., Boonkerd, K., Nakajima, L., & Kobayashi, T. (2018). Bio-composite hydrogels of cellulose and vulcanized natural rubber with nanointerconnected layers for reinforced water-retaining materials. Polymer Bulletin, 75(12), 5493-5512.

Srirachya, N., & Nido, A. (2020). The Green Preparation of Cellulose Fibrils from Oil Palm Leaf Stalk Fibers for Hydrogel Applications. Key Engineering Materials, 841, 103-107.

T441 om-13. (2013). Water absorptiveness of sized (non-bibulous) paper, paperboard, and corrugated fiberboard (Cobb test). Retrieved November, 7, 2021, from https://www.tappi.org/content/tag/sarg/t441.pdf.

T453 sp-13. (2013). Effect of dry heat on properties of paper and board. Retrieved November, 7, 2021, from https://www.tappi.org/content/tag/sarg/t453.pdf.

Zoghlami, A., & Paës, G. (2019). Lignocellulosic biomass: understanding recalcitrance and predicting hydrolysis. Frontiers in Chemistry, 7, https://doi.org/10.3389/fchem.2019.00874.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21 — Updated on 2024-05-29

Versions

How to Cite

โอปมาวุฒิกุล ม. ., & ศรีราชยา ณ. . . (2024). สมบัติการทนน้ำและทนความร้อนของวัสดุคอมโพสิตจากแป้งที่เสริมแรงด้วยเซลลูโลสจากพืช. PSRU Journal of Science and Technology, 8(1), 37–50. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/251355 (Original work published 21 เมษายน 2023)

ฉบับ

บท

บทความวิจัย