ผลของสเปกตรัมแสงต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร

ผู้แต่ง

  • คเชนทร์ แดงอุดม Department of Physics, Faculty of Science, Naresuan University
  • ยอกร วันดี
  • วรรณวิสา ชาติแพงตา
  • พราวิณี บุญเรศ
  • แสงเพชร บุญผาง

คำสำคัญ:

กระบองเพชร, สเปกตรัมแสง , การพรางแสงอาทิตย์ , ไฟแอลอีดีปลูกต้นไม้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสเปกตรัมแสงของแหล่งกำเนิดแสงแอลอีดี และการพรางแสงอาทิตย์ต่อการงอกและการเติบโตของเมล็ดกระบองเพชรสายพันธุ์ยิมโนคาไลเซียมและสายพันธุ์แอสโตรไฟตัมแอสทีเรียส เพาะเมล็ดกระบองเพชรในระบบปิดกระถางละ 10 เมล็ด ภายใต้แสงจากหลอดไฟปลูกต้นไม้ หลอดไฟที่ให้แสงสีขาว เขียว น้ำเงินและแดง แสงธรรมชาติโดยไม่พรางแสงและมีการพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 60% สีเงิน 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น บันทึกภาพการเจริญเติบโตเพื่อนำไปวิเคราะห์หาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นกระบองเพชร พบว่า ภายใต้แสงจากหลอดไฟปลูกต้นไม้และหลอดไฟแสงขาวมีอัตราการงอกของทั้ง 2 สายพันธุ์สูงอีกทั้งมีการเจริญเติบโตรวดเร็วในช่วงแรกและมีการเจริญเติบโตช้าลงในช่วงหลัง หลอดไฟแสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงินมีอัตราการงอกของเมล็ดน้อยและและมีการเจริญเติบโตช้า หลอดไฟแสงสีแดงมีอัตราการงอกสูง แต่มีการเจริญเติบโตของลำต้นยืดผิดปกติ สำหรับการปลูกภายใต้แสงธรรมชาติโดยไม่พรางแสง พบว่า มีอัตราการงอกต่ำและการเจริญเติบโตไม่ดี ซึ่งจะมีอัตราการงอกและการเจริญเติบโตได้ดีเมื่อพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 2 ชั้น และ 3 ชั้น จากผลงานวิจัยพบว่า ภายใต้แสงอาทิตย์ เงื่อนไขที่เหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตสูงที่สุด คือ การใช้ตาข่ายพรางแสง 60% สีเงิน 2 ชั้น และสามารถปลูกภายในอาคารโดยใช้แสงประดิษฐ์จากไฟแอลอีดี ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งไฟปลูกต้นไม้และไฟแสงขาว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกกระบองเพชรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นจากการได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพของลำต้นที่สวยงาม

References

กระบองเพชร.(2564). สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/กระบองเพชร.

กษิดิ์เดช อ่อนศร, ณัฐพงค์ จันจุฬา, และจิรภัทร ลดาวัลย์. (2563). อิทธิพลของแสงจากหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัด 4 ชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย, 9(4), 529-538.

คริษฐ์สพล หนูพรหม. (2560). ผลของตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งอินทรีย์. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (น. 156-161) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ชานนท์ ลาภจิตร. (2560). ผลของหลอดไฟแอลอีดีสีขาว แดง และน้ำเงิน ต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีนที่ปลูกในระบบอะควาโพนิค. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 4, 26-32.

ประยงค์ ตันเล, รภัสสา จันทาศรี, เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ, และพนิดา อะริมัตทสึ. (2558). ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารเอเชียติโคไซต์ของบัวบกสายพันธุ์สารคามก้านเขียว. วารสารเกษตรพระวรุณ, 12(1), 9-16.

Gross, J. (1991). Pigments in vegetables: chlorophylls and carotenoids. Van Nostrand Reinhold.

Larkum, A.W., Grossman, A.R., & Raven, J.A. (2020). Photosynthesis in Algae: Biochemical and Physiological Mechanisms. Springer Nature Switzerland.

Sun-Ja, K., Eun-Joo, H., Jeong-Wook, H., & Kee-Yoeup, P. (2004). Effect of LEDs on net photosynthetic rate, growth and leaf stomata of Chrysanthemum plantets in vitro. Sci.Host., 101, 143-151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24

How to Cite

แดงอุดม ค. ., วันดี ย. . ., ชาติแพงตา ว. ., บุญเรศ พ. ., & บุญผาง แ. . . (2022). ผลของสเปกตรัมแสงต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร. PSRU Journal of Science and Technology, 7(2), 114–125. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/248432

ฉบับ

บท

บทความวิจัย