การหาปริมาณสารพฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุจากใบถั่วดาวอินคา

ผู้แต่ง

  • เสาวภา ชูมณี Phechabun Rajabhat University
  • รุจิรา คุ้มทรัพย์

คำสำคัญ:

ใบถั่วดาวอินคา, สารพฤกษเคมี, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, แร่ธาตุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสารพฤกษเคมีบางชนิด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และแร่ธาตุจากใบถั่วดาวอินคาที่ระยะต่างๆ กัน (ใบอ่อน ใบกลาง และใบแก่) โดยสกัดปริมาณ คลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ ด้วย 80% อะซิโตน นำสารละลายที่ได้ไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 480 510 645 และ 663 nm ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocateu ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH free radical scavenging และแร่ธาตุ ด้วยเทคนิคเฟลมอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปคโทรโฟโตเมทรี จากการศึกษาพบว่า มีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คลอโรฟิลล์ทั้งหมด และแคโรทีนอยด์ มากที่สุดในใบแก่ที่เก็บในช่วงเวลาเย็น ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.43 0.91 3.34 และ 1.04 mg/g ของใบสด ตามลำดับ โดยในใบสด (ใบแก่) มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด 221.46 mgGA/g ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 2.17 µmol Trolox/g มีปริมาณแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี มีค่าเท่ากับ 616.4 97.59 และ 1.25 mg/100g ของใบสด ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ใบชาถั่วดาวอินคา ใบกลางผสมกับใบแก่ พบว่า มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1,071.3 mgGA/g ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเท่ากับ 3.1 µmolTrolox/g และพบว่า มีแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะธาตุแคลเซียม มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 2,035.1 mg/100g ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้งใบสดและใบแห้งของถั่วดาวอินคามีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอาหารเสริมสุขภาพได้

References

คงเดช สวาสดิ์พันธ์, ดามรัศมน สุรางกูร, อนุชิต ภานุมาสวิวัฒน์, และภรภัทร สำอางค์. (2563). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรสของสารสกัดและส่วนสกัดย่อยจากใบตองแตก. PSRU Journal of Science and Technology, 5(1), 107-122.

คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กรมอนามัยสำนักโภชนาการ: กระทรวงสาธารณสุข.

จตุพร ประทุมเทศ, กัลยารัตน์ ทัศน์จันดา, จันทร์สวย เทวสรรเสริญ, รณชัย ภูวันนา, และจารุวรรณ ดรเถื่อน. (2562). การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของชาดอกไม้ชนิดผงปรุงสำเร็จจากกระเจียวแดง อัญชัน และงิ้วป่า. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(3), 490-497.

ชานนท์ นัยจิตร, และอนุรักษ์ เชื้อมั่ง. (2559). การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบรวมฟีนอล และ นิโคตินของสมุนไพรไทย 15 ชนิด. Thai Science and Technology Journal, 24(2), 351-361.

ชมพูนุช อุทัยรัตน์, เอกรัฐ ศรีสุข, และกล่าวขวัญ ศรีสุข. (2560). ผลของสภาวะต่างๆ ของการอบแห้งและการสกัดต่อปริมาณของสารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผลปอกะบิด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22(1), 151-165.

บุหรัน พันธุ์สวรรค์. (2556). อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), 275-286.

รักชนก ภูวพัฒน์. (2559). การศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตสารทุติยภูมิจาก ใบอ่อน ใบเพสลาด และใบแก่ของถั่วดาวอินคาเพื่อรองรับการผลิตใบชาเพื่อชุมชนของจังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 125-133.

ศรินรัตน์ ฉัตรธีระนันท์, วรางคณา สบายใจ, และสิริมาส นิยมไทย. (2556). การทดสอบองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้าน

ออกซิเดชันของใบข่อยดำ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(3), 723-730.

อุดมวิทย์ ไวทยการ, กัญญรัตน์ จำปาทอง, และเถลิงศักดิ์ วีระวุฒิ. (2557). ดาวอินคาพืชมหัศจรรย์สุดยอดโภชนาการ. จดหมายข่าว ผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร, 17(10), 5-7.

เอนก หาลี, และบุณยกฤต รัตนพันธุ์. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 15 ชนิด.

วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 40(2), 283-293.

อรชร ไอสันเทียะ, และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. (2558). การศึกษาระบบตัวทำละลายของการสกัดสารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดจากดอกดาวเรืองสด. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(7), 29-40.

อรเนตร กานต์บุญญา, จำนอง โสมกุล, พิมพ์ชนก สตภูมินทร์, และพรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. (2019). ศึกษาการพัฒนาผลต่อสารพฤกษเคมีบางชนิดในผลพริกมัน ‘TVRC365’. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(4), 662-668.

AOAC, (2016). Official methods of analysis, Association of official analytical chemist: Method 965.09 sec. 2.06.01. (20th ed.). USA: Washington, D.C..

AOAC, (2016). Official methods of analysis, Association of official analytical chemist: Method 975.03 sec. 3.02.05. (20th ed.). USA: Washington, D.C..

Arnon, DI. (1949). Copper enzymes in isolated chloroplasts polyphenol oxidase in Beta vulgaris. Plant physiol, 24(1), 1-15.

Brand-Williams, W., Cuvelier, ME. & Berset, C. (1995). Use of a free radical method to evaluate antioxidant activity. LWT-Food science and Technology, 28(1), 25–30.

Chirinos, R., Zuloeta, G., Pedreschi, R., Mignolet, E., Larondelle, Y., & Campos, D. (2013). Sacha inchi (Plukenetia volubilis): A seed source of polyunsaturated fatty acids, tocopherols, phytosterols, phenolic compounds and antioxidant capacity. Food chemistry, 141(3), 1732-1739.

Fanali, C., Dugo, L., Cacciola, F., Beccaria, M., Grasso, S., Dacha, M., & Mondello, L. (2011). Chemical characterization of sacha Inchi (Plukenetia volubilis L.) oil. Journal of agricultural and food chemistry, 59(24), 13043-13049.

Fernandes, R.D.P.P., Trindade, M.A., Tonin, F.G., Lima, C.G.D., Pugine, S.M.P., Munekata, P.E.S., & De Melo, M.P. (2016). Evaluation of antioxidant capacity of 13 plant extracts by three different methods: cluster analyses applied for selection of the natural extracts with higher antioxidant capacity to replace synthetic antioxidant in lamb burgers. Journal of food science and technology, 53(1), 451-460.

Garmendia, F., Pando, R., & Ronceros, G. (2011). Effect of sacha inchi oil (Plukenetia volubilis L.) on the lipid profile of patients with hyperlipoproteinemia. Revista peruana de medicina experimental y salud publica, 28(4), 628-632.

Gogoi, M., & Basumatary, M. (2018). Estimation of the chlorophyll concentration in seven citrus species of Kokrajhar district, BTAD, Assam, India. Trop Plant Res, 5, 83-87.

Gutiérrez, L.F., Rosada, L.M., & Jiménez, Á. (2011). Chemical composition of sacha inchi (Plukenetia volubilis L.) seeds and characteristics of their lipid fraction. Grasas y aceites, 62(1), 76-83.

Kamble, P.N., Giri, S.P., Mane, R.S., & Tiwana, A. (2015). Estimation of chlorophyll content in young and adult leaves of some selected plants. Universal journal of environmental research and technology, 6, 306-310.

Hamaker, B.R., Valles, C., Gilman, R., Hardmeier, R.M., Clark, D., Garcia, H.H., & Rodriguez, T. (1992). Amino acid and fatty acid profiles of the inca peanut (Plukenetia volubilis). Cereal chem, 69(4), 461-463.

Momin, R.K., & Kadam, V.B. (2011). Biochemical analysis of leaves of some medicinal plants of genus Sesbania. Journal of Ecobiotechnology, 3(2), 14-16.

Nascimento, A.K.L., Melo-Silveira, R.F., Dantas-Santos, N., Fernandes, J.M., Zucolotto, S.M., Rocha, H.A.O., & Scortecci, K.C. (2013). Antioxidant and antiproliferative activities of leaf extracts from Plukenetia volubilis Linneo (Euphorbiaceae). Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2013, 1-10.

Rajput, R.D., & Patil, R.P. (2017). The comparative study on spectrophotometric analysis of chlorophyll and carotenoids pigments from non-leguminous fodder crops. International Journal of Innovative Science Engineering and Technology, 7, 140-148.

Singleton, V.L., Orthofer, R., & Lamuela-Raventós, R.M. (1999). Analysis of total phenols and other oxidation substrates and antioxidants by means of folin-ciocalteu reagent. Methods in enzymology, 299, 152-178.

Wang S, Zhu F, & Kakuda Y. (2018). Sacha inchi (Plukenetia volubilis L.): Nutritional composition, biological activity, and uses. Food chem, 265, 316-328.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-13

How to Cite

ชูมณี เ. . ., & คุ้มทรัพย์ ร. . . (2020). การหาปริมาณสารพฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุจากใบถั่วดาวอินคา. PSRU Journal of Science and Technology, 5(2), 98–113. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/240575