การเปรียบเทียบผลของการสกัดแบบดั้งเดิมกับการใช้คลื่นอัลตราโซนิคต่อปริมาณแอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบฟีนอลิกรวมในข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 และข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2

ผู้แต่ง

  • ปราณี เลิศแก้ว Kamphaeng Phet Rajabhat University
  • จันทิรา ย่านสากล
  • ขนิษฐา อยู่ทิศ
  • สุภาพร กงภูธร
  • ธิดารัตน์ พรหมมา

คำสำคัญ:

แอนโทไซยานิน, สารต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟีนอลิกรวม, ข้าวกล้อง, อัลตราโซนิค

บทคัดย่อ

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพถูกค้นพบในข้าวที่มีสี งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในข้าวกล้องทั้ง 2 สายพันธุ์ คือ ข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 และข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2 โดยเปรียบเทียบระหว่างการสกัดแบบดั้งเดิมและการสกัดแบบใช้คลื่นอัลตราโซนิคเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเทคนิคในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในข้าวกล้องทั้ง 2 สายพันธุ์ ในการสกัดสาร พบว่า วิธีการสกัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิคในข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2 มี %yield มากสุด เท่ากับ 2.45% ขณะที่การสกัดด้วยวิธีแบบดั้งเดิมในข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 มี %yield น้อยสุด เท่ากับ 1.06% การตรวจหาปริมาณสารแอนโทไซยานินด้วยวิธี pH-differential ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin–Ciocalteu colorimetric พบว่า วิธีการสกัดแบบใช้คลื่นอัลตราโซนิคของสารสกัดข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2 มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงสุด เท่ากับ 9.128 มิลลิกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามพบว่า มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในวิธีการสกัดแบบดั้งเดิมของสารสกัดข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 โดยมีค่าเท่ากับ 201.556 ไมโครกรัมบีเอชทีต่อมิลลิลิตร และมีค่า IC50 เท่ากับ 12.089 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการสกัดแบบดั้งเดิมของข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 มีสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงสุด เท่ากับ 149.98 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงอาจช่วยในการพิจารณาเลือกเทคนิคในการสกัดสารจากข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 และข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2 เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ

References

กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ, และปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ. (2560). การสกัดและวิธีวัดความสามารถการต้านอนุมูลอิสระในพืชสมุนไพร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 3(1), 86-94.

เฉลิม จันทร์สม, สกุล มูลคำ, วนิดา จันทร์สม, เอกสิทธิ์ สกุลคู, และกรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะ. (2553). ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและองค์ประกอบทางเคมีของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมือง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 12(2), 136-143.

ดวงกมล เรือนงาม. (2557). การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 23(2), 120-139.

นพวรรณ ชิราวัธน์, วิภาพร เกิดช่าง, สิบสองเมษา สามงามเขียว, และธิดารัตน์ พรหมมา. (2560). การศึกษาปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2 ข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 และข้าวดอกข่า. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น. 1031-1034) กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พิชญอร ไหมสุทธิสกุล, และลดาวัลย์ ช่างชุบ. (2555). ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด แอนโธไซยานิน กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ สีและสเปกตรัมในช่วงที่สามารถมองเห็นได้ของข้าวไทย 9 สายพันธุ์และความสัมพันธ์. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 (น. 113-121) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนา ม่วงรัตน์, กรรณิการ์ เรือนหล้า, และธัญชนก กันทวงศ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด. วารสารเกษตร, 33(1), 141–151.

ราตรี พุฒิสาร, และประภาศรี ภูวเสถียร. (2536). ข้าวกล้อง. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/3525?fbclid

วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล. (2551). ปีทองของข้าวไทย. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article79

วิลัดดา สินทร, วรัญญา จตุพรประเสริฐ, มาลิน จุลศิริ, และกนกวรรณ จารุกำจร. (2557). ศักยภาพการต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของข้าวสีพันธุ์ไทย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9 (ฉบับพิเศษ), 164.

ศิรินาถ เที่ยงธรรม. (2556). การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากกากองุ่นแดงด้วยวิธีการช่วยสกัดด้วยอัลตร้าโซนิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ.

อรัญญา พรหมกูล, วรัญญา วงศ์ไชยสิทธิ์, ไอรดา อักษ์เสน, และเกรียงไกร พัทยากร. (2558). การใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคในการสกัดแอนโทไซยานินจากกากเม่า. แก่นเกษตร, 43(1), 830-835.

อเนก หาลี, และบุณยกฤต รัตนพันธ์. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 15 ชนิด. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 40(2), 283-293.

อารีรัตน์ ซื่อดี. (2560). การใช้คลื่นไมโครเวฟสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 1-14.

Carla, D.P., Erica, P., & Deborha, D. (2012). Comparison of ultrasound-assisted extraction with conventional extraction methods of oil and polyphenols from grape (Vitis vinifera L.) seeds. Ultrasonics Sonochemistry, 20(4), 1076-1080.

Hielscher ultrasonics gmbh. (2019). เทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ Hielscher. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.hielscher.com/th/ultrasonic-extraction-of-ayurvedic-herbs.htm

Peanparkdee, M., Patrawart, J., & Iwamoto, S. (2019). Effect of extraction conditions on phenolic content, anthocyanin content and antioxidant activity of bran extracts from Thai rice cultivars. Journal of Cereal Science, 86(1), 86-91.

Porto, C.D., & Decorti, D. (2009). Ultrasound-assisted extraction coupled with under vacuum distillation of flavor compounds from spearmint (carvone-rich) plants: Comparison with conventional hydrodistallation. Ultrasonics Sonochemistry, 16(1), 795-799.

Shao, Y., Xu, F., Sun, X., Bao, J., & Beta, T. (2014). Phenolic acids, anthocyanin, and antioxidant capacity in rice (Oryza sativa L.) grains at four stages of development after flowering. Food Chemistry, 143(1), 90-96.

Shuang Ma., Xu Yang., Cuin Wang., & Mingruo Guo. (2018). Effect of ultrasound treatment on antioxidant activity and structure of β-Lactoglobulin using the Box–Behnken design. CyTA-Journal of Food, 16(1), 596-606.

Tao, Y., Wu, D., Zhang, Q.A., & Sun, D.W. (2014). Ultrasound-assisted Extraction of Phenolics from Wine Lees: Modeling Optimization and Stability of Extracts during Storage. Ultrasonics Sonochemistry, 21(2), 706-715.

Valero, M., Recrosio, N., Saura, D., Martic, N., & Lizama, V. (2007). Effects of ultrasonic treatments in orange juice processing. Journal of Food Engineering, 80(1), 509-516.

Vitkhu, K., Mawson, R., Simons, L., & Bates, D. (2008). Applications and opportunities for ultrasound assisted extraction in the food industry - A review. Innovative Food Science and Emerging Technologies, 9(1), 161-169.

Yaqin, M., Xingqian, Ye., Yunbin,Hao., Guoneng, Xu., Guihua, Xu., & Donghong, Liu. (2008). Ultrasound-assisted extraction of hesperidin from Penggan (Citrus reticulata) peel. Ultrasonics Sonochemistry, 15(1), 227–232.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-10

How to Cite

เลิศแก้ว ป. ., ย่านสากล จ. . ., อยู่ทิศ ข. ., กงภูธร ส. ., & พรหมมา ธ. (2021). การเปรียบเทียบผลของการสกัดแบบดั้งเดิมกับการใช้คลื่นอัลตราโซนิคต่อปริมาณแอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบฟีนอลิกรวมในข้าวกล้องหอมแดงสุโขทัย1 และข้าวกล้องหอมดำสุโขทัย2. PSRU Journal of Science and Technology, 6(1), 109–122. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/243556

ฉบับ

บท

บทความวิจัย