การคัดแยกแบคทีเรียแลคติกจากอาหารหมักพื้นบ้านเพื่อใช้เป็นโพรไบโอติกในอาหารสัตว์น้ำที่ผสมใยอาหารจากเปลือกทุเรียน

ผู้แต่ง

  • หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์ ผศ.ดร.
  • ปุญญิศา วัฒนะชัย อาจารย์
  • สราวุธ แสงสว่างโชติ

คำสำคัญ:

แบคทีเรียแลคติก , อาหารหมัก , ใยอาหาร , เปลือกทุเรียน , ปลาตะเพียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ใยอาหารจากเปลือกทุเรียนเป็นพรีไบโอติกในอาหาร  สัตว์น้ำร่วมกับโพรไบโอติกแบคทีเรียที่แยกได้จากอาหารหมักเพื่อเลี้ยงปลาตะเพียน การทดลองประกอบด้วย การคัดแยกแบคทีเรียแลคติกจากอาหารหมัก และการเตรียมอาหารสัตว์น้ำโดยใช้ใยอาหารจากเปลือกทุเรียนเป็นพรีไบโอติกร่วมกับโพรไบโอติกแบคทีเรียสำหรับเลี้ยงปลา   ผลการคัดแยกแบคทีเรียแลคติกจากอาหารหมัก จำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่า สามารถคัดแยกได้ทั้งหมด 35 ไอโซเลท ทุกไอโซเลทสามารถเจริญในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน และสามารถเจริญได้ทั้งสภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน จำนวน 31 ไอโซเลท เมื่อทดสอบคุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติก พบว่ามีแบคทีเรียแลคติกที่สามารถทนสภาวะกรดและเกลือน้ำดี จำนวน 6 ไอโซเลท คัดเลือกแบคทีเรียแลคติกที่มีคุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกและเจริญได้ดีที่สุดไปใช้ในขั้นต่อไป การเตรียมอาหารเริ่มจากนำใยอาหารจากเปลือกทุเรียนผสมในสูตรอาหารเลี้ยงปลาที่ร้อยละ     0 10 20 30 และ 40 ผสมเซลล์แบคทีเรียและนำไปใช้เลี้ยงปลา ผลการทดลอง พบว่า การใช้     ใยอาหารจากเปลือกทุเรียนผสมในอาหารเลี้ยงปลาตะเพียนที่ระดับต่างๆ ทำให้การเจริญเติบโตของชุดทดลองด้านน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและอัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แสดงให้เห็นว่าอาหารสัตว์น้ำที่เตรียมจากใยอาหารเปลือกทุเรียนสามารถใช้ร่วมกับโพรไบโอติกแบคทีเรียที่แยกจากอาหารหมักเพื่อเลี้ยงปลาตะเพียน และสามารถใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าเปลือกทุเรียน

Author Biography

ปุญญิศา วัฒนะชัย, อาจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

คณิสร ล้อมเมตตา, สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ, สนธยา กูลกัลยา, และอุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ. (2556). การใช้เปลือกทุเรียนและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาตะเพียนขาว. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 (น. 474-484) ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

คณิสร ล้อมเมตตา, สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ, สนธยา กูลกัลยา, และอุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ. (2559). การใช้เปลือกทุเรียนและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาไน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 10(2), 109-117.

จีรนุช วันแสนซื่อ, สิริรัตน์ แสงอ่อน, และสุรีย์พร เอี่ยมศรี. (2560). การคัดเลือกแบคทีเรียโพรไบโอติกจากฟาร์มและโรงฆ่าสุกรที่มีประสิทธิภาพยับยั้งแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 (น. 729-737). กรุงเทพฯ: โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.

ชาญวิทย์ สุวรรณ์, และชนกันต์ จิตมนัส. (2563). การใช้จุลินทรีย์จีไบโอติกเสริมอาหารปลานิล เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกัน. วารสารเกษตรพระวรุณ, 17(1), 63-74.

นัยนา เสนาศรี. (2558). ผลของการใช้แบคทีเรีย Bacillus spp. เป็นโปรไบโอติกผสมอาหารในการเลี้ยงปลานิล, วารสารวิจัย, 8(2), 61 – 66.

ผุสดี ตังวัชรินทร์, จิรโรจน์ นิธิสันถวะคุปต์, และกานต์ สุขสุแพทย์. (2559). การคัดแยกและการคัดเลือกแบคทีเรียแลคติกที่มีสมบัติความเป็นโปรไบโอติกเบื้องต้นจากผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(2), 67-76.

พงศธร ล้อสุวรรณ, จิตศิริ ราชตนะพันธุ์, และศศิธร จันทนวรางกูร. (2551). สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และการต้านจุลินทรีย์ของเปลือกผลไม้. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 (น. 554-561). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพรัตน์ กอสุธารักษ์. (ม.ป.ป). การประเมินคุณภาพของอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จากhttps://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170120165958_file.pdf.

ภณิดา เกื้อสุวรรณ, วิลาวัณย์ เจริญจิรตระกูล, และดวงพร คันธโชติ. (2557). การคัดเลือกโปรไบโอติกแบคทีเรียแลกติกเพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อในการผลิตผักดอง. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (น. 667-676). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เวียง เชื้อโพธิหัก. (2545). โภชนศาสตร์สัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563 จาก http://www.ratchakitcha. soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/086/21.PDF.

สุรัตน์ วังพิกุล, และปริยาภรณ์ อิศรานุวัฒน์. (2557). การคัดเลือกแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่มีศักยภาพเป็นจุลินทรีย์โปรไบโอติกจากอาหารหมักพื้นบ้านไทยประเภทข้าวเพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อในอาหารหมัก (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์, จิรพร สวัสดิการ, ปารณีย์ สร้อยศรี, และคมสัน มุ่ยสี. (2560). สมบัติทางกายภาพและความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของใยอาหารจากเปลือกทุเรียน. ใน การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น. 2279-2287). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์, และจิรพร สวัสดิการ. (2561). ปริมาณใยอาหารและคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียของใยอาหารจากเปลือกทุเรียนที่ผ่านการทำแห้งแบบลมร้อนและแบบแช่เยือกแข็ง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 178-185.

AACC. (2001). The definition of dietary fiber. CFW AACC Report, 46(3), 112-116.

A.O.A.C. (2000). Official methods of analysis association of official analytical chemists. Washington, DC.

Deyab, M., & Magdy, M. (2003). Replacement of fish meal with a mixture of different plant protein sources in juvenile Nile tilapia, Oreocromis niloticus (L.) diets. Aquaculture Research, 34, 1119-1127.

Fuentes-Alventosa. J.M., Rodriguez-Gutierrez, G., Jaramillo-Carmona, S., & Expejo-Calvo, J.A. (2009). Effect of extraction method on chemical composition and functional characteristics of high dietary fibre powders obtained from asparagus by products. Food Chemistry, 113(2), 665-671.

Hwanhlem, N., Watthanaskphuban, N., Riebroy, S., Benjakul, S., H-Kittikun, A., & Supasil, S. (2010). Probiotic lactic acid bacteria from Kung-Som: Isolation screening, inhibition of pathogenic bacteria. International Journal of Food Science&Technology, 45(3), 594-601.

Kobayashi, T., Kajiwara, M., Wahyuni, M., Hamada-Sato, N., Imada, C., & Watanabe, E. (2004). Effect of culture conditions on lactic acid production of Tetragenococcus species. Journal of Applied Microbiolgy, 96(6), 1215-1221.

Larrauri, J.A., Ruperez, P., & Saura-Calixto, F. (1997). Mango peel fibres with antioxidant activity. Zeitschrift Fur Lebensmittel-Untersuchung Und-Forschung, 205, 39-42.

Lee, J., Kim, C.J., & Kunz, B. (2006). Identification of lactic acid bacteria isolate from kimchi and studies on their suitability for application as starter culture in the production of fermented sausages. Meat Science, 72, 437-445.

Rodriguez, R., Jimenez, A., Fernandez-Bolanos, J., Guillen, R., & Heredia, A. (2006). Dietary fibre from vegetable products as source of functional Ingredients. Trends in Food Science and Technology, 17, 3-15.

Rumsey, G., Hughes, S., & Winfree, R. (1993). Chemical and nutritional evaluation of soya protein preparations as primary nitrogen sources for rainbow trout (Oncorhynchus mykiss). Animal Feed Science and Technology, 40, 135-151.

Soria, M.C., & Audisio, M.C. (2014). Inhibition of Bacillus cereus strains by antimicrobial metabolites from Lactobacillus johnsonii CRL1647 and Enterococcus faecium SM21. Probiotic and Antimicrobial Proteins, 6(3-4), 208-216.

Villamil, L., Figueras, A., Planas, M., & Novoa, B. (2003). Control of Vibrio alginolyticus in artemia cuture by treatment with bacterial probiotic. Aquaculture, 219, 43-56.

Wood, B.J.B, & Hopzapfel, W.H. (1995). The genera of lactic acid bacteria. London Chapman & Hall.

Zannini, E. Water, D.M., Coffey, A., & Arendt, E.K. (2016). Production, properties and industrial food application of lactic acid bacteria-derived exopolysaccharides. Applied Microbiology and Biotechnology, 100(3), 1121-1135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24

How to Cite

สุวรรณรัตน์ ห., วัฒนะชัย ป. ., & แสงสว่างโชติ ส. (2022). การคัดแยกแบคทีเรียแลคติกจากอาหารหมักพื้นบ้านเพื่อใช้เป็นโพรไบโอติกในอาหารสัตว์น้ำที่ผสมใยอาหารจากเปลือกทุเรียน. PSRU Journal of Science and Technology, 7(2), 57–72. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/248115

ฉบับ

บท

บทความวิจัย