การศึกษาเฉดสีและความคงทนของการย้อมสีธรรมชาติจากใบมะยงชิดบนเส้นใยไหมและฝ้าย
คำสำคัญ:
ใบมะยงชิด , ไหม, ฝ้าย, สีย้อมธรรมชาติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้อมสีธรรมชาติด้วยสีย้อมจากใบมะยงชิดสดและแห้ง รวมถึงการวิเคราะห์ค่าสีและศึกษาความคงทนของสีต่อแสง การซัก เหงื่อ และการขัดถู โดยใช้สารช่วยย้อม 4 ชนิด คือ สารส้ม น้ำปูนใส เหล็ก และใบยูคาลิปตัสสด ใช้สภาวะการย้อมแบบเติมสารช่วยติดสีก่อนการย้อม ผลการศึกษาพบว่าสีย้อมใบมะยงชิดสดและแห้งสามารถย้อมติดสีเส้นใยไหมและฝ้ายได้ โดยให้เฉดสีที่แตกต่างกันตามคุณสมบัติของสารช่วยย้อม ได้แก่ สีเหลือง น้ำตาล และดำ สีย้อมจากใบสดให้สีที่มีความสว่างกว่าสีย้อมจากใบแห้งในเส้นใยทั้งสองชนิด โดยการย้อมเส้นใยไหมจะได้สีที่สว่างกว่าเส้นใยฝ้าย และการใช้เหล็กเป็นสารช่วยย้อมจะได้สีที่มีความสว่างน้อยที่สุด สีย้อมจากใบมะยงชิดสดและแห้งให้เฉดสีน้ำตาลทั้งในเส้นใยไหมและฝ้าย ยกเว้นเมื่อใช้สารส้มเป็นสารช่วยย้อมด้วยใบสดจะให้เฉดสีเหลือง นอกจากนี้เมื่อใช้เหล็กเป็นสารช่วยย้อมจะให้เฉดสีดำ โดยพบว่า การใช้สีย้อมจากใบสดจะให้เฉดสีดำมากกว่าการใช้สีย้อมจากใบแห้ง ความคงทนของสีต่อแสง การซัก เหงื่อ และการขัดถู อยู่ในระดับยอมรับได้ถึงดี งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าใบมะยงชิดสามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมจากธรรมชาติชนิดใหม่และช่วยเพิ่มช่องทางส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่มีมูลค่าได้ต่อไป
References
กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2560). การย้อมสิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงได้
จาก http://siweb1.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2041.pdf.
จิตนภา ศิริรักษ์, ชัชฎาภรณ์ พันธ์พิน, สุธินี เกิดเทพ สุพรรณี, ฉายะบุตร ชีวิตา, และสุวรรณ ชวลิต. (2559).
การประยุกต์ใช้สีธรรมชาติจากใบมะม่วงในซิลิโคน. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 3(5), 22-31.
ชวนชม. (2550). มะยงชิด มะปรางหวาน ของดีเมืองนครนายก. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://bot.swu.ac.th/upload/article document/1228385627.pdf.
ชุลีกานต์ สายเนตร. (2560). แทนนิน สารจากธรรมชาติสู่การเป็นสารช่วยให้ติดสีของผ้าภูอัคนี ณ หมู่บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 67-76.
ถิรวุธ บุญวงศ์, เจนจิรา ชุมภูคำ, และชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์. (2560). ผลของสีวัสดุห่อผลต่อคุณภาพผลมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้า.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(3), 214-220.
ประภากร สุคนธมณี. (2560). สีสันจากพันธุ์พฤกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(3), 183-202.
ผ่องศรี รอดโพธิ์ทอง. (2017). พืชพื้นเมืองสำหรับย้อมผ้าสีดำ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สจล., 25, 163-175.
พรเพ็ญ โชชัย, ระมัด โชชัย, และเมทินี ทวีผล. (2551). การพัฒนาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษาการย้อมสี เส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่ของชุมชนในเขตตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัfกำแพงเพชร. วารสารสักทอง, 14(2), 26-45.
พัทวัฒน์ สีขาว, หนึ่งฤทัย เนื้อไม้หอม, นฤมล พรมลา, ครรชิต ณ วิเชียร, และอรัญญา จุติวิบูลย์สุข. (2022). การศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ความเป็นพิษเฉียบพลันต่อการระคายเคืองและการกัดกร่อนของผิวหนังในกระต่ายจากสารสกัดน้ำย้อมสีใบมะยงชิด. PSRU Journal of Science and Technology, 7(1), 117-128.
พิมพ์ใจ สีหะนาม, วิมลฉัตร สมนิยาม, และดรุณี มูลโรจน์. (2559). อิทธิพลของขนาดผลต่อคุณภาพของผลมะยงชิดพันธุ์สวัสดี. วารสารแก่นเกษตร, 44(1), 95-104.
ภัทรา ศรีสุโข, ณภัค แสงจันทร์, ธนกฤต ใจสุดา, และกรชนก บุญทร. (2562). การศึกษาสีธรรมชาติจากพันธุ์พืชป่าชายเลน ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(1), 64-73.
ภัทรานิฎชณ์ พิมพ์ประพร. (2558). การศึกษาอิทธิพลของสารช่วยติดสีต่อเฉดสีของสีย้อมธรรมชาติสกัดจากใบหมี่บนเส้นใยไหมย้อมด้วยกระบวนการย้อมแบบดูดซึม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชาสิ่งทอ.
ลักขณา ศิริจำปา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(6), 7-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด