การประเมินคุณภาพดินของสวนส้มโอในตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ปาริฉัตร ทิพย์วรรณ
  • ปิยะดา วชิระวงศกร -

คำสำคัญ:

ดิน, ส้มโอ, อินทรียวัตถุ, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, ไนโตรเจน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพดินของสวนส้มโอ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ท่าข่อย สายพันธุ์ขาวแตงกวา และสายพันธุ์ทองดี ในพื้นที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร สุ่มเก็บตัวอย่างดินในสวนส้มโอสายพันธุ์ละ 10 สวน รวมทั้งหมดจำนวน 30 สวน ผลการศึกษา พบว่า ดินของสวนส้มโอมีสีน้ำตาลอ่อน-น้ำตาลเข้ม เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ดินมีความเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าเฉลี่ย 6.23±0.61 ความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 8.16±3.81  ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.39±0.86 ปริมาณไนโตรเจนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.17±0.04 สำหรับปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับต่ำ
มีค่าเฉลี่ย 7.48±4.60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมอยู่ในระดับปานกลาง-สูง
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.24±9.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยปริมาณอินทรียวัตถุและโพแทสเซียมในดินสวนส้มโอจัดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกส้มโอ ในขณะที่ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกส้มโอ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหมั่นตรวจวัดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในดินสวนส้มโออย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการธาตุอาหารในดินสวนส้มโอได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ดินมีศักยภาพในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตส้มโอในสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป              

References

กรมพัฒนาที่ดิน (2545). คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

กรมพัฒนาที่ดิน. (2551). คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565, จาก http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/s_prop_nutri02.htm.

กรมพัฒนาที่ดิน. (2564). ข้อมูลการจัดการดิน. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.ldd.go.th/ Web_Soil/Page_02.htm#2.

กรมวิชาการเกษตร. (2563). กรมวิชาการเกษตร ผสานองค์ความรู้ กรมพัฒนาที่ดิน เซียนพืช-ดินผนึกกำลังสร้าง นวัตกรรมแอปพลิเคชันรู้จริงพืชดินปุ๋ย. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565, จาก https://www.Thailand plus.tv/archives/215991.

กฤตย์ สมสาร์. (2549). ฟอสฟอรัสในดิน. กรุงเทพฯ: กลุ่มทดสอบวัสดุและผลิตภัณฑ์การเกษตรเคมี โครงการเคมี, กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

กันติมา ศิษย์เลาถาวร. (2562). ดินดีเขาดูกันยังไงนะ. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.Scispec.co.th.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2548). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จังหวัดพิจิตร. (2556). ส้มโอท่าข่อย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก http://unseen.phichit.go.th/th/des tinys /tha-khoi-pomelo/.

ชญานุช ตรีพันธ์, บุญชนะ วงศ์ชนะ, ศุภลกัษณ์ อริยภูชัย, และสุมาลี ศรีแก้ว. (2562). การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารของผลส้มโอหอมหาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. (2560). ผลิตส้มโอขาวแตงกวาให้ได้คุณภาพ สร้างรายได้ดีหลักแสนถึงหลักล้าน ตลาดนิยมบริโภคผิวไม่สวยก็ยังขายได้ดีในประเทศ. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2563, จาก https:// www.technology chaoban.com/agricultural-technology/article_17908.

ทวีศักดิ์ แสงอุดม, สาวยุพิน กสินเกษมพงษ์, นันทรัตน์ ศุภกำเนิด, และวรางคณา มากกำไร (2559). การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก (รายงานการวิจัย). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร.

ประดิษฐ์ ตรีพัฒนาสุวรรณ. (2540). ความชื้นในดินในป่าธรรมชาติของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดําริบริเวณลุ่มน้ำห้วยไร้ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : สำนักวิชาการป่าไม้กรมป่าไม้.

พงษ์สันติ์ สีจันทร์. (2543). การวินิจฉัยความชื้นของดินด้วยข้อมูล thematic mapper แบบหลายช่วงคลื่น. การประชุมวิชาการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ครั้งที่1 ประจำปี 2543 (น. 243-254). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วลัยพร ศะศิประภา, และณรงค์ บุญมีรอด. (2542). การศึกษาเบื้องต้นในการกำหนดเขตความเหมาะสมต่อการปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา. วารสารวิชาการเกษตร, 17(3), 310-320.

เกศมณี พรมมี, สุนิสา นามภักดี, ยุพเยาว์ โตคีรี, และชวนพิศ จารัตน์. (2564). สมบัติดินนาบางประการและคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่นาข้าวและไร่อ้อยตามค่าวิเคราะห์ดินในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. PSRU Journal of Science and Technology, 6(1), 56-73.

วัฒนา ปัญญามณีศร. (2551). สถานภาพความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินภายใต้รูปแบบการเกษตรเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยส้มป่อย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิฑูรย์ ภู่บุตร. (2563). ปลูก "ส้มโอ" ให้โกอินเตอร์ ต้องลูกใหญ่ ทรงสวย หวานฉ่ำ มาตรฐาน GAP. พืช. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก https://www.chiataigroup.com/article-detail/FertilizerforPomelo.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2564). ธาตุอาหารพืชในดิน. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565, จาก https://www.

saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=18&chap=8&page=t18-8-infodetail05.html.

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. (2547). คู่มือการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี (คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.

อนุรัตน์ ศฤงคารภาษิต. (2565). ความชื้นในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก http://www. arcims.tmd.go.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24

How to Cite

ทิพย์วรรณ ป. . . ., & วชิระวงศกร ป. . . (2022). การประเมินคุณภาพดินของสวนส้มโอในตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. PSRU Journal of Science and Technology, 7(2), 73–88. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/248438

ฉบับ

บท

บทความวิจัย