ความหลากหลายของเชื้อราที่พบในข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ในพื้นที่ตำบลหนองกลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2, โรคข้าว, เชื้อราบทคัดย่อ
โรคข้าวมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากเชื้อรา ซึ่งก่อความเสียหายกับผลผลิตอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของเชื้อราที่พบในข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2
ในพื้นที่ตำบลหนองกลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เก็บตัวอย่างข้าวที่แสดงอาการเป็นโรคจากแหล่งเพาะปลูก 2 ครั้ง จำนวน 13 ตัวอย่าง มาทำการแยกเชื้อด้วยวิธี Tissue transplanting technique บนอาหาร PDA เมื่อพบเชื้อราเจริญออกจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรค จึงตัดปลายเส้นใย
ไปเลี้ยงบนอาหาร PDA จานใหม่เพื่อให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ ผลการแยกเชื้อราสามารถแยกเชื้อได้ทั้งหมด 43 ไอโซเลต เป็นกลุ่มที่สร้างสปอร์ 39 ไอโซเลต และไม่สร้างสปอร์ 4 ไอโซเลต ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อราที่พบด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเชื้อบนแผ่นสไลด์ แล้วทำการระบุชื่อของเชื้อราในระดับสกุล จากการเปรียบเทียบรายละเอียดของเชื้อรากับข้อมูลในเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการระบุชื่อเชื้อราในระดับสกุลที่สร้างสปอร์ พบว่า เป็นเชื้อราในสกุล Alternaria Aspergillus Bipolaris Curvularia Nigrospora และ Scopulariopsis ในขณะที่เชื้อราบางไอโซเลต
ไม่พบการสร้างสปอร์จึงไม่สามารถทำการระบุชื่อในระดับสกุลได้ โดยเชื้อราสกุลที่พบมากที่สุด
ในการศึกษานี้ คือ Curvularia spp. (11 ไอโซเลต; 25.58%) รองลงมา คือ Nigrospora spp. (10 ไอโซเลต; 23.26%) และ Aspergillus spp. (8 ไอโซเลต; 18.60%) ตามลำดับ
References
ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, รัศมี ธิติเกียรติพงศ์, วันชัย โรจนหัสดิน, และธัญลักษณ์ อารยาพันธ์. (2550). โรคข้าวและการป้องกันกำจัด (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.
ธีราพร จันทร์ศรี, อัปสรสวรรค์ ใจบุญ, กีรติ ตันเรือน, พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ, รัตน์ติพร สําอางค์, รําไพ โกฎสืบ, และเรืองวุฒิ ชุติมา. (2563). การสำรวจและการแยกเชื้อราไมคอร์ไรซาจากกล้วยไม้ดินสกุล Spathoglottis ที่ปลูกในกระถาง, PSRU Journal of Science and Technology 5(3), 127-138.
ประภัสสร สีลารักษ์, และเพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. (2559). การถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์ของเชื้อฟิวซาเรียมสาเหตุโรคถอดฝักดาบของข้าวและศักยภาพของเชื้อ Streptomyces-PR15 และ Streptomyces-PR87 ในการควบคุมโรคจากเชื้อฟิวซาเรียมของพืชเศรษฐกิจ, แก่นเกษตร, 44(ฉบับพิเศษ 1), 238-245.
พรศิลป์ สีเผือก, วุฒิชัย สีเผือก, และชัยสิทธิ์ ปรีชา. (2561). ความหลากหลายของเชื้อราในนาข้าวและการคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคข้าวโดยชีววิธี (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
รัตนากร กฤษณชาญดี. (2560). การจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ในภาคใต้และภาคเหนือ (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
ศิริรัตน์ ศิริพรวิศาล. (2550). การศึกษาความหลากหลายของรา Bipolaris oryzae และความสำคัญต่อการเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลในพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานการวิจัย). อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สาขาวิชาจุลชีววิทยา. (2561). ปฏิบัติการจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 55-56.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561). การสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร พ.ศ.2561 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N30-07-62-1.aspx
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2543). ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=114.htm
อารียา ประเสริฐกรรณ์, และรำไพ โกฎสืบ. (2562). การศึกษาเชื้อราที่ก่อโรครากเน่าในมันสำปะหลัง ในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. ใน การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2: “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (น. 31-39). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.
Carmichael, J.W., Kendrick, W.B., Conners, I.L., & Sigler, L. (1980). Genera of Hyphomycetes. Edmonton, Canada, University of Alberta Press.
Ellis, M.B. (1971). Dematiaceous Hyphomycetes. UK: Commonwealth Mycological Institute.
Ellis, M.B. (1976). More Dematiaceous Hyphomycetes. UK: Commonwealth Mycological Institute.
Gopalakrishnan C., Kamalakannan, A., & Valluvaparidasan, V. (2010). Survey of seed-borne fungi associated with rice seeds in Tamil Nadu, India, Libyan Agriculture Research Center Journal International, 1(5), 307-309.
Lapmak, K., Lumyoung, S., Wangsapa, R., & Sardsud, U. (2009). Diversity of filamentous fungi on brown rice, Pattalung Province, Thailand, International Journal of Agricultural Technology, 5(1), 129-142.
Li, X.L., Ojaghian, M.R., Zhang, J.Z., & Zhu, S.J. (2017). A new species of Scopulariopsis and its synergistic effect on pathogenicity of Verticillium dahliae on cotton plants, Microbiological Research, 201, 12-20.
Song W., Zhou L., Yang C., Cao X., Zhang L., & Liu, X. (2004). Tomato Fusarium wilt and its chemical control strategies in a hydroponic system, Crop Protect, 23, 243–247.
Sutton, B.C. (1980). The Coelomycetes. UK: Commonwealth Mycological Institute.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด