การประเมินปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในผักเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
โลหะหนัก, การปนเปื้อน, ผักเศรษฐกิจบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์และประเมินปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง สังกะสี และเหล็ก ที่ปนเปื้อนในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ต้นหอม ผักกาดหอม และผักชี จำนวน 55 แปลง ในพื้นที่ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เครื่องอะตอมมิกแอปซอบชั่น สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ในการวิเคราะห์หาปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนัก ผลการศึกษา พบว่า ผักเศรษฐกิจมีการปนเปื้อนเหล็กสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ย 474.52±41.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อยู่ในช่วง 414.67-519.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) รองลงมา คือ สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว และแคดเมียม มีค่าเฉลี่ย 28.41±5.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อยู่ในช่วง 22.68-36.92 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) 6.55±2.18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อยู่ในช่วง 3.53-10.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) 8.29±4.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อยู่ในช่วง 0.68-11.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และ 1.01±0.26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (อยู่ในช่วง 0.67-1.48 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ตามลำดับ ทั้งนี้ผักคะน้าและผักชีมีปริมาณความเข้มข้นของตะกั่วและสังกะสีเกินค่าที่ยอมรับได้ตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 50 และ 100 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ในขณะที่ปริมาณความเข้มข้นของเหล็กในผักทุกชนิดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันอาหารของประเทศไทย ปี 2554 กำหนดไว้
References
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. (2563). มลพิษในดิน (Soil Pollution). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://ngthai.com/science/27458/soil-pollution
ชไมพร สอนเทพา. (2555). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผักสำหรับประกอบอาหารของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. แบบฝึกหัดวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน. คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชินวัฒน์ ศาสนนันทน์. (2555). การหาปริมาณโลหะหนักในพืชผักสวนครัว. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/662/1/09555.pdf
ทีมข่าววิภาวดี. (2558, 14 ตุลาคม). พิษณุโลกผักสดราคาดี. Wipawadenews. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/438356106262790/posts
ธงชัย สอนเพีย. (2556). การศึกษาปริมาณตะกั่ว สังกะสีและแคดเมียม ในผักสวนครัวและดินเพาะปลูก ในหมู่บ้านคลิตี้ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา.
ธนิกา น้อยถนอม, สุภาพร ทันตประเสริฐ, จารุณี แซ่คู, และธนวรรณ พาณิชพัฒน์. (2561). การสะสมตะกั่วในพริก คะน้า และหัวไชเท้าที่ปลูกในดินปนเปื้อนตะกั่ว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(3), 511-525.
บุญส่ง เอกพงษ์. (2560). การผลิตผักปลอดสารพิษ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก http://web2.bu.ac.th/~sme/process/show_project.php?pro_id=2860
เบญจภรณ์ ประภักดี, และจิรวีฐ์ แสงทอง. (2559). แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียมด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม...จากขวดทดลองสู่พื้นที่จริง. วารสารสิ่งแวดล้อม, 20(1), 1-13.
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์. (2557). หลายโรคที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ อาจเพราะมีโลหะหนักมากเกินไป. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9570000078504
ปิยะดา วชิระวงศกร, สิรินรัตน์ รอดขาว, และเจนจิรา ช่วยปุ่น. (2558). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคผักประเภทใบที่มีการปนเปื้อนสารตะกั่วและแคดเมียม: กรณีศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, 16(2), 167-177.
พิษณุโลกฮอตนิวส์. (2563). อบจ.พิษณุโลกห่วงใยกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักในต.บึงพระ ราคาผลผลิตตกต่ำ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.phitsanulokhotnews.com/2020/04/24/142282
วิภา ตั้งนิพนธ์, ภิญญา จุลินทร, ปรีชา ฉัตรสันติประภา, ผกาสินี คล้ายมาลา, มลิสา เวชยานนท์, วรวิทย์ สุจิรธรรม, และธวัชชัย หงษ์ตระกูล. (2547). การประเมินความเสี่ยงจากการใชวัตถุมีพิษการเกษตรที่ต้องเฝ้าระวัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร.
สถาบันอาหาร. (2547). เอกสารประกอบการอบรมเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีทดสอบทางเคมี. กรุงเทพฯ: สถาบันอาหาร.
สมพร เรืองศรี, และศวพร ศุภผล. (2556). แนวทางการลดการสะสมโลหะหนักในพื้นที่ผลิตผักขอบชุมชนเมือง จ.สระบุรี. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: สาขาพืช (น. 175-182). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สมสุข ไตรศุภกิตติ, มนชวัน วังกุลางกูร, และวัชรา เสนาจักร. (2558). การวิเคราะห์หาประมาณโลหะหนักบางชนิดในผัก โดยวิธีอะตอมมิกแอบซอฟชันสเปคโตรโฟโตรเมตรีในเขตพื้นที่ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(4), 127-133.
สุพรรษา เกียรติสยมภู, และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2555). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการบริโภคสัตวน้ำที่มีการปนเปือนสารตะกั่วบริเวณแหล่งประมงหนองน้ำล้น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(4), 671-686.
อภิรักษ์ หลักชัยกุล. (2556). การผลิตผักปลอดภัยแปลงใหญ่. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.agriman.doae.go.th/home/news2/JOB/308_58-018.pdf
อลิสา วังใน. (2553). การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Green Report. (2562, 6 พฤศจิกายน). เกษตรกรปรับตัวปลูกผักปลอดภัยลดใช้สารเคมี. เช้าข่าว 7 สี. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://news.ch7.com/detail/37379
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด